ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

สมถะวิปัสสนา

การพิจารณากายคตาสติเป็นปฏิกูล

การพิจารณากายคตาสติเป็น ปฏิกูล อย่างที่ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราได้บอกปฏิปทาแก่พระสาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล รูปประกอบด้วยมหาภูตทั้ง สี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เกิดแต่มารดา บิดา เติบโตด้วยข้าวสุก และ ขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายกระจัดกระจายเป็นธรรมดา วิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรณ์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิแปดเหลี่ยม นายช่างเจียรนัยดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว แดง เหลือง ขาว หรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจึงหยิบแก้วไพฑูรณ์นั้นวางไว้ในมือ แล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรณ์นี้งามเกิดอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียรนัยดีแล้ว สุกใส แวว วาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว แดง เหลือง ขาว หรือ นวล ร้อยอยู่ในนั้น ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายเรานี้แลมีรูปประกอบด้วยมหาภูตทั้งสี่ เกิดแต่ มารดาบิดา เติบโตด้วยข้าวสุก และ ขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย และ กระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเราที่อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้

ก็เพราะสาวกของเราทั้งหลาย ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่ง อภิญญาอยู่

อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกของเราทั้งหลายของเรา สาวกทั้งหลายของเราเมื่อปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่ปกพร่องเปรียบเหมือนบุรุษพึงชักไส้ ออกจากหญ้าปล้องเขาจะพึงเห็นอย่างนี้ว่า นี้ไส้ นี้หญ้าปล้อง หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกแต่หญ้าปล้องนั้นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง แต่ก็ชักดาบออกจากฝักนั้นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนจะชักงูออกจากคาบ เขาพึงคิดอย่างนี้ว่านี้งู นี้คาบ งูอย่างหนึ่ง คาบอย่างหนึ่ง แต่ก็ชักออกจากคราบนั้นเอง ฉันใด สาวกของเราทั้งหลายก็ฉันนั้น และปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมเนรมิตกายอื่นนอกจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วนมีอินทรีไม่ปกพร่องก็เพราะ สาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก สาวกของเราเป็นอันมากจึงบรรลุ บารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา

การพิจารณากายคตาสติเป็นปฏิกูล อย่างที่ ๒

ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ข้างบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างบนตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆว่ามีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารเก่า อาหารใหม่ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูต เปรียบเหมือนไถ่มีปากสองข้าง เต็มไปด้วยธัญญาชาติต่างๆชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง นี้งา และ ข้าวสาร บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้วพึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วทอง นี้งา นี้ ข้าวสารฉันใด ฉันนั้นก็เหมือนกันแล ข้างบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอยเต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี่ ผม ขน หนังเล็บ ฟัน เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารเก่า อาหารใหม่ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูต เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาทมีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านนั้นได้ เพราะละความดำริพล่านได้ จิตเป็นไปภายในย่อมคงที่ แน่นิ่ง ตั้งมั่น นี้ชื่อว่า การเจริญกายคตาสติ

<< ย้อนกลับ | สารบัญ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย