เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ประมง

การเพาะเลี้ยงปลากดเหลือง

กองส่งเสริมการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

การเลี้ยงปลาขนาดตลาด

การเลี้ยงปลากดเหลือง ให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง

ข้อควรคำนึงในการเลี้ยงปลากดเหลืองให้ได้ขนาดที่ตลาดต้องการนั้น ถ้าเลี้ยงในบ่อดิน พันธุ์ปลาที่ปล่อยควรเริ่มที่ขนาด 5-7 เซนติเมตร อัตราการปล่อยตารางเมตรละ 1-2 ตัว ส่วนการเลี้ยงในกระชังควรปล่อยปลา ตารางเมตรละ 50-70 ตัว และควรหมั่นคัดขนาดปลาให้สม่ำเสมอกันด้วย

การเลี้ยงในบ่อดิน

การเลี้ยงในบ่อดินควรปรับสภาพบ่อ โดยใช้หลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไปดังนี้

  1. ตากพื้นบ่อให้แห้งพร้อมทั้งปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
  2. ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม / ไร่
  3. ใส่ปุ๋ยคอก เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ สำหรับลูกปลาควรใส่ปุ๋ยคอกในอัตราประมาณ 40-80 กิโลกรัม/ไร่
  4. นำน้ำเข้าบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ ระดับน้ำลึก 30-40 เซนติเมตร วันรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลาและเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดงในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลา ก่อนที่จะนำลูกปลามาเลี้ยง ควรตรวจดูด้วยว่าเป็นลูกปลาที่มีสุขภาพดีและแข็งแรง

การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยง จะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้เท่า ๆ กันก่อน โดยแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาทีจึงปล่อยลูกปลา เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลา ควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเข้า

การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินขนาด 2 ไร่จำนวน 2 บ่อ ของเกษตรกรกิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ในอัตราการปล่อยปลาขนาดความยาว 15.0-17.0 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 22-42 กรัม ตารางเมตรละ 1 ตัวหรือ ไร่ละ 1,600 ตัว โดยให้อาหารจำพวกปลาเป็ดสับผสมวิตามินและแร่ธาตุ ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 7 เดือน จึงจับปลาจำหน่าย ได้น้ำหนักปลาทั้งสิ้น 2,125 กิโลกรัม เป็นผลผลิตไร่ละ 1,062.5 กิโลกรัม น้ำหนักตัวระหว่าง 400-500 กรัม (ประมาณ 2.40 ตัว/กิโลกรัม) ได้ปลา 5,110 ตัว อัตราการรอดตาย 78.82 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ปริมาณอาหารทั้งหมด 9,562 กิโลกรัม มีอัตราแลกเนื้อ (FCR) เท่ากับ 1 : 45

การเลี้ยงปลารุ่นในกระชัง

การเลี้ยงในบ่อดินควรปรับสภาพบ่อ โดยใช้หลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไปดังนี้

  1. ตากพื้นบ่อให้แห้งพร้อมทั้งปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
  2. ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่
  3. ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ ิสำหรับลูกปลาควรใส่ปุ๋ยคอกในอัตราประมาณ 40-80 กิโลกรัม/ไร่
  4. นำน้ำเข้าบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ ระดับน้ำลึก 30-40 เซนติเมตร วันรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลาและเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดงในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลา ก่อนที่จะนำลูกปลามาเลี้ยง ควรตรวจดูด้วยว่าเป็นลูกปลาที่มีสุขภาพดีและแข็งแรง

การเลี้ยงปลารุ่นในกระชัง สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสงขลา ได้ทำการเลี้ยงปลากดเหลืองให้เป็นปลารุ่นในกระชังตาข่ายพลาสติก ขนาด 2x3x1.5 เมตร ปลาความยาวเฉลี่ย 7.17 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 3.14 กรัม อัตราการปล่อย 300 ตัว/กระชัง เปรียบเทียบอาหารเนื้อปลาสดสับกับอาหารเม็ดปลากินเนื้อในระยะเวลา 6 เดือน พบว่า ปลาที่เลี้ยงด้วยเนื้อปลาสดสับ มีอัตราการเจริญเติบโตดีมาก คือ มีน้ำหนักเฉลี่ย 83.87 กรัม อัตราการรอดตาย 73.79 เปอร์เซ็นต์ อัตราแลกเนื้อ 4.98 คิดเป็นต้นทุนอาหาร 24.90 บาท/กิโลกรัม (ปลาสดราคากิโลกรัมละ 5 บาท)

ในขณะที่การเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดปลากินเนื้อ ปลาที่เลี้ยงมีน้ำหนักเฉลี่ย 72.61 กรัม อัตรารอดตาย 59.29 เปอร์เซ็นต์ อัตราแลกเนื้อ 2.76 คิดเป็นต้นทุนอาหาร 33.12 บาท/กิโลกรัม (อาหารเม็ดปลากินเนื้อราคากิโลกรัมละ 12 บาท)

การเลี้ยงปลาในกระชัง

การเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง โดยที่ตัวกระชังทำด้วยตาข่ายพลาสติก ขนาดกระชัง 3x4x1.8 เมตร ปล่อยปลาขนาด 200-250 กรัม จนถึงขนาดตลาด อัตราปล่อย 1,000 ตัว/กระชัง ให้ปลาเป็ดและส่วนผสมอื่น ๆ เป็นอาหารวันละ 1 ครั้ง ใช้เวลาเลี้ยง 4 เดือน ผลปรากฏว่าปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักเฉลี่ย 540 กรัม/ตัว อัตรารอดตาย 82.0 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิต 462.38 กิโลกรัม/กระชัง

» การเพาะพันธุ์
» การผสมเทียม
» การอนุบาลลูกปลา
» การเลี้ยงปลาขนาดตลาด
» ต้นทุนและผลตอบแทน
» โรคและการป้องกัน
» การจำกัดกลิ่นโคลนในเนื้อปลา
» อนาคตของตลาด
» การป้องกันสัตว์น้ำจากภัยธรรมชาติ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย