สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

การแพทย์แผนโบราณ

การแปรสภาพสมุนไพร

การบดยา

ขั้นตอนการบดยา (ด้วยเครื่องบดยา เครื่องที่ 1)

  1. นำยาที่อบแล้ว ใส่เครื่องบดยาเครื่องที่ 1 จำนวน 2 ถาด
  2. บดยาครั้งที่ 1 เริ่มเปิดเครื่องบดยา นาน 1/2 ชั่วโมง
  3. นำยาที่เหลือถาดที่ 3,4 ....... ทยอยใส่เครื่องบดยา จนครบตามตำรับยานั้น
  4. บดยานาน ครั้งละ 3 ชั่วโมง
  5. เขียนชื่อยา, น้ำหนักยา, เวลาที่เริ่มบดยา, เวลาที่บดยาเสร็จ, วัน/เดือน/ปี, ชื่อผู้บดยาปิดไว้บนฝาเครื่องบดยาเครื่องที่ 1
  6. เมื่อบดยาเสร็จแล้ว ตักยาออกจากเครื่องบดยาใส่ไว้ในกะละมัง เพื่อเตรียมร่อน

ขั้นตอนการบดยา (ด้วยเครื่องบดยา เครื่องที่ 2)

  1. นำยาที่อบแล้ว ใส่เครื่องบดยาเครื่องที่ 2 จำนวน 2 ถาด
  2. บดยาครั้งที่ 2 เริ่มเปิดฝาเครื่องบดยาใช้เกียร์ 2 นาน 1 ชั่วโมง
  3. นำยาที่เหลือถาดที่ 3,4 ..... ทยอยใส่เครื่องบดยาจนครบตำรับนั้น บดต่อไปอีก 1/2 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนเป็นเกียร์ 3
  4. บดยานาครั้งละ 3 ชั่วโมง
  5. เขียนชื่อยา, น้ำหนักยา, เวลาที่เริ่มบดยา, เวลาที่บดยาเสร็จ, วัน/เดือน/ปี, ชื่อผู้บดยาปิดไว้บนฝาเครื่องบดยาเครื่องที่ 2
  6. การบดครั้งที่ 2 (กากยา) เริ่มเปิดเครื่องบดยาใช้เกียร์ 3)

ขั้นตอนการดูแลรักษาเครื่องบดยา

  1. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดเครื่องบดยา และใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกครั้งให้เครื่องบดยาแห้งสนิท (อาจจะใช้พัดลมเป่าให้แห้ง)
  2. ปิดฝาเครื่องบดยา

 

การร่อนยา

การร่อนยา คือ การนำยาที่บดละเอียดแล้ว มาร่อนผ่านตะแกรง (หรือ แร่ง) ให้ได้ผงยาที่ละเอียดมากขึ้นตามความต้องการ

ตระแกรงหรือแร่ง ที่ใช้ร่อนยา มี 3 ขนาด คือ

1. ขนาดเบอร์ 100 ละเอียดมาก
2. ขนาดเบอร์ 80 ละเอียดปานกลาง
3. ขนาดเบอร์ 60 ละเอียดน้อย

(ขนาดที่ใช้ประจำในการร่อนยา คือ เบอร์ 100 และเบอร์ 80)

การร่อนยา

  1. นำยาที่บดเสร็จแล้ว ร่อนผ่านตะแกรงตามขนาดเบอร์ที่ต้องการ (เบอร์ 100 หรือ เบอร์ 80)
  2. ชั่งเนื้อยาที่ร่อนเสร็จแล้ว ใส่กะละมัง เขียนชื่อยา น้ำหนัก เนื้อยา วัน/เดือน/ปี ชื่อผู้ร่อนยา ใส่กะละมัง ปิดฝามิดชิด
  3. ชั่งกากยาใส่ ถุงพลาสติก (ซ้อน 2 ถุง) เขียนชื่อยา, น้ำหนักกากยา, วัน/เดือน/ปี, ชื่อ ผู้ร่อนยาใส่ไว้ในถุงกากยา ผู้ไว้ให้แน่น
  4. เมื่อร่อนยาครั้งต่อๆ ไป (ครั้งที่ 2, 3, 4......) ให้เอาน้ำหนักเนื้อยาที่ร่อนได้ในแต่ละครั้งของยาขนานนั้น ๆ มาใส่รวมในภาชนะเดียวกัน โดยเขียนชื่อยา, น้ำหนักเชื้อยา, วัย/เดือน/ปี, ชื่อ ผู้ร่อนยาในแต่ละครั้ง ใส่ไว้ในภาชนะเนื้อยาขนานนั้น ปิดฝาให้มิดชิด
  5. ยาร่อนเสร็จแล้วในขนานหนึ่งๆ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ก่อนนำใส่ภาชนะที่สะอาดเขียนชื่อยา (เบอร์ยา) วัน/เดือน/ปี ที่ผลิตยาเสร็จ ปิดไว้ข้างๆภาชนะ นั้นๆ
  6. บันทึกบันชีการบดร่อนยา ในแต่ละขนานทุกครั้ง ลงในแบบฟอร์มบัญชีการบดร่อนยาประจำวัน

การดูแลรักษาเครื่องบดยา

  1. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดเครื่องร่อนยา และใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกครั้ง ให้เครื่องร่อนยาแหก (อาจจะใช้พัดลมเป่าแห้ง)
  2. ปิดผาเครื่องร่อนยา

การเก็บรักษาตระแกรงหรือแร่ง

  1. ใช้แปรงปัดทำความสะอาดผงยา ที่ติดอยู่ที่ตะแกรง และขอบตระแกรงร่อนยา
  2. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดที่ตะแกรง และขอบตะแกรงร่อนยา และใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกครั้ง ให้ตะแกรงร่อนยาแห้ง (อาจจะใช้พัดลมเป่าให้แห้ง)
  3. ใช้ช้อนสแตนเลส (หน้าตัดรูปสี่เหลี่ยม) ขูดตะแกรงร่อนยาเบาๆ เพื่อให้เสี้ยนยาที่ติดตะแกรงหลุดออก หรือใช้แหนมถอดเสี้ยนยาที่ติดตะแกรงร่อนยาออกให้หมด
  4. เก็บตะแกรงร่อนยาไว้ในตู้

    ข้อควรระวัง : ห้ามนำตะแกรงร่อนยาล้างน้ำ เพราะทำให้ตะแกรงชำรุดและอายุการใช้งานสั้นลง

»» การสับยา
»» การอบยา
»» การบดยา
»» วิธีการปรุงยาตามหลักการปรุงยาแผนโบราณ
»» ยาลูกกลอน
»» การทำยาเม็ดแบบปั๊มมือ
»» การเคลือบยาเม็ดด้วยน้ำตาล
»» การสุมยา
»» ยาเข้าน้ำมัน (น้ำมันไพล)
»» ยาน้ำ (ยาธาตุอบเชย)
»» ยาดมส้มโอมือ
»» ยาประคบ (ลูกประคบ)
»» ยาขี้ผึ้ง
»» แชมพูว่านหางจระเข้
»» การฆ่าฤทธิ์ (การฆ่า), การสะตุ
»» ยาต้ม
»» ยาชง
»» เภสัชตำรับ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย