เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเพาะเลี้ยงปลากดเหลือง
กองส่งเสริมการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การเพาะพันธุ์
ปลากดเหลืองที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่ได้จากรวบรวมพันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หรืออ่างเก็บน้ำต่าง ๆ โดยคัดเลือกพันธุ์ปลาที่แข็งแรง อวัยวะทุกอย่างครบสมบูรณ์ ขนาดไม่ต่ำกว่า 400 กรัม นำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่ปลาได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง แต่ควรแยกเพศปลาตัวผู้และตัวเมียออกจากกัน
บ่อดิน ควรมีขนาด 800-1,600 ตารางเมตร อัตราการปล่อยปลา 1-2
ตัวต่อตารางเมตร
กระชัง ควรเป็นกระชังอวนโพลี ขนาดตา 2-3 เซนติเมตร ขนาดกระชังกว้าง 5 เมตร
ยาว 5 เมตร ลึก 2.5 เมตร อัตราการปล่อยปลา 50-100 ตัว ต่อกระชัง
การขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
การขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ให้อาหารจำพวก
ปลาสดสับผสมหัวอาหารและเสริมด้วยอาหารเม็ดปลาดุก หรือให้อาหารต้มสุกจำพวกปลายข้าว 2
ส่วน รำละเอียด 3 ส่วน ปลาป่น 1 ส่วน วิตามินและแร่ธาตุประมาณ 1
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เสริมด้วยอาหารเม็ดปลาดุกเล็ก 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์
ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา
ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ในบ่อประมาณ 1-2 ครั้ง ต่อเดือนปริมาณ 1 ใน 3 ของบ่อ
การคัดเลือกพ่อแม่ปลา
การตรวจสอบพ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์ ควรทำด้วยความระมัดระวัง
อาจใช้ผ้าขนหนูปิดหัวหลา โดยเฉพาะบริเวณตาของพ่อแม่ปลา
แล้วหงายท้องตรวจความพร้อมของปลา จะป้องกันการบอบช้ำ และลดความเครียดได้
ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่ สังเกตจากส่วนท้องจะบวมเป่งและนิ่ม ช่องเพศมีสีชมพูเรื่อๆ
ปลาเพศผู้ อวัยวะเป็นติ่งแหลมยื่นยาวออกมาไมต่ำกว่า 1 เซนติเมตร
พ่อแม่ปลาที่ใช้ควรมีน้ำหนักตั้งแต่ 450 กรัม หรือเป็นปลาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 เดือนขึ้นไป โดยปกติแล้วแม่พันธุ์ปลาจะมีน้ำหนักมากกว่าพ่อพันธุ์ปลา
อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์
อัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลากดเหลือง เท่ากับอัตรา 1 ตัว/ตารางเมตร
โดยจะปล่อยแยกเพศหรือรวมเพศก็ได้
» การเพาะพันธุ์
»
การผสมเทียม
»
การอนุบาลลูกปลา
»
การเลี้ยงปลาขนาดตลาด
»
ต้นทุนและผลตอบแทน
»
โรคและการป้องกัน
»
การจำกัดกลิ่นโคลนในเนื้อปลา
»
อนาคตของตลาด
»
การป้องกันสัตว์น้ำจากภัยธรรมชาติ