ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
ญาณทัสสนวิสุทธิ
พระวิปัสสนาญาณอันรู้เห็นในอริยมรรคทั้ง ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค
โสดาปัตติมรรคญาณ
ปัญญาในการออกไป และหลีกออกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอก ในขณะแห่งโสดาปัตตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิเพราะอรรถว่าเห็น ย่อมออกจามิจฉาทิฏฐิ ออกจากสรรพนิมิตภายนอกเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไป และหลีกออกไปจากกิเลส ขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ
สกทาคามิมรรคญาณ
ในขณะแหงสกทาคามิมรรค ฐาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิเพราะอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏฆสังโยชนฃ์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิฉาสมาธิ จากขันธ์ทั้งหลาย ออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกออกไปจากกิเลส ขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ
อนาคามิมรรคญาณ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนละเอียด ย่อมออกจากกิเลสที่เป็นไปจามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจากสรรถนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไป และหลีกออกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสองนี้เรียกว่ามรรคญาณ
อรหัตมรรคญาณ
ในขณะแห่งอรหัตมรรคญาณชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานะสัย อวิชชานุสัย ย่อมออกจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกออกจากกิเลสขันธ์และนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ
โสดาปัตติผลญาณ
ปัญญาในการระงับประโยค เป็นผลญาณอย่างไร ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อสัมมาทิฏฐิย่อมออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมออกจากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐิ จากขันธืทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจามิจฉาสมาธิ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้น การระงับประโยคนั้นเป็นผลของมรรค
สกทาถาผลญาณ
ในขณะแห่งสกทาคามมิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามาราคะนุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ย่อมหลีกออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธิ จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้น การระงับประโยคนั้นเป็นผลของมรรค
อนาคามิผลญาณ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าๆ ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆนะสัย ส่วนละเอียดย่อมออกจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้น การระงับประโยคที่ออกนั้นเป็นผลของมรรค
อรหัตผลญาณ
ในขณะแหงหรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคา และอรุ)ราคะ มานะ อุทธัจจะ ถีนมิทธะ อวิชชา ภวราคานะสัย มานานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมออกจากกิเลสที่เป็นมิฉาทิฏฐิ จากขันธ์ทังหลายและจากสรรถนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกไปนั้น การระงับประโยคที่ออกไปนั้นเป็นผลของมรรค
วิมุติญาณ
วิมุติญาณ คือปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือสักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฐนุสัย วิจิจิกิจฉานุสัย เป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐาน กิลเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดีชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมิตุนั้นชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่าน จึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นอันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตตตนคือ กามราคะสังโน์ ปฏิฆะสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ เป็นกิเลสอันสทาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตหลุดพ้นจากอุปกิเลส ๔ ประการ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตินั้น ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นมุติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตตน คือ กามราคะสังโยชน์ปฏิฆะสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดเป็นกิเลสอันอนาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตย่อมหลุดพ้นจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดีชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตินั้นชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจังกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันพระอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นกิเลสอันอรหัตมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๘ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตนั้นชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัดเพราะเหุตนั้นท่านจึงกล่าว่า ปัญญาในการพิจารณาในการเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้วเป็น วิมุติญาณ