สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ยาต้ม
ยาต้มเป็นรูปแบบการปรุงยาสมุนไพรที่ใช้มานาน
เป็นการใช้น้ำเป็นตัวทำละลายยาสมุนไพร ข้อดีของยาต้ม คือ ดูดซึมง่าย ออกฤทธิ์เร็ว
วิธีการเตรียมง่ายและสะดวก มีข้อเสีย คือ รสชาติและกลิ่นอาจรับประทานยากสำหรับบางคน
และยาต้มเก็บไว้ไม่ได้นานขึ้นราง่าย ถ้าต้องการเก็บไว้จะต้องใช้สารกันบูด
วิธีการเตรียมยาต้ม
1. น้ำและภาชนะ
น้ำที่ใช้ต้มยาควรเป็นน้ำสะอาด ใส ไม่มีกลิ่น รส
ปริมาณยาโดยปกติจะใส่น้ำพอท่วมยา ภาชนะที่ใช้ต้มยาควรเป็นหม้อดินเผา หรือหม้อเคลือบ
ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เช่น เหล็ก
เพราะจะทำให้สารแทนนินซึ่งจะมีผลต่อฤทธิ์ของยาได้
2. การเตรียมยาสมุนไพร
ยาสมุนไพรที่ใช้ต้มควรหั่นเป็นชิ้นขนาดพอดี
ถ้าเป็นแก่นก็หั่นเป็นชิ้นขนาดเท่าๆ กัน ถ้าเป็นใบใหญ่ เช่น ชุมเห็ดเทศ
ให้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ถ้าใบเล็ก เช่น ฟ้าทลายโจร กระเพรา
ก็ใช้ทั้งใบขนาดไม่ควรเล็กเกินไป เพราะทำให้กรองยาต้มยากและเวลาต้มอาจจะไหม้ได้
3. การต้ม
เติมน้ำสะอาดลงในตัวยา ให้น้ำท่วมตัวยา
ใช้ไฟขนาดกลางต้มให้เดือดหลังจากเดือดแล้วไฟอ่อนลง ใช้เวลาต้ม 10 15 นาที
ต้องคอยดูแลและคนสม่ำเสมอ อย่าให้ยาไหม้ (การต้มยาไทย ส่วนใหญ่จะต้ม 3 เอา 1 คือ
ใส่น้ำ 3 ส่วน ของปริมาณที่ต้องการใช้ และต้มให้เหลือ 1 ส่วน
หรือต้มรับประทานจนยาจืด ไม่เกิน 7 10 วัน ควรอุ่น เช้า เย็น ทุกวัน)
ยาต้มควรรับประทานเวลาท้องว่าง (ก่อนอาหาร) จำนวนครั้งละปริมาณที่กำหนดในวิธีใช้ยา
»»
การสับยา
»»
การอบยา
»»
การบดยา
»»
วิธีการปรุงยาตามหลักการปรุงยาแผนโบราณ
»»
ยาลูกกลอน
»»
การทำยาเม็ดแบบปั๊มมือ
»»
การเคลือบยาเม็ดด้วยน้ำตาล
»»
การสุมยา
»»
ยาเข้าน้ำมัน (น้ำมันไพล)
»»
ยาน้ำ (ยาธาตุอบเชย)
»»
ยาดมส้มโอมือ
»»
ยาประคบ (ลูกประคบ)
»»
ยาขี้ผึ้ง
»»
แชมพูว่านหางจระเข้
»»
การฆ่าฤทธิ์ (การฆ่า), การสะตุ
»» ยาต้ม
»»
ยาชง
»»
เภสัชตำรับ