สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

จิตสำนึกทางสังคม

ผศ.ชมพู โกติรัมย์ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม

        หากพิจารณาโครงสร้างหลักๆ ของสังคมอันประกอบด้วยเศรษฐกิจ และศาสนา อันเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาสังคมเพราะทั้งสองปัจจัยนี้ได้ครอบคลุมทั้งสังคมทางกายภาพ และสังคมทางจิตวิญญาณ ตามทัศนะของคาร์ล มาร์กซ เห็นว่าเศรษฐกิจเป็นปัจจัยด้านหลักในการค้ำให้สังคมอยู่ได้ การที่เศรษฐกิจจะดำรงอยู่อย่างมั่งคั่ง มีการขยายตัวหรือปรับตัวผันผวนตามปัจจัยภายนอกในระดับโลกนั้น มิอาจจะดำรงตัวแบบไม่โยงยึดกับปัจจัยภายในอื่นๆ เลย หากแต่ว่าความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นผลลัพธ์ทางกายภาพทางสังคม ที่สัมผัสได้ด้วยการอยู่ดีมีสุขของมวลรวมของประชากรในวงกว้าง จะต้องโยงยึดกับระบบการศึกษา ระบอบการปกครอง และรูปแบบ(ระบบ) การเมืองของประเทศนั้นๆ มีลักษณะที่เอื้อประโยชน์กระจายสู่มวลรวมของประชากรหรือไม่ ตรงนี้ต้องลงลึกไปถึงจิตสำนึกในการทำกิจกรรมทางการเมืองของผู้เกี้ยวข้องทางการเมืองโดยตรง ว่ามีความมุ่งมั่นในประโยชน์สุขของประเทศชาติ หรือหมายมุ่งแสวงหาผลประโยชน์แห่งตนอย่างซ่อนเร้นอันเกิดจากอำนาจทางการเมืองหรือไม่ นี่คือปัจจัยด้านหลักทางเศรษฐกิจ ส่วนปัจจัยด้านหลักในส่วนของสังคมทางจิตวิญญาณหรือศาสนา ความหมายของศาสนาในที่นี้ คงไม่ติดที่การสักการะบูชา หรือสวดมนต์ อันเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของศาสนาที่หยั่งรากทางความเชื่อจนกลายเป็นสัญลักษณ์ทางสังคมไปแล้ว หากแต่ว่าหมายถึงเป้ามายสูงสุดแห่งศาสนา (ทางการเมืองหมายถึงอุดมการณ์ ) อันเป็นคุณค่าที่สัมผัสได้ด้วยความสงบสุข สันติภาพของมนุษยชาติอันเป็นหลักสากล ก้าวข้ามขอบเขตทางการเมือง สัญลักษณ์ทางสังคม หรือแม้แต่สีผิว อันมีความต่างกันบนที่มาและคติความเชื่อ หากมองปัจจัยหลักทางศาสนาในประเด็นนี้ก็จะเห็นว่า ศาสนาเป็นปัจจัยการผลิตทางสังคม คือผลิตคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยทุนแห่งความสุขสงบ ด้วยจิตสำนึกยึดติดในกรอบมนุษยนิยมอันเป็นทุนทางสังคม ปัจจัยด้านหลักทางศาสนาก็เช่นเดียวกับเศรษฐกิจที่มิอาจจะดำรงตน ลอยตัวจากโครงสร้างทางสังคมเพียงลำพังได้ทั้งนี้ต้องโยงยึดกับการศึกษา การเมือง ในฐานะเติมเต็มในส่วนของจุดมุ่งหมายของการศึกษาและการเมือง

จากปัจจัยด้านหลักในการพัฒนาประเทศ ไม่ควรมองข้ามปรากฏการณ์แห่งจิตสำนึกของสังคมอย่างถูกต้อง เพราะจิตสำนึกต่อสังคมเป็นการสะท้อนถึงบางอย่างของความเป็นจริงของสังคมที่กำลังเป็นอยู่ เนื้อหาแห่งจิตสำนึกทางสังคมขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของแต่ละสังคม ระบบเศรษฐกิจ (การถือกรรมสิทธ์) และระดับการพัฒนาที่ต่างกัน จิตสำนึกที่มีต่อสังคมย่อมต่างกัน ในแต่ละสังคมล้วนมีจิตสำนึกต่อสังคมที่สอดคล้องกับลักษณะการเปลี่ยนแปลง และการการดำรงอยู่ของสังคม ภายใต้บริบทแห่งสังคมเดียวกัน จะก่อตัวเป็นความคิดอารมณ์ ความปรารถนาและการเรียกร้อง ความต้องการตามความเคยชินและทัศนะที่ต่างกัน จะมีรูปลักษณ์แห่งจิตสำนึกที่ต่างกัน

อนึ่งนั้นนักทฤษฎีชนชั้นนายทุนได้เสนอว่า ชนชั้นนายทุนอ้างจิตสำนึกปราศจากลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง ทั้งนี้เพราะผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนตรงกันข้ามกับประชาชนผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นคนส่วนมากของประเทศ พวกเขาต้องการปกปิดเนื้อแท้แห่งจิตสำนึกของชนชั้นนายทุนผ่านวาทกรรมว่า ทำเพื่อประชาชน เขาเห็นว่าความคิดเช่นนี้คือความคิดของมวลประชาชน พวกเขาถือตัวเองเป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนด้วยการเข้ามาทำกิจกรรมทางการเมือง ที่แท้แล้วก็คือแสดงลักษณะของพรรคชนชั้นนายทุน ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแบบมีผลประโยชน์ชนชั้นนายทุนผูกขาด ดูเหมือนว่า ทฤษฎีชนชั้นนายทุนยังไม่ได้ล้มตายหายไปไหน ยังสืบทอดและดำรงอยู่ในสังคมต่างๆ ที่เปิดกว้างทางการเมืองให้เข้ามาแสดงตัวตนซ่อนเร้นเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์แห่งตน รูปแบบจิตสำนึก ท่ามกลางความหลากหลากทางสังคม เหตุผลอันเป็นสากล หรือจุดยึดที่เป็นกลางก้าวข้ามความเป็นฝ่าย เป็นลัทธิ ทางการเมืองและศาสนา และความสำนึกในความเป็นชาติ (ประเทศชาติไม่ติดที่เชื้อชาติ) ตรงนี้ต่างหากที่เป็นพื้นฐานหรือกรอบความคิดที่จะนำพาให้คนในชาติเกิดความสมานฉันท์ เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็งได้ ฉะนั้นในที่นี้ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอความสำนึกบางประการที่นับว่ามีความจำเป็นต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่งซึ่งประกอบด้วย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย