ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
แนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่
Postmodern theory
Deleuze and Guattari: Schizos, Nomads, Rhizomes
"ในทุกวันนี้เราอาศัยอยู่ในยุคของวัตถุต่างๆ, ก้อนอิฐ ก้อนหิน
ที่แตกออกเป็นชิ้นๆ และเศษดินเศษทรายเล็กๆน้อยๆที่เหลืออยู่...
พวกเราไม่เชื่อในความคิดรวบยอดเบ็ดเสร็จเดิมๆอีกแล้วซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีอยู่
หรือเชื่อมั่นในความเป็นทั้งหมดในท้ายที่สุดที่รอคอยเรา ณ
วันเวลาแห่งอนาคตในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า" (Deleuze and Guattari 1983: p.42)
"ทฤษฎีอันหนึ่งที่ไม่ได้เหมารวมหมด;
มันเป็นเครื่องมืออันหนึ่งสำหรับการเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
และมันยังคูณตัวมันเองอีกด้วย... นั่นคือสิ่งที่เป็นในธรรมชาติของอำนาจที่จะรวมตัว
และ... ทฤษฎีนั้น โดยธรรมชาติแล้วตรงข้ามหรือเป็นปรปักษ์กับอำนาจ" (Deleuze 1977a:
p.208)
Gilles Deleuze และ Felix Guattari
ได้ร่วมหัวจมท้ายในการผจญภัยเข้าไปในโพสท์โมเดิร์น
ซึ่งพวกเขาพยายามที่จะสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆของความคิด, งานเขียน,
ความเป็นอัตบุคคล, และการเมืองขึ้นมา.
ขณะที่พวกเขาไม่ได้รับเอาวาทกรรมเกี่ยวกับโพสท์โมเดิร์นมาใช้ และ Guattari (1986)
ได้โจมตีมันในฐานะที่เป็นคลื่นลูกใหม่ของ cynicism (ลัทธิซีนิก
ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ถูกกระตุ้นโดยความเห็นแก่ตัว
พวกนี้จะละทิ้งอารยธรรมและขนบจารีตเพื่อปลดเปลื้องตัวเองให้เป็นอิสระ)
และอนุรักษ์นิยม
แต่อย่างไรก็ตาม
พวกเขาคือตัวแทนที่น่ายกย่องของฐานะตำแหน่งเกี่ยวกับโพสท์โมเดิร์นในความพยายามอย่างเต็มที่
ที่จะถอดถอนปลดเปลื้องความเชื่อต่างๆของโมเดิร์นในเรื่องของเอกภาพ(unity),
ลำดับชั้นสูงต่ำ, เอกลักษณ์, รากฐานต่างๆ, อัตบุคคล และ การเป็นตัวแทน,
ขณะเดียวกันก็ให้การสรรเสริญหลักการต่างๆในทางตรงข้ามเกี่ยวกับความแตกต่าง
และความหลากหลายในทางทฤษฎี, การเมือง, และชีวิตประจำวัน.
หนังสือที่มีอิทธิพลมากที่สุดแห่งยุคของพวกเขาคือ Anti-Oedipus (1983;
orig. 1972)
เป็นการวิจารณ์ปลุกปั่นอันหนึ่งเกี่ยวกับวาทกรรมและสถาบันต่างๆของความเป็นสมัยใหม่
ซึ่งได้มาระงับความปรารถนาและแพร่ขยายความเป็นอัตบุคคลแบบฟาสซิสท์
ที่สิงสู่อยู่ในขบวนการต่างๆของการปฏิวัติ. Deleuze และ Guattari
เป็นนักทำสงครามการเมือง
และบางทีเป็นพวกที่มีความกระตือรือร้นมากในการให้การสนับสนุนการเมืองขนาดเล็กต่างๆ(micropolitics)
เกี่ยวกับความปรารถนาที่จะเร่งการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคนให้เกิดขึ้นโดยการปลดปล่อยความปรารถนาออกมา
ผลที่ตามมาจากเหตุนี้
พวกเขาได้คาดการณ์ถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับแบบของโพสท์โมเดิร์นใหม่อันหนึ่งของการดำรงอยู่
ที่ที่ปัจเจกได้เอาชนะรูปแบบต่างๆของโมเดิร์นที่มากดบีบเกี่ยวกับเรื่องของเอกลักษณ์
และภาวะหยุดนิ่ง
ที่จะกลายไปเป็นผู้ที่ร่อนเร่ไปตามความปรารถนาในกระบวนการต่อเนื่องเกี่ยวกับความเหมาะสมและการแปรสภาพ
Deleuze เป็นศาสตราจารย์ทางด้านปรัชญา ผู้ซึ่งในช่วงปีทศวรรษที่ 1950s และ
1960s ได้ให้ความสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดของ Spinoza, Hume, Kant, Nietzsche,
Bergson, Proust และคนอื่นๆ. ส่วน Guattari เป็นนักจิตวิเคราะห์แนวปฏิบัติ
ซึ่งนับแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950s ได้ทำงานที่คลีนิคการทดลองทางด้านจิตเวชศาสตร์, La
Borde. เขาได้รับการฝึกฝนทางด้านจิตวิเคราะห์แนว Lacanian,
เป็นคนที่มีความกระตือรือร้นทางการเมืองนับจากช่วงต้นๆ
และได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่างๆเดือนพฤษภาคม 1968.
เขาได้ร่วมงานกับนักทฤษฎีชาวอิตาเลี่ยน Antonio Negri (Guattari and Negri 1990)
และได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวพันกับการเคลื่อนไหวเพื่อปกครองตนเอง
ซึ่งพยายามให้ได้มาซึ่งขบวนการปฏิวัติที่เป็นอิสระภายนอกโครงสร้างต่างๆขององค์กรพรรคการเมืองทั้งหลาย
Deleuze และ Guattari ทั้งสองประกอบอาชีพต่างกัน
และได้มารวมกันเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1969 เมื่อพวกเขาเริ่มงาน Anti-Oedipus.
อันนี้ได้รับการตามมาด้วย Kafka: Toward a Minor Literature(1986; orig. 1975), A
Thousand Plateaus (1987; orig. 1980),
และนอกจากนี้ยังมีผลงานต่างๆที่ต่างคนต่างทำอีกเป็นจำนวนมาก
มีความสนใจมากมายที่มีความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันระหว่างผลงานของพวกเขากับ
Foucault. ที่เหมือนกันกับ Foucault ก็คือ Deleuze ได้รับการฝึกฝนมาทางด้านปรัชญา
และ Guattari ได้ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชศาสตร์
และได้มีความสนใจในความรู้ทางด้านการแพทย์ในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคม.
Deleuze และ Guattari
ได้ดำเนินรอยตามวิถีทางหรือแนวโน้มทั่วๆไปเกี่ยวกับการวิจารณ์ของ Foucault
เกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่(modernity). คล้ายๆกับ Foucault,
ความใส่ใจที่เป็นแกนกลางสำคัญของพวกเขาก็คือ เรื่องของความเป็นสมัยใหม่
ในฐานะที่เป็นขั้นตอนประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการครอบงำ
ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการแพร่ขยายของวาทกรรมเกี่ยวกับการทำให้เป็นปกติ(normalizing
discourse)
และสถาบันต่างๆที่แพร่หลายไปทั่วในทุกๆด้านเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของสังคมและในชีวิตประจำวัน
แต่อย่างไรก็ตาม
มุมมองทางทัศนียวิทยาแบบภาพกว้างของพวกเขาต่อความเป็นสมัยใหม่ค่อนข้างจะแตกต่างกัน.
สิ่งที่เด่นชัดมากที่สุดก็คือ ในขณะที่ Foucault
มีแนวโน้มที่จะวิพากษ์ในลักษณะรวมๆทั้งหมดเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่, Deleuze และ
Guattari
กลับค้นหาเพื่อที่จะสร้างทฤษฎีและแยกให้เห็นแง่มุมหรือด้านที่เป็นบวกและมีลักษณะปลดปล่อยของมัน
การถอดระหัสเกี่ยวกับการไหลเลื่อนของแรงขับทางเพศ(libidinal)ที่นำไปสู่พลวัตรต่างๆของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม(the
decoding of libidinal flows initiated to the dynamics of the capitalist
economy).
ไม่เหมือนกันกับ Foucault, ผลงานของ Deleuze และ Guattari
เป็นงานที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความรู้และเรื่องของเหตุผลไม่มากนัก กล่าวคือ
เขาทั้งสองวิจารณ์เรื่องเหล่านี้น้อยกว่าเรื่องของสังคมทุนนิยม; ผลที่ตามมา
การวิเคราะห์ต่างของพวกเขาได้ให้ความไว้วางใจและความเชื่อมั่นต่อปริมณฑลต่างๆเกี่ยวกับขนบจารีตแบบมาร์กซิสท์มากกว่างานของ
Foucault. แต่อย่างไรก็ตาม ที่เหมือนๆกันกับ Foucault คือ
พวกเขาไม่ได้แสดงตัวหรือถือว่าพวกเขาเป็นมาร์กซิสท์
และปฏิเสธระเบียบวิธีในหลักวิภาษวิธีสำหรับตรรกะแบบโพสท์โมเดิร์นเกี่ยวกับความแตกต่าง,
ทัศนียวิทยาแบบภาพกว้าง, และการแตกออกเป็นชิ้นๆ. ขณะเดียวกัน
ทั้งสามได้มองภาพระยะใกล้ข้างหน้าและเห็นถึงความสำคัญของโครงสร้างขนาดเล็กที่สร้างเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำขึ้นมา.
Deleuze และ Guattari
ค่อนข้างกล่าวออกมาอย่างชัดเจนถึงความสำคัญของโครงสร้างขนาดใหญ่ด้วย
และได้พัฒนางานวิจารณ์ที่ลงลึกไปในรายละเอียดเกี่ยวกับรัฐ
ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่การเน้นของ Foucault
เจาะจงลงไปที่เทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องระเบียบวินัยของความเป็นสมัยใหม่
และพุ่งเป้าไปที่ร่างกายที่ตกอยู่ภายใต้ระบบกฎเกณฑ์ของอำนาจ/ความรู้(power/knowledge).
Deleuze และ Guattari
กลับเพ่งความสนใจไปที่การทำให้เป็นอาณานิคมเกี่ยวกับความปรารถนาขึ้นมา(the
colonization of desire) โดยวาทกรรมและสถาบันสมัยใหม่หลายหลาก. ขณะเดียวกัน
ความปรารถนาเป็นแนวเรื่องรองอันหนึ่งในวงศ์วานวิทยาหลังๆของ Foucault
เกี่ยวกับอัตบุคคล(subject), แต่สำหรับ Deleuze และ Guattari
มันเป็นสิ่งสำคัญแรกสุดเลยทีเดียว
ผลลัพธ์ที่ตามมา วิธีการจิตวิเคราะห์,
แนวความคิดเกี่ยวกับการยับยั้งชั่งใจ, การพัวพันอยู่กับ Freudo-Marxism,
และการวิเคราะห์เกี่ยวกับครอบครัวและลัทธิฟาสซิสม์จึงแสดงบทบาทสำคัญยิ่งในงานของ
Deleuze และ Guattari ยิ่งกว่างานของ Foucault,
แม้ว่าการวิจารณ์ของพวกเขาเกี่ยวกับจิตวิเคราะห์จะสร้างขึ้นมาบนการวิจารณ์ของ
Foucault เกี่ยวกับ Freud, จิตเวชศาสตร์, และวิทยาศาสตร์มนุษย์ก็ตาม
ในทางที่แย้งกันกับ Foucault ซึ่งเน้นเรื่องธรรมชาติการสร้างอำนาจ
และปฏิเสธสมมุติฐานเกี่ยวกับการระงับ-ปราบปราม, Deleuze และ Guattari
พร้อมที่จะพูดถึงเรื่องการระงับ-ปราบปรามเกี่ยวกับความปรารถนาอย่างเต็มที่
และพวกเขาได้ทำเช่นนั้น,
เพราะพวกเขาได้สร้างแนวคิดที่มีสาระสำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับความปรารถนาขึ้นมา.
นอกจากนี้ เจตนาและความตั้งใจของ Deleuze และ Guattari
ที่ให้การสนับสนุนการให้เสรีภาพทางด้านร่างกายและความปรารถนา
ยืนหยัดอยู่ในความขัดแย้งที่แหลมคมกับความเห็นพ้องหรือการเข้าข้างของ Foucault
ที่มีต่อโครงการ"เกรโค-โรมัน" ในเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมตัวตน(Foucault's
sympathies to the Greco-Roman project of mastering the self).
อย่างไรก็ตาม
นักทฤษฎีทั้งสามคนนี้พยายามที่จะกระจายชนชั้นกลางออกจากการเป็นศูนย์กลาง
และทำการชำระสะสางเรื่องอัตบุคคลของมนุษย์(humanist subject). Foucault
ติดตามเรื่องราวดังกล่าวโดยผ่านวิธีการโบราณคดีและวงศ์วานวิทยาเชิงวิพกาษ์(a
critical archaeology and
genealogy)ที่ได้ลดทอนอัตบุคคลลงมาสู่การเป็นผลของวาทกรรมและปฏิบัติการในเรื่องของวินัย,
ขณะที่ Deleuze และ Guattari ได้ติดตามเรื่องของการทำลายล้างในลักษณะ schizophrenic
(เกี่ยวกับจิตเภท)ของ ego และ super-ego โดยเห็นด้วยกับจิตไร้สำนึกที่เป็นพลวัตร
แม้ว่าต่อมาภายหลัง Foucault จะปรับทัศนะต่างๆของเขาในเรื่องของอัตบุคคล
แต่นักทฤษฎีทั้งสามคนนี้ก็ปฏิเสธความคิดโมเดิร์นนิสท์เกี่ยวกับอัตบุคคลที่เป็นแบบเดียวกัน,
ความมีเหตุมีผล, และการแสดงออก
และพยายามที่จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ของการปรากฏตัวขึ้นมาของแบบฉบับใหม่อันหนึ่งของอัตบุคคลที่กระจายออกจากศูนย์กลาง(decetered
subjects),
และได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวเกี่ยวกับเอกลักษณ์ต่างๆที่เป็นแบบเดียวกันและการกำหนดตายตัว,
และมีอิสระที่จะกระจายไป พร้อมทั้งมีลักษณะหลากหลาย,
ที่ได้รับการก่อตัวขึ้นมาอีกครั้งในฐานะที่เป็นแบบฉบับใหม่อันหนึ่งความเป็นอัตบุคคลและร่างกายต่างๆ(new
types of subjectivities and bodies).
นักเขียนทั้งสามคนได้แสดงให้เห็นการนับถือกันอย่างสูงสำหรับผลงานต่างๆของแต่ละคน.
ในหนังสือของเขาเรื่อง Foucault (1988; orig. 1986 p.14), Deleuze ต้อนรับทักทาย
Foucault ในฐานะนักคิดใหม่ในระดับถอนรากถอนโคนคนหนึ่ง
ซึ่งผลงานของเขาเป็นตัวแทนของก้าวย่างที่แจ่มชัดมากที่สุด
กระนั้นก็ให้การยอมรับในปฏิบัติการทางทฤษฎีเกี่ยวกับความหลากหลายต่างๆ.
สำหรับในส่วนของ Foucault เอง(1977; p.213) อ้างว่า ผลงานของ Deleuze และ Guattari
มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับเรื่องอำนาจ
และได้เขียนบทนำที่ยกย่องสรรเสริญผลงานเรื่อง Anti-Oedipus.
ในงานวิจารณ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานของ Deleuze ใน "Theatrum
Philosophicum" (1977: pp. 165-96), Foucault
ยกย่องเขาสำหรับงานเขียนที่วิพากษ์วิจารณ์ปริมณฑลต่างๆทางปรัชญาตะวันตก
และสรรเสริญในความรู้ที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์. และที่
Foucault แสดงความถ่อมตัวมากครั้งหนึ่ง
คือการเอ่ยคำพูดออกมาในเชิงดูหมิ่นฐานะตำแหน่งหรือที่ทางของตัวเขาเองในประวัติศาสตร์
ดังเช่นที่เขาเคยกล่าวว่า (1977; p.165) "บางทีสักวันหนึ่ง,
ศตวรรษนี้จะถูกรู้จักในฐานะที่เป็นวันเวลาของแนวคิดแบบ Deleuzian"
ในการสนทนากันเรื่อง "Intellectuals and Power" (Foucault 1977:
pp.205-17), สุ้มเสียงของ Foucault และ Deleuze
ได้ผสมผสานคลุกเคล้ากันอย่างอิสระในโครงการที่มีส่วนร่วมกันอันหนึ่งเกี่ยวกับการสร้างนิยามความหมายใหม่ขึ้นมาทางทฤษฎี
ซึ่งมักจะปฏิบัติกันอยู่แล้วเสมอ ในส่วนตัวของแต่ละคน
Foucault
and the Critique of Modernity
ฟูโกและการวิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่
Deleuze and Guattari: Schizos, Nomads,
Rhizomes
Baudrillard
en route to Postmodernity
Baudrillard
ในเส้นทางสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่
Lyotard
and Postmodern Gaming
Lyotard
และการเล่นเกมโพสท์โมเดิร์น