สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ระบอบเผด็จการ

        ระบอบเผด็จการเป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือจะให้ความสำคัญกับการอำนาจนิยม ผู้ใช้อำนาจหรือผู้นำซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยและไม่คำนึงถึงเสรีภาพของประชาชน ระบอบเผด็จการนี้มีมาแต่ยุคโบราณ และได้พัฒนารูปแบบออกไปในแต่ละยุคแต่ละสถานการณ์ของการปกครอง แต่สาระแก่นสารยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

       ในสถานการณ์ทางการเมืองการปกครองที่ปรากฏอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น การปกครองในระบอบเผด็จการอำนาจนิยมมักจะเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางการเมืองภายในประเทศมากกว่าภัยจากศัตรูภายนอกประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศที่เพิ่มได้รับเอกราช มักจะประสบกับปัญหามากมาย เช่น ความแตกแยกในระหว่างกลุ่มผู้นำ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐขาดสถาบันทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพ ระบบราชการเต็มไปด้วยพวกพ้อง เป็นระบบอภิสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความทุกข์สุขของประชาชน ความปั่นป่วนวุ่นวายจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนรวมกลุ่มกันทวงสิทธิ์ที่พวกตนควรจะได้รับ

 

ผลที่สุดเผด็จการในการทำรัฐประหารยึดครอง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเผด็จการทหาร สาเหตุที่บรรดาเผด็จการทหารมักจะอ้างในการทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐก็คือ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง แต่เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ คลี่คลายไปแล้วแทนที่ผู้นำทหารเหล่านั้นจะคืนอำนาจให้ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ดุลพินิจในการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย แต่กลับยังคงรักษาอำนาจ ดำรงตนในฐานะผู้ปกครองต่อไปเรื่อย ๆ โดยจะอ้างสาเหตุหลายประการ เช่น สถานการณ์ยังไม่อาจเชื่อใจได้ หรือประชาชนยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง เป็นต้น

ที่มา

  • วัชระ คลายนาทรและคณะ : สังคมศึกษาสมบูรณ์แบบ
  • สุขุม นวลสกุลและคณะ : สังคมศึกษา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย