สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สังคมมนุษย์
สังคมมนุษย์มีมานานแล้ว และได้วิวัฒนาการมาโดยลำดับ
จากสังคมที่ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างง่าย ๆ จากการมีอาชีพทางการล่าสัตว์และเก็บของป่า
ยังไม่มีผู้ปกครอง
ยังไม่มีการแบ่งงานกันอย่างเด่นชัดพัฒนาไปเป็นสังคมที่สลับซับซ้อนขึ้น
ดังเช่นที่พบเห็นในปัจจุบัน
ความหมายและลักษณะของสังคม
นักวิชาการได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความหมายของสังคมแตกต่างกันไป เช่น
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ได้อธิบายความหมายของสังคม ดังนี้ สังคม (society) หมายถึง
คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน
ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ)
ได้กล่าวถึงความหมายของสังคม ดังนี้ มนุษย์ที่รวมกันอยู่เป็นหมู่คณะ
มีทั้งหญิงและชาย ตั้งภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่ง ณ
ที่ใดที่หนึ่งเป็นประจำเป็นเวลานานตามสมควร พอจะเรียนรู้และปรับปรุงตนเองแต่ละคนได้
และประกอบการงานเข้ากันได้ดี มีความสนใจร่วมกันในสิ่งอันเป็นมูลฐานแห่งชีวิต
มีการครองชีพ ความปลอดภัยทางร่างกาย ความมีอนามัย และความมีไมตรีจิตต่อกัน
และมีความรู้สึกว่าคนแต่ละคนเป็นหน่วยหนึ่งของส่วนรวม
มนุษย์ที่รวมกันเป็นหมู่คณะตามเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ เรียกว่า สังคม
เจมส์ บี. แมคคี (James B. Mckee) อธิบายว่า สังคม หมายถึง
ประชากรซึ่งดำรงชีวิตร่วมในอาณาเขตเดียวกัน
โดยมีระบบที่เชื่องโยงและควบคุมกลุ่มคนต่าง ๆ
ในดินแดนดังกล่าวให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันจนมีความเป็นสมาชิกร่วมกัน
และเป็นอิสระจากการควบคุมของกลุ่มประชากรอื่น ๆ ภายนอกสังคมนั้น
ลักษณะสำคัญของสังคม
จากที่กล่าวมานี้ อาจสรุปได้ว่า สังคมคือ
กลุ่มคนที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. มีประชากรที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากพอสมควร
ประชากรในสังคมมีทุก
เพศวัย อาจมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ เช่น การประกอบอาชีพ การศึกษา
ฐานะความเป็นอยู่ เป็นต้น นอกจากนี้ประชากรในสังคมยังประกอบไปด้วยกลุ่มต่าง ๆ เช่น
ครอบครัว กลุ่มเพื่อน พ่อค้า กรรมกร รวมถึงชนกลุ่มน้อย ซึ่งต่างศาสนาหรือเผ่าพันธุ์
เป็นต้น แต่ก็ดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมเดียวกัน
โดยมีระบบความสัมพันธ์เป็นระเบียบกฎเกณฑ์
ซึ่งยึดเหนี่ยวให้เกิดความผูกพันระหว่างกัน
สังคมไทยเป็นสังคมหนึ่งของโลก มีประชากรประมาณ 60.8 ล้านคน (สถิติ พ.ศ.
2540)
ประชากรไทยประกอบไปด้วยกลุ่มคนต่าง ๆ ซึ่งมาจากครอบครัว อาชีพ ศาสนา
การศึกษา ฐานะความเป็นอยู่ และท้องถิ่นอันเป็นภูมิลำเนาต่าง ๆ กัน
แต่ก็ดำรงอยู่ร่วมเป็นสังคมไทยเดียวกัน
โดยยอมรับระเบียบกฎเกณฑ์และแบบแผนการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน เช่น การใช้กฎหมาย
การใช้สาธารณูปโภคต่าง ๆ ร่วมกัน เป็นต้น
2. มีอาณาเขตหรือดินแดน
อาณาเขตหรือดินแดนเป็นสิ่งช่วยให้เราใช้กำหนดแบ่งสังคม
หนึ่งออกจากอีกสังคมหนึ่ง
ช่วยให้ประชากรซึ่งเป็นสมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถรับรู้ร่วมกันว่า
ระเบียบกฎเกณฑ์และแบบแผนความสัมพันธ์ที่ใช้ร่วมกันนั้นมีขอบเขตในบริเวณใด เช่น
ประชากรไทยจะใช้กฎหมายไทยได้เฉพาะในดินแดนไทยเท่านั้น
3. มีอิสระและอำนาจในการดำเนินการภายในสังคม
สังคมจะต้องพึ่งพาตัวเองได้ทั้งใจ
เชิงเศรษฐกิจ และการปกครอง ได้แก่
การมีอิสระและอำนาจในการปกครองตนเองโดยปราศจากการควบคุมของสังคมอื่น
และมีอำนาจควบคุมกลุ่มสังคมย่อยต่าง ๆ ที่ดำรงชีวิตในอาณาบริเวณดินแดนของสังคมนั้น
เช่น ในสังคมไทยรัฐบาลย่อมมีอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครองประเทศ
โดยปราศจากการแทรกแซงของประเทศอื่น ๆ
ภายในสังคมไทยแม้ว่าจะประกอบไปด้วยชนกลุ่มน้อยต่างเผ่าพันธุ์หรือต่างศาสนา
แต่ชนทุกกลุ่มจะต้องยอมรับการปกครองของรัฐบาลเดียวกัน เป็นต้น
นอกจากการมีอิสระและอำนาจในการปกครองตนเอง
สังคมจะต้องสามารถเลี้ยงตนเองได้โดยมีผลิตผลทางเศรษฐกิจเพียงพอต่อการเลี้ยงดูสมาชิกทุกคนในสังคม
แม้ว่าจะถูกตัดขาดจากการติดต่อจากสังคมอื่นก็ตาม
สังคมใดที่ขาดแคลนผลผลิตทางเศรษฐกิจจนไม่อาจเลี้ยงดูสมาชิกได้อย่างเพียงพอ
ย่อมไม่สามารถพัฒนาความเจริญก้าวหน้าได้ และอาจถูกสังคมอื่น ๆ
เข้ามามีอำนาจควบคุมจนขาดความเป็นอิสระในการดำเนินการภายในสังคม
ในอดีตที่ผ่านมา สังคมไทยเคยเผชิญภาวะวิกฤติ เช่น
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกตัดขาดจากการติดต่อในทางเศรษฐกิจจากชาติต่าง ๆ
โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสัมพันธมิตร
แต่ไทยก็ยังสามารถผลิตสินค้าเกษตรกรรมหล่อเลี้ยงชนในชาติในช่วงระยะเวลานั้น
แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเลี้ยงตนเองได้
นับว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่พึ่งตนเองได้ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการปกครอง
4. มีวัฒนธรรม
วัฒนธรรมเป็นวิถีการดำรงชีวิตทั้งปวงที่มนุษย์ได้จากการเป็นสมาชิก
ของสังคมประกอบไปด้วย วัฒนธรรมทางวัตถุ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้
สิ่งประดิษฐ์ทางวัตถุทั้งปวง เป็นต้น และวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ความรู้
ความเชื่อ คุณธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เป็นต้น
วัฒนธรรมที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นโดยการที่สมาชิกดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม
มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
โดยการเรียนรู้และการถ่ายทอดจากสมาชิกรุ่นหนึ่งไปสู่สมาชิกอีกรุ่นหนึ่ง
ทำให้การดำเนินชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคมมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมของสังคมนั้น
ๆ
สาเหตุที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม
การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันของสังคมมนุษย์ เกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของสมาชิกในสังคม ซึ่งเป็นความจำเป็นต่อการดำรง ชีวิตของมนุษย์ทุกคน ได้แก่ การสนองความต้องการทางชีวภาพ กายภาพ จิตใจ และสังคม
- เพื่อให้เกิดการแบ่งแรงงานระหว่างสมาชิก โดยการกำหนดตำแหน่งและหน้าที่ความ รับผิดชอบระหว่างสมาชิก ทำให้มีการพึ่งพาและความร่วมมือในการดำรงชีวิตร่วมกัน
- เพื่อให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม จะทำให้มีการ ถ่ายทอดวัฒนธรรม เพื่อเป็นแบบแผนในการดำรงชีวิต วัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งที่สร้างความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ให้แก่สมาชิกในสังคม
- เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมทำให้เกิดความเจริญต่อตน เองและส่วนรวม เนื่องจากสมาชิกจะร่วมกันประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ แล้วนำมาปรับปรุงให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
สังคมมนุษย์