สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
- ความหมายของเผด็จการ
- ลักษณะสำคัญของลัทธิเผด็จการ
- ประเภทของลัทธิเผด็จการ
-
เผด็จการอำนาจนิยมกับเผด็จการเบ็ดเสร็จในเชิงเปรียบเทียบ
เผด็จการอำนาจนิยม
กับเผด็จการเบ็ดเสร็จในเชิงเปรียบเทียบ
เผด็จการทั้งสองรูปแบบต่างก็มีความคล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้
- ผู้นำต่างมีอำนาจเด็ดขาด
- ผู้นำต่างใช้อำนาจเพื่อรักษาสถานภาพของตนเอง โดยการกำจัดศัตรูทางการเมือง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ทั้งยังไม่ยินยอมให้มีกลุ่มคิดทางการเมืองที่แตกต่างออกไปเกิดขึ้น
- มีการจำกัดเสรีภาพของประชาชน
- มองประชาชนในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่จะสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับตนเอง
- มีการควบคุมสื่อสารมวลชนในระดับหนึ่ง
ในส่วนที่แตกต่างกันระหว่างเผด็จการอำนาจนิยมกับเผด็จการเบ็ดเสร็จอาจสรุปได้ดังต่อไปนี้
- เผด็จการอำนาจนิยมนิยมมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ
การควบคุมกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนเท่านั้น
ขณะที่เผด็จการเบ็ดเสร็จต้องการที่จะเข้าควบคุมทั้งกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคม
- รัฐเผด็จการอำนาจนิยมไม่เข้าไปควบคุมสถาบันครอบครัว ศาสนา โรงเรียน สมาคม
หรือกลุ่มทางเศรษฐกิจ สังคมใด ๆ แต่เผด็จการเบ็ดเสร็จนั้นถือว่าองค์กรทุกองค์กร
สถาบันทุกสถาบันจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ
โดยรัฐจะเป็นผู้กำหนดแนวปฏิบัติต่าง ๆ ให้
- รัฐเผด็จการอำนาจนิยมนั้น
แม้จะเน้นที่วิธีการลงโฆษณาอย่างรุนแรงโดยเฉพาะกิจกรรมที่ผู้นำพิจารณาแล้วว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมืองของตน
แต่กระบวนการทางกฎหมายที่จะใช้เป็นหลักในการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยทั่วไปก็ยังคงมีอยู่
แต่ในระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จนั้น อำนาจรัฐมีอย่างไม่จำกัด
สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในทุกเรื่องอาจถูกละเมิดเมื่อไรก็ได้ ทั้งนี้
รัฐจะถือเอาความมั่นคง ความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียว
เป็นข้ออ้างในการสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจเด็ดขาด
- ประชาชนในรัฐเผด็จการอำนาจนิยมมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญ คือ จะต้องไม่ดำเนินการทางการเมืองใด ๆ ที่ขัดขวางหรือต่อต้านนโยบายทางการเมืองของผู้นำ แต่ประชานในรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จนั้นนอกจากจะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำอย่างเคร่งครัดแล้ว ยังจะต้องแสดงความจงรักภักดี มีความสำนึกในความเป็นหนี้บุญคุณที่มีต่อรัฐต้องยอมรับใช้รัฐในทุกโอกาสอีกด้วย
ในส่วนของระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จนั้น เราอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
ที่มา
- วัชระ คลายนาทรและคณะ : สังคมศึกษาสมบูรณ์แบบ
- สุขุม นวลสกุลและคณะ : สังคมศึกษา