ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

สมถะวิปัสสนา

จตุธาตุววัฏฐาน

จตุธาตุววัฏฐาน คือการวิเคราะห์ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกาย

ปฐวี นั้นมีลักษณะแข้นแข็ง หยาบ กระด้าง
อาโป นั้นมีลักษณะเอิบอาบ ไหลไป ความซึมซาบ
เตโช ความเป็นเครื่องทำให้ร้อน ความเป็นของร้อน
วาโย ความเป็นสิ่งทำให้ฟุ้งเฟ้อ การไหวตัวได้

ปฐวีธาตุมีอาการ ๒๐ อาโปมีอาการ ๑๒ เตโชมีอาการ ๔ วาโยมีอาการ ๖

ปฐวี ๒๐ โกฏฐาส
เกสา – ผมทั้งหลาย โลมา – ขนทั้งหลาย นขา – เล็บทั้งหลาย ทันตา – ฟันทั้งหลาย ตโจ – หนัง มังสัง – เนื้อ นหารู – เอ็นทั้งหลาย อัฏฐี – กระดูกทั้งหลาย อัฏฐิมิญชัง – เยื่อในกระดูก วักกัง – ไต หทยัง – หัวใจ ยกนัง – ตับ กิโลมกัง – พังผืด ปิหกัง – ม้าม ปัปผาสัง – ปอด อันตัง – ไส้ใหญ่ อันตคุณัง – ไส้น้อย อุทริยัง – อาหารใหม่ กรีสัง – อาหารเก่า มัตถลุงคัง – มันในสมอง ปฐวีธาตุ มีความตั้งอยู่เป็นอารมณ์
อาโปโกฏฐาส ๑๒

ปิตตัง – ดี เสมหัง – เสมหะ ปุพโพ – น้ำหนอง โลหิตัง – เลือด เสโท – เหงื่อ เมโท – มันข้น อัสสุ – น้ำตา วสา – มันเหลว เขโฬ – น้ำลาย สิงฆาณิกา – น้ำมูก ลสิกา – ไขข้อ มุตตัง – น้ำมูตร อาโปธาตุ มีการไหลลงเป็นอารมณ์

เตโชโกฏฐาส ๔
สันตัปปัคคี ได้แก่ ไฟธาตกระทำให้อบอุ่นกาย ปริทัยหัคคี คือไฟธาติให้กายร้อนกระวนกระวาย ชิรณัคคี คือไฟธาตุเผากายให้แก่ชรา คร่ำคร่า ปริณามัคคี คือไฟธาตุอันเผาอาหารให้ย่อยยับ เตโชธาตุ มีการทำให้ลอยเป็นอารมณ์

วาโยโกฏฐาส ๖
อุทธังคมาวาตา คือ ลมพัดแต่พื้นเท้าขึ้นเบื้องบน อโธคมาวาตา คือลมพัดเบื้องบนลงเบื้องต่ำ กุจฉิสยาวาตา คือลมพัดอยู่ในท้อง โกฏฐาสยาวาตา คือลมพัดอยู่ในลำไส้ อังคมังคานุสาริโนวาตา คือลมพัดซ่านทั่วสารพางค์กาย อัสสาสปัสสาสวาตา คือลมหายใจเข้าออก วาโยธาต มีการเคลื่อนไปเป็นอารมณ์

เจริญโดยลักษณะ
ปฐวีธาตุ มีลักษณะหยาบ อาโปธาต มีลักษณะเพิ่มพูนยึดเอา เตโชธาตุ มีลักษณะร้อน ทำให้ย่อย วาโยธาตุ มีลักษณะความพยุงไว้ ความเคลื่อนไหว ความแสดงท่าทาง

คำอาราธนาจตุธาตุววัฏฐาน

ข้าฯขอภาวนา จตุธาตววัฏฐาน เพื่อจะขอเอา อุปจารสมาธิในห้องจตุธาตุววัฏฐานเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ขอพระอริยสงฆ์ตั้งแรกแต่พระมหาอัญญาโกณฑัญญเถรเจ้าโพ้นมา ตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมติในกาลบัดนี้จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ขอพระอริยสงฆ์องค์ต้นอันสอนกพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิด ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด

อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอเชิญปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอายังอุปจารสมาธิในห้องจตุธาตุววัฏฐานเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาบังเกิดปรากฏอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาอยู่นี้เถิด

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
สัมมาอรหัง สัมมาอรหัง สัมมาอรหัง
อรหัง อรหัง อรหัง

<< ย้อนกลับ | สารบัญ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย