สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
สัตว์แต่ละชนิดย่อมมีการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน
สัตว์บางชนิดสามารถดำรงชีวิตอยูได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น สุนัข
แมว กระรอก กระต่าย เป็นต้น
แต่ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่จำเป็นต้องดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
มีระบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มโดยการจำแนกตำแหน่งหน้าที่ของสมาชิก
และการที่ได้อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มนั้นจะกระทำให้สมาชิกดำรงชีวิตอยู่รอด
เราเรียกสัตว์ที่มีการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
โดยมีการกระทำระหว่างกันทางสังคมว่า สัตว์สังคม (social animals)
สัตว์สังคมมีหลายประเภท ทั้งที่เป็นสัตว์ชั้นต่ำไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น
สัตว์จำพวกแมลง ได้แก่ ผึ้ง มด แตน ต่อ และสัตว์ชั้นสูงที่มีกระดูกสันหลัง เช่น
นกบางชนิด ช้าง ลิงบาบูน มนุษย์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม
การที่สัตว์บางชนิดรวมตัวกันเป็นกลุ่มก็ไม่จำเป็นว่าสัตว์เหล่านั้นจะต้องเป็นสัตว์สังคมเสมอไป
ฝูงวัวที่เดินทางมาดื่มน้ำในบ่อน้ำแห่งหนึ่ง
ในขณะใดขณะหนึ่งไม่นับว่าเป็นสัตว์สังคมเนื่องจากวัวฝูงนั้นไม่มีการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระบบ
ปรากฏการณ์ที่สัตว์มารวมตัวกันเช่นนี้เราเรียกว่า มวลรวม (aggregate)
ซึ่งไม่จำเป็นว่า สัตว์เหล่านี้จะต้องเป็นสัตว์สังคมเสมอไป
สัตว์สังคมจึงมีลักษณะที่สำคัญ คือ มีการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
และมีการกระทำระหว่างกันทางสังคม
มนุษย์รู้จักรวมตัวเป็นหมู่เหล่า โดยระยะแรก ๆ ได้รวมตัวกันอยู่อย่างง่าย ๆ
แล้วจึงค่อย ๆ วิวัฒนาการมาตามลำดับจนกลายเป็นสังคม เป็นบ้านเมืองอย่างทุกวันนี้
เหตุที่มนุษย์ต้องรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นสังคมนั้น
ก็เพราะมนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยกันในการดำรงชีพ เช่น ช่วยกันหาหรือผลิตอาหาร
ช่วยกันสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัย ช่วยกันสร้างเครื่องมือหรืออาวุธ
ช่วยป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นจากธรรมชาติหรือจากการรุกรานของมนุษย์ด้วยกัน
และมนุษย์ยังมีความต้องการอื่น ๆ จากกันและกันอีกมาก
อาริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก กล่าวว่า
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ทั้งนี้เขาเชื่อว่า
มนุษย์โดยสภาพธรรมชาติจะต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น ๆ
ติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างอิสระตามลำพังแต่ผู้เดียวได้ สังคมจึงเกิดขึ้น
อุทัย หิรัญโต ได้เสนอไว้ว่า มนุษย์ทุกคนย่อมเกิดมาในหมู่คน
ดำรงชีวิตอยู่ในหมู่คน และต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนอื่น
มนุษย์จะอยู่โดดเดี่ยวไม่สัมพันธ์กับคนอื่นไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทารก
วัยเด็ก
จากแนวคิดของนักสังคมวิทยา มีความเห็นว่า สังคมกับมนุษย์จะแยกจากกันไม่ได้
เพราะมนุษย์เริ่มเกิดมาก็ต้องอาศัยสังคม ต้องพึ่งพาอาศัยมนุษย์ด้วยกัน
ต้องมีความสัมพันธ์กัน และกระทำต่อกันทางสังคมเพื่อประโยชน์แห่งตนและสังคม
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
สังคมมนุษย์