ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สมถะวิปัสสนา
กรรมสูตรที่ ๓
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้วย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้นก็วิบากนั้นแลอันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไปดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดแห่งทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้นฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอวิชชา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสติสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อนแล จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่กระพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือหากว่าในเวลายังเป็นเด็ก เด็กนี้พึงเจริญเมตตาเจโตวิมุตติไซร้ พึงทำบาปกรรมบ้างหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่เช่นนั้นพระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็ทุกข์จะถึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปและกรรมหรือ ฯ
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้นพระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปและทำกรรมแต่ที่ไหน ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษ พึงเจริญแล ดูกรภิกษุทั้งหลายกายนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า บาปกรรมไรๆ ของเรา อันมีรัชกายนี้ทำแล้วในก่อน บาปกรรมนั้นทั้งหมด เป็นกรรมอันเราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป ดังนี้ ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่งย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นพระอนาคามี
พระอริยสาวกมีจิตประกอบด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อนแล จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่กระพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือหากว่าในเวลายังเป็นเด็ก เด็กนี้พึงเจริญเมตตาเจโตวิมุตติไซร้ พึงทำบาปกรรมบ้างหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่เช่นนั้นพระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็ทุกข์จะถึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปและกรรมหรือ ฯ
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้นพระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปและทำกรรมแต่ที่ไหน ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษ พึงเจริญแล ดูกรภิกษุทั้งหลายกายนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า บาปกรรมไรๆ ของเรา อันมีรัชกายนี้ทำแล้วในก่อน บาปกรรมนั้นทั้งหมด เป็นกรรมอันเราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป ดังนี้ ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่งย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นพระอนาคามี ฯ