ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ผลกระทบต่อ SMEs
จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี 2540
ซึ่งเริ่มจากสถาบันการเงินก่อนจะลุกลามไปสู่ธุรกิจ
เกือบทุกสาขาทั้งกิจการขนาดใหญ่และขนาดเล็กล้วนได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นด้วยกันทั้งสิ้น
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นภาคการผลิตที่แท้จริงก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน
กลุ่ม SMEs
ล้วนประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้อำนาจซื้อการบริโภคของประชาชนลดน้อยลงเป็นผลให้กิจการ
SMEs ต้องชะลอหรือลดการผลิต การจำหน่ายหรือถึงขึ้นปิดกิจการไปในที่สุด
โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่ม SMEs
ที่เป็นการรับช่วงการผลิตจากกลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุน
ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ใช้เทคโนโลยีพึ่งพาจากต่างประเทศ เช่น
อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น ส่วนกลุ่ม SMEs
ที่พึ่งพาตนเองได้และมักจะใช้ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานมาจากครอบครัวจะสามารถดำรงธุรกิจอยู่ได้
เนื่องจากกลุ่มนี้จะมีความคล่องตัวในเรื่องการจัดการ เทคนิคการผลิต การจำหน่าย
ซึ่งมักจะมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว เพื่อรับมือกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจได้ดีกว่า
กลุ่ม SMEs ที่รับช่วงการผลิตจากบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนากลาง
แต่อย่างไรก็ตามกลุ่ม SMEs
โดยทั่วไปก็ยังได้รับผลกระทบจากอำนาจซื้อและการบริโภคที่น้อยลงของประชาชน
และมีปัญหาคือสภาพคล่องทางการเงิน ที่กระจายไปทั่วระบบเศรษฐกิจ
หากภาครัฐไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ SMEs
เหล่านี้ก็จะทยอยปิดกิจการไปเรื่อย ๆ กระทั่ง
กลายเป็นปัญหาเรื้อรังทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อปัญหาสังคมในที่สุด
ความสำคัญของ
SMEs ต่อระบบเศรษฐกิจ
กลยุทธ์ของเจ้าของกิจการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ปัญหาและข้อจำกัดของ
SMEs ในภาพรวม
ผลกระทบต่อ SMEs