ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

กลยุทธ์ของเจ้าของกิจการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

เถ้าแก่ใหม่สำหรับ SMEs เถ้าแก่ใหม่หรือผู้ประกอบการอิสระ หรือ เจ้าของกิจการรายใหม่ กำลังเป็นที่สนใจของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยยอมรับกันว่า เถ้าแก่ใหม่นั้นจะเป็นรากฐานสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเถ้าแก่ใหม่จะเป็นผู้ที่มองเป็นโอกาสและช่องทางต่างๆแล้วสร้างธุรกิจของตนอย่างสร้างสรรค์ และจะเป็นผู้ที่เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสหรือจะมองในแง่ของ " ช่วงภาวะแห่งอันตราย คือ โอกาส"

คุณสมบัติขั้นต่ำ 7 ประการสำหรับ เถ้าแก่ใหม่

1. ต้องเป็นนักแสวงหาโอกาส

ต้องมองเห็น " โอกาส" แม้ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ โดยมองเห็นโอกาสแล้วหยิบฉวยขึ้นได้อย่างเหมาะสม ไม่ใช่มองเห็นโอกาสแล้วไม่มีความสามารถหรือไม่กล้า นั่นถือว่า " เสียของ "

2. ต้องเป็นนักเสี่ยง

ต้องกล้าเสี่ยงที่จะลุยเข้าไปเลย เพราะการที่จะเป็นเถ้าแก่นั่นคือ คุณจะมีโอกาสทั้งขาดทุน และกำไร นั้นคือสิ่งที่คุณ จะได้รับ ความเป็นนักเสี่ยงนั้นไม่ใช่ทำแบบบ้าบิ่นหรือไม่มีหลักการและเหตุผลเอาซะเลย

3. ต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เป็นคุณสมบัติที่สำคัญสำหรับเถ้าแก่ใหม่ เพราะการที่จะเข้าไปแข่งขันกับเถ้าแก่เดิมหรือสินค้าที่มีอยู่ในตลาดนั้นจำเป็น จะต้องมีความคิดใหม่ๆ และสร้างสรรค์ แต่ไม่ใช่เพ้อฝันในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

4. ต้องไม่ท้อถอยง่าย

เถ้าแก่ใหม่จะต้องมี "ความอึด" โดยเฉพาะเริ่มแรกของการทำธุรกิจใหม่ๆ ความมุมานะไม่ย่อท้อความลำบาก และมุ่งมั่น ที่จะให้ธุรกิจที่ตนสร้างนั้นประสบความสำเร็จ และหวังที่จะเก็บดอกออกผลในอนาคต

5. ต้องใฝ่รู้เสมอ

เถ้าแก่ใหม่จะต้องมีความตื่นตัว ใฝ่หาความรู้เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และปรับเปลี่ยนเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดี และยังเป็นการปรับปรุงงานต่างๆด้วย

6. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

โดยจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ว่าจะไปไหนและมีแนวทางในการดำเนินการอย่างไร คล้ายกับยิงธนูจะต้องเหนี่ยว ยิงลูกธนูนั้นให้ถูกทิศทางและเป้าหมายนั่นเอง

7. ต้องมีเครือข่ายที่ดี

เถ้าแก่ใหม่มีเครือข่ายที่ดีจะหมายถึง มีคนชี้แนะ สนับสนุนมาก มีแหล่งข้อมูลมาก และรวมไปถึงเพื่อน หรือญาติพี่น้องที่จะช่วยเหลือ โดยคุณสมบัติดังกล่าว ไม่ใช่คุณสมบัติที่จะต้องมีมาแต่กำเนิด เราทุกคนสามารถมีได้ และพัฒนาขึ้นมาได้แต่ต้องใช้เวลา นี่ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่ เป็นพรแสวงที่ตัวคุณเองเท่านั้นที่จะแสวงหาสิ่งนั้นด้วยตัวคุณเอง ถ้าไม่เชื่อ คุณลองไปถามเถ้าแก่เก่าที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในอดีตแรงกดดันที่ทำให้ SMEs ต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ปัญหาของอุตสาหกรรมไทยที่ผ่านมามีหลายประการ เช่นด้านการผลิต การจัดการบริหาร แหล่งเงินทุน การตลาด แรงงาน คุณภาพสินค้า และเทคโนโลยีเป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านั้นทำให้อุตสาหกรรมขาดความสามารถในการทำกำไร

" แรงกดดัน 4 C " เป็นแรงกดดันหลักที่ทำให้ ธุรกิจ SMEs เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่

1. Customer (ลูกค้า) โดยลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลาย มีการเรียกร้องที่ไม่รู้จบ เนื่องจากเป็นตลาดของ ผู้ซื้อ มีสินค้าในตลาดมากมาย หรือเมื่อลูกค้าได้ยินสินค้าใหม่หรือมีสิ่งใหม่ที่ไม่ซ้ำซาก ซึ่งอาจรวามถึงราคาที่ ดึงดูดใจด้วย ดังนั้น SMEs ต้องตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ทันการณ์ โดยมีการวิเคราะห์ลูกค้า อยู่เสมอ

2. Competition (การแข่งขัน) สภาพการแข่งขันในตลาดเสรีนอกจากจะเพิ่มทั้งจำนวนและขนาดแล้ว คู่แข่งจะ มีทั้งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสินค้าเหล่านั้นจะรวมไปถึง สินค้านำเข้า สินค้าหนีภาษี และ สินค้าที่ทุ่มตลาดด้วยการลดราคาเป็นต้น SMEs จึงต้องพยายามคิดเสมอว่า คู่แข่งของเราผลิตสินค้าที่ดีกว่า ถูกกว่า และให้บริการเร็วกว่า เพื่อที่เราจะได้มีการตื่นตัวและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มากกว่านั้นเราจะต้องพยายามรักษาฐานลูกค้าเดิม และสร้างสรรค์ฐานลูกค้าใหม่ด้วย

3. Cost (ต้นทุน) การลดต้นทุนการผลิต (Cost Reduction) เป็นเรื่องที่ SMEs ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากต้นทุนการผลิตสูง ราคาขายของสินค้าหรือบริการก็จะสูงไปด้วยทำให้เสียความสามารถในการแข่งขันและยังทำให้ความสามารถในการทำกำไรลดลงไปด้วย อย่างไรก็ตามก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าเช่นเดียวกัน

4. Crisis มีคำกล่าวว่า " ยามศึกเรารบ ยามสงบเราฝึก" ซึ่งก็คือการที่เรามีการเตรียมความพร้อมไว้สำหรับเหตุการณ์ร้ายแรงที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน ซึ่งจะเป็นการป้องกันล่วงหน้า เราจะมีทางหนีทีไร่อย่างไร มากกว่านั้น ยังเป็นการปรับตัวและยืดหยุ่นตามวิกฤติเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดีและเร็วทันท่วงที ดังนั้น การที่มีจิตนึกในการจัดการวิกฤติการณ์(Crisis Management) จะสอนเราให้เป็น"นักป้องกันและแก้ปัญหา" ไม่ใช่ "นักผจญเพลิง"

ดังนั้น SMEs จะต้องเปิดหูเปิดตาเพื่อให้ทันกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ความสำคัญของ SMEs ต่อระบบเศรษฐกิจ
กลยุทธ์ของเจ้าของกิจการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ปัญหาและข้อจำกัดของ SMEs ในภาพรวม
ผลกระทบต่อ SMEs

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย