สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

จิตสำนึกทางสังคม

ผศ.ชมพู โกติรัมย์ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม

2.สร้างสำนึกทางศีลธรรม

        ศีลธรรมเกิดก่อนอำนาจ(หรือลัทธิ) มาช้านาน ได้ดำรงตั้งแต่บรรพกาล ศีลธรรมเป็นผลรวมแห่งการจัดปรับมาตรฐานแห่งพฤติกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน และระหว่างส่วนรวมกับสังคม มาตรฐานศีลธรรมไม่เหมือนอำนาจรัฐ เพราะไม่ใช่กำหนดขึ้นมาด้วยการบังคับ หรือนำไปปฏิบัติด้วยด้วยการบังคับโดยรัฐ หากแต่ว่าได้ดำรงรักษาไว้ด้วยอาศัยพลังของสังคมโดยมีศรัทธา เป็นตัวกำหนดผ่านการยอมรับของผู้คนทั้งหลาย เราได้อาศัยความดี ความชั่ว ยุติธรรม อยุติธรรม เที่ยงตรงหรืออคติ ซื่อสัตย์หรือจอมปลอมซึ่งเป็นจินตภาพของศีลธรรมเหล่านี้มาประเมินความประพฤติของเรา และสิ่งเหล่านี้ไปจัดปรับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน บทบาทของศีลธรรมในชีวิตสังคมกว้างใหญ่ยิ่งกว่าอำนาจ เพราะเป็นอำนาจบารมีที่เกิดจากคุณงามความดี การควบคุมความประพฤติของคนเราในสังคม ในบางขณะมิใช่เป็นสิ่งที่อำนาจรัฐจะกระทำได้ แต่ว่าศีลธรรมไม่มีบทบาทบังคับเช่นอำนาจรัฐ แต่การจัดปรับความสัมพันธ์ทางสังคมเรานั้น จะอาศัยแต่เพียงศีลธรรมเท่านั้นย่อมไม่พอ ยังต้องอาศัยบทบาทของสิทธิอำนาจด้วย เพราะบทบาทของศีลธรรมและสิทธิอำนาจในชีวิตสังคมมักเพิ่มเติมแก่กันและกัน

ทฤษฎีทางศีลธรรมยุคบรรพกาล ล้วนแต่พิจารณามาตรฐานศีลธรรมโดยแยกห่างจารากฐานเศรษฐกิจของสังคมและสัมพันธ์ชนชั้นทั้งสิ้นเพราะเห็นว่า มาตรฐานศีลธรรมไม่เปลี่ยนแปลงตลอดกาล ลิทธิมาร์กซได้เปิดเผยให้เห็นธาตุแท้ของศีลธรรมคือ ถูกกำหนดโดยรากฐานเศรษฐกิจของสังคมและรับใช้รากฐานสังคมจนถึงปัจจุบัน สังคมยังเคลื่อนไหลในลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน แต่ศีลธรรมเป็นของทุกชนชั้น ทัศนะเกี่ยวกับศีลธรรมแรกสุดเกิดขึ้นคือหน้าที่การใช้แรงงานร่วมกัน การแบ่งปันโดยเฉลี่ย ความรักต่อเพื่อนร่วมเผ่าเป็นต้น บรรทัดฐานศีลธรรมกำหนดโดยลักษณะกรรมสิทธิ์ หลังสังคมได้แตกแยกเป็นชนชั้นแล้ว ในสังคมไม่มีไม่มีศีลธรรมเป็นเอกภาพอีกต่อไป คือมีทัศนะเกี่ยวกับศีลธรรมต่างกัน บางก็ตีความเข้าข้างตนเอง บางครั้งก็อ้างมาตรฐานทางศีลธรรมด้วยเจตนาทำลายคู่แข่งทางการเมือง ในสถานการณ์ที่สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนในระดับโครงสร้างหลักอยู่นี้ เราจะก้าวข้ามไปสู่การปฎิรูปสังคมตามคาดหวังและจะยึดฝั่งสังคมแห่งคุณธรรมจริยธรรมได้หรือไม่ ส่วนหนึ่งประชาชนต้องต้องเรียนรู้ที่จะประทับตราบาป (ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ข่มคนที่คนข่ม) มิใช่ไหลไปตามอามิสสินจ้างไปเสียทั้งหมด อย่าปล่อยให้ประเทศเป็นธุระของนักการเมืองไปทั้งหมด ประชาชนย่อมมีส่วนมีส่วนที่จะประทับตราบาปให้

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย