ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
SMEs ย่อมาจากภาษาอังกฤษ Small and Medium Enterprises หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม" สำหรับความหมายของวิสาหกิจ (Enterprises) ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
- กิจการการผลิต (Production Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม(Manufacturing) และเหมืองแร่(Mining)
- กิจการการค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)
- กิจการบริการ (Service Sector)
ส่วนลักษณะขนาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำหนดจากมูลค่าชั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร สำหรับกิจการแต่ละประเภท ดังนี้
- กิจการการผลิต ขนาดกลาง ไม่เกิน 200 ล้านบาท ขนาดย่อม ไม่เกิน 50 ล้านบาท
- กิจการบริการ ขนาดกลางไม่เกิน 200 ล้านบาท ขนาดย่อม ไม่เกิน 50 ล้านบาท
- กิจการการค้า
- ค้าส่ง ขนาดกลางไม่เกิน 100 ล้านบาท ขนาดย่อม ไม่เกิน 50 ล้านบาท
- ค้าปลีก ขนาดกลางไม่เกิน 60 ล้านบาท ขนาดย่อม ไม่เกิน 30 ล้านบาท
ส่วนลักษณะขนาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำหนดจากจำนวนการจ้างงาน สำหรับกิจการ แต่ละประเภท ดังนี้
- กิจการการผลิต ขนาดกลางไม่เกิน 200 คน ขนาดย่อม ไม่เกิน 50 คน
- กิจการบริการ ขนาดกลางไม่เกิน 200 คน ขนาดย่อม ไม่เกิน 50 คน
- กิจการการค้า
- ค้าส่ง ขนาดกลางไม่เกิน 50 คน ขนาดย่อม ไม่เกิน 25 คน
- ค้าปลีก ขนาดกลางไม่เกิน 30 คน ขนาดย่อม ไม่เกิน 15 คน
ความสำคัญของ
SMEs ต่อระบบเศรษฐกิจ
กลยุทธ์ของเจ้าของกิจการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ปัญหาและข้อจำกัดของ
SMEs ในภาพรวม
ผลกระทบต่อ
SMEs