ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

สมถะวิปัสสนา

ห้องอานาปานสติกรรมฐาน

เมื่อจะเรียนอานาปานสติ ในส่วนของสมถะกรรมฐานให้กำหนดรู้ดังนี้ก่อน

๑. คณนา ได้แก่การนับ เพราะอานานัสสติกรรมฐานนี้ เป็นกรรมฐานที่เกี่ยวเนื่องด้วย ลมหายใจ เริ่มด้วยลมหายใจออก และ ลมหายใจเข้า หายใจออกให้นับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ เป็นอนุโลม หายใจเข้าให้นับ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑ เป็นปฏิโลม

๒.อนุพันธนา ได้แก่การติดตามลม เมื่อนับแล้วซึ่งลม ให้มีสติกำหนดหมายตามลมหาย ใจเข้า – ออก อย่างต่อเนื่อง

๓.ผุสนา ได้แก่การกระทบ คือเมื่อนับลมแล้ว เอาสติกำหนด ติดตามลมหายใจเข้า – ออก แล้วจึงกำหนดว่า ลมหายใจเข้า – ออกไปกระทบที่ไหนบ้าง เช่นที่ขื่อจมูก ที่
ปลายจมูก เรียกว่าการกระทบ

๔.ฐปนา ได้แก่การตั้งมั่น เมื่อนับลมแล้ว จึงกำหนดสติติดตามลมว่า ลมหายใจเข้า ออกไปกระทบที่ไหนบ้าง เมื่อรู้ลมหายใจเข้าออก กระทบที่ไหนแล้ว ควรกำหนดจิต ให้ตั้งมั่นอยู่ ที่จุดลมกระทบนั้น เช่น ลมกระทบที่ปลายจมูก ก็กำหนดจิตให้ตั้งมั่น ไว้ที่ปลายจมูก

การนับ ย่อมระงับความลังเลสงสัย การติดตาม ย่อมระงับความวิตก การกระทบ ย่อมกำจัดความฟุ้งซ่าน การกำหนดจิตให้ตั้งมั่น ไว้ที่ลมหายใจเข้า – ออก กระทบ ย่อมทำจิตให้เป็นสมาธิ การเจริญอานาปานสติข้าฝ่ายสมถะ ต้องเจริญการนับ การติดตาม การกระทบ การตั้งมั่น ให้กำหนดไปพร้อมกันตลอดกาล การปฏิบัติอานาปานสติ ฝ่ายสมถะก็จะสำเร็จ แต่เพราะจุดกระทบของลมหายใจเข้า – ออก มีจำนวนนับไม่ถ้วนทำให้พระโยคาวจรเจ้าทั้งหลายไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับนิมิต จุดที่ลมหายใจเข้า – ออก กระทบเช่นที่ปลายจมูก ทำให้พระโยคาวจรสับสน ทำให้การเจริญอานาปานสติฝ่ายสมถะล้มเหลว และเพื่อกำจัดความสับสน วงศ์กรรมฐานสืบ ๆ มาจึงกำหนดจุดที่ลมหายใจเข้า -ออก กระทบ ไว้เป็น ๙ แห่ง เพื่อความชัดเจนในนิมิตต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้

๑.สูญน้อยกลางนาภี
๒.จะงอยริมฝีปากบน
๓.ขื่อจมูก (คือระหว่างช่องจมูกทั้งสอง)
๔.สูญน้อยปลายนาสิก
๕.ระหว่างตา
๖.ระหว่างคิ้ว
๗.กลางกระหม่อม จอมเพดาน
๘.โคนลิ้นไก่
๙.ห้องหทัยวัตถุ

<< ย้อนกลับ | สารบัญ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย