ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

แนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่

Postmodern theory

In Search of the Postmodern
ในการค้นหาเกี่ยวกับ โพสท์โมเดิร์น

ในสองทศวรรษที่ผ่านมา การถกเถียงกันเกี่ยวกับโพสท์โมเดิร์นได้มีอิทธิพลต่อฉากทางด้านศิลปวัฒนธรรมและวงวิชาการในหลายสาขาทั่วโลก.

ในด้านทฤษฎีสุนทรียศาสตร์และวัฒนธรรม การโต้เถียงกันปรากฏตัวขึ้นมาท่ามกลางศิลปะลัทธิโมเดิร์น ไม่ว่ามันศิลปะในยุคโมเดิร์นจะยังคงดำเนินต่อไป หรือยังไม่ตายก็ตาม แต่ศิลปะแนวโพสท์โมเดิร์นกำลังไล่หลังตามมาติดๆ. ในทางปรัชญา ข้อถกเถียงกันต่างๆได้ปะทุขึ้นมาในความสนใจ ไม่ว่าขนบจารีตของปรัชญาสมัยใหม่จะสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่หลายต่อหลายคนเริ่มให้การยกย่องปรัชญาโพสท์โมเดิร์นที่ไปเชื่อมโยงกับ เกี่ยวเนื่องกันกับงานของ Nietzche, Heidegger, Derrida, Rorty, Lyotard, และคนอื่นๆ.

บรรดาผู้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่โพสท์โมเดิร์น ได้วิพากษ์วัฒนธรรม, ทฤษฎี, และการเมืองแนวขนบจารีตยอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันพวกที่ให้การปกป้องเกี่ยวกับขนบประเพณีแบบโมเดิร์นก็ตอบโต้ด้วยการเมินเฉยหรือทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ต่อพวกที่ท้าทายใหม่ๆ และมีการโจมตีพวกดังกล่าวกลับไป นอกจากนี้บางคนก็มีปฏิกริยาตอบโต้ด้วยการพยายามที่จะเรียนรู้เรื่องราวของโพส์ทโมเดิร์นด้วยความยากลำบาก และแย่งชิงวาทกรรมใหม่ๆและฐานะตำแหน่งต่างๆเหล่านี้เอาไว้

บรรดานักวิจารณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่โพสท์โมเดิร์นหรือหลังสมัยใหม่ ให้เหตุผลว่า มันเป็นเพียงแฟชั่นความนิยมเพียงชั่วครั้งชั่วคราวที่จะผ่านเลยไป(Foucault 1986/7; Guattari 1986), และบางคนก็กล่าวว่า มันเป็นนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ดูเรียบร้อยภายนอกอันหนึ่งของปัญญาชนทั้งหลาย ในการแสวงหาเกี่ยวกับวาทกรรมใหม่และต้นตอหรือแหล่งที่มาของทุนทางวัฒนธรรม(Britton 1988), หรือแม้แต่นักอุดมคติแนวอนุรักษ์นิยมอีกคน ก็วิจารณ์ว่าเป็นความพยายามที่จะลดทอนคุณค่าทฤษฎีโมเดิร์นและค่านิยมต่างๆเกี่ยวกับการปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระลงมา(Habermas 1981 and 1987a). แต่การปรากฎตัวขึ้นมาของวาทกรรมต่างๆของโพสท์โมเดิร์น และสิ่งที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจเหล่านี้ได้หยิบยกประเด็นปัญหาต่างๆขึ้นมา ซึ่งแสดงถึงการต่อต้านและปฏิเสธที่จะรวมเข้าไปอยู่กับกระบวนทัศน์ทั้งหลายซึ่งเป็นที่ยอมรับกันแล้วอย่างละมุนละม่อม

ในทัศนะที่กว้างขวางเกี่ยวกับข้อโต้แย้งในเรื่องของโพสท์โมเดิร์น เราเสนอที่จะสร้างคำอธิบายและแยกแยะความแตกต่างระหว่างการแสดงออกมาอย่างชัดเจนในสิ่งที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น กับ การที่จะพยายามชี้ให้เห็นถึงฐานะตำแหน่งที่เป็นแกนหลักสำคัญของมัน เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และมองหาข้อจำกัดต่างๆที่มีอยู่. กระนั้นก็ตาม ดังที่เราจะได้เห็นว่า มันไม่มีทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นที่เป็นหน่วยเดียวหรือเอกภาพ หรือแม้แต่สภาพการณ์ใดๆที่เชื่อมโยงสอดคล้องต้องกันที่มีลักษณะรวมกันเป็นเนื้อเดียวกัน

ตรงกันข้าม ทฤษฎีหนึ่งทฤษฎีใดอาจจะถูกโจมตีโดยความหลากหลายแตกต่างระหว่างทฤษฎี ซึ่งบ่อยครั้ง รวมเข้าด้วยกันเป็นก้อนในฐานะที่เป็นทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น และทฤษฎีพหุนิยม - ซึ่งก็ขัดแย้งกันอยู่บ่อยๆ - เกี่ยวกับสภาพการณ์ของโพสท์โมเดิร์น . ทฤษฎีหนึ่งทฤษฎีใดยังอาจถูกโจมตีโดยความคิดที่ไม่แข็งแรงมากพอ หรือยังอยู่ภายใต้การสร้างให้เป็นทฤษฎีขึ้นมาได้ด้วยเกี่ยวกับ"โพสท์โมเดิร์น" ในทฤษฎีต่างๆซึ่งรับเอามา หรือถูกแสดงตัวหรืออธิบายในเทอมดังกล่าว

เพื่อความกระจ่างชัดเกี่ยวกับคำซึ่งเป็นกุญแจสำคัญบางคำในครอบครัวของแนวความคิดเกี่ยวกับโพสท์โมเดิร์น มันจะเป็นประโยชน์มากที่จะจำแนกให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างวาทกรรมต่างๆของโมเดิร์นและโพสท์โมเดิร์นออกจากกัน(see Featherston 1988). ซึ่งในบทนี้ ท่านจะพบกับเนื้อหาดังกล่าว

สำหรับการเริ่มต้น เราอาจต้องจำแนกความแตกต่างระหว่าง"ความเป็นสมัยใหม่"(modernity)ที่ได้รับการทำให้เป็นแนวคิดขึ้นมาในยุคโมเดิร์น กับ "ความเป็นหลังสมัยใหม่"(postmodernity)ในฐานะที่เป็นศัพท์ใหม่คำหนึ่ง ซึ่งได้มาอธิบายถึงยุคสมัยที่ตามมาของความเป็นสมัยใหม่(modernity)ที่พูดถึง. มันมีวาทกรรมมากมายเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่ ซึ่งต่อมาภายหลังมันมีคุณสมบัติของความเป็นหลังสมัยใหม่ และศัพท์คำดังกล่าวยังเป็นการพูดถึงความหลากหลายในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ, การเมือง, สังคม, และวัฒนธรรมด้วย

ความเป็นสมัยใหม่(modernity) ดังที่ถูกทำให้เป็นทฤษฎีขึ้นมาโดย Marx, Weber, และคนอื่นๆ, เป็นศัพท์ที่เกี่ยวกับยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ซึ่งอ้างอิงถึงยุคสมัยที่ต่อมาจาก"ยุคกลาง"(Middle Ages) หรือลัทธิศักดินา(feudalism). สำหรับบางคน ความเป็นสมัยใหม่ถูกทำให้ตรงข้ามกับสังคมตามจารีตประเพณีเดิมๆ และถูกสร้างอัตลักษณ์ของตัวมันขึ้นมาโดยสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมใหม่, ความแปลก, และความเป็นพลวัตร(Berman 1982).

วาทกรรมต่างๆในทางทฤษฎีของความเป็นสมัยใหม่นับจาก Descartes จนมาถึง the Enlightenment (ยุคสว่างหรือยุคแห่งพุทธิปัญญา) และลูกหลานของมันที่ให้การสนับสนุนเรื่องราวของเหตุผลนั้น ต่างถือว่า"เหตุผล"เป็นต้นตอของ"ความก้าวหน้า"ในด้านความรู้และความเจริญของสังคม เช่นเดียวกับฐานะตำแหน่งที่เป็นสิทธิพิเศษของความจริง(truth) และรากฐานของความรู้ที่เป็นระบบ

"เหตุผล"ได้รับการเข้าใจว่า ตัวมันเองมีความสามารถที่จะค้นพบบรรทัดฐานทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติอย่างเพียงพอ ซึ่งระบบคิดและการกระทำสามารถที่จะได้รับการสร้างขึ้นมา และสังคมสามารถได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่ได้เช่นกัน. โครงการยุคสว่างหรือยุคแห่งพุทธิปัญญานี้(Enlightenment project)ยังเป็นสิ่งที่นำไปปฏิบัติและมีอิทธิพลในอเมริกา, ฝรั่งเศส, และประเทศที่มีการปฏิวัติประชาธิปไตยอื่นๆด้วย ซึ่งพยายามที่จะล้มล้างโลกแห่งศักดินาลง และสร้างระเบียบสังคมที่ยุติธรรมและความเสมอภาคขึ้นมา ที่จะทำให้เหตุผลและความก้าวหน้าของสังคมเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา (Toulmin 1990).

ความเป็นสมัยใหม่ในทางสุนทรียะ ปรากฏตัวขึ้นมาในความเคลื่อนไหวของพวกขบวนการทางศิลปะแนวหน้าของบรรดาโมเดิร์นนิสท์(the new avant-garde modernist movements) และบรรดาวัฒนธรรมรองต่างๆที่ไม่ยึดถือตามขนบจารีต(behemian subcultures) ซึ่งกบฎต่อแง่มุมที่แปลกแยกของความเป็นอุตสาหกรรมและความเป็นเหตุเป็นผล ขณะเดียวกันก็แสวงหาการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและค้นหาความสามารถของตนเองในเชิงสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ในทางศิลป[to find creative self-realization in art]

ความเป็นสมัยใหม่ได้เข้ามาสู่ชีวิตประจำวันโดยผ่านการโปรยปรายของศิลปสมัยใหม่ ผลผลิตต่างๆของสังคมบริโภค เทคโนโลยี และลักษณะหรือวิธีการเกี่ยวกับการขนส่งและการสื่อสาร. พลวัตรต่างๆและความเป็นสมัยใหม่ได้สร้างโลกอุตสาหกรรมและอาณานิคมใหม่ขึ้นมา ซึ่งสามารถจะได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็น"การทำให้เป็นสมัยใหม่"(modernization) [สำหรับศัพท์คำว่า modernization เป็นศัพท์ที่แสดงถึงขบวนการเหล่านั้นของ การทำให้เป็นปัจเจก, การทำให้เป็นเรื่องทางโลก, การทำให้เป็นอุตสาหกรรม, ความแตกต่างทางวัฒนธรรม, การทำให้เป็นสินค้า, การทำให้มีความเป็นเมือง, การทำให้เป็นระบบราชการ, และการทำให้เป็นเหตุผล ซึ่งรวมเข้าด้วยกันได้ก่อให้เกิดโลกสมัยใหม่ หรือ modern world ขึ้นมา]

กระนั้นก็ตาม การสร้างความเป็นสมัยใหม่ขึ้นมา ได้ผลิตความทุกข์ยากและความเจ็บปวดที่ไม่ได้มีการเปิดเผยหรือบอกกล่าวล่วงหน้าเอาไว้เกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของมัน ซึ่งไล่เลียงได้นับจาก ชาวไร่, ชาวนา, กรรมกร, และช่างฝีมือทั้งหลายที่ถูกกดขี่โดยการทำให้เป็นอุตสาหกรรมของนายทุน จนกระทั่งถึงการกีดกันผู้หญิงออกไปจากปริมณฑลสาธารณะ และไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกี่ยวกับการทำให้เป็นอาณานิคมของนักจักรวรรดิ์นิยมทั้งหลาย

ความเป็นสมัยใหม่ยังได้สร้างสถาบันทั้งหลายที่เกี่ยวกับระเบียบวินัยขึ้นมา ปฏิบัติการต่างๆ และวาทกรรมหลายหลากที่ทำให้วิธีการต่างๆของมันในการครอบงำและบังคับควบคุมเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย. ด้วยเหตุนี้ ใน The `dialectic of Enlightenment' (หลักวิภาษวิธีของยุคสว่าง)(Horkheimer and Adorno 1972) จึงได้อธิบายถึงขบวนการอันหนึ่ง ซึ่ง"ความเป็นเหตุเป็นผล"ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะที่ตรงข้ามกันกับตัวมัน และคำทั่นสัญญาของความเป็นสมัยใหม่เกี่ยวกับการปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระ กลายเป็นหน้ากากของการกดขี่และการครอบงำ. กระนั้นก็ตาม บรรดาผู้ปกป้องเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่((Habermas 1981, 1987a, and 1987b) อ้างว่า "มันมีศักยภาพที่ยังไม่บรรลุผล"(unfulfilled potential) และมีทรัพยากรต่างๆที่จะเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ และผลของการทำลายล้างเหล่านี้

แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นอ้างว่า ในสังคมร่วมสมัยที่มีความไฮเทคทางด้านสื่อ, กระบวนการต่างๆที่เร่งด่วนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและการแปรผัน สิ่งเหล่านี้กำลังผลิตสังคมโพสท์โมเดิร์นใหม่อันหนึ่งขึ้นมา และผู้ที่ให้การสนับสนุนมันทั้งหลายอ้างว่า ยุคของความเป็นโพสท์โมเดิร์นได้ก่อให้เกิดภาวะทางประวัติศาสตร์ที่แปลกใหม่อันหนึ่ง และการก่อตัวขึ้นมาของสังคมวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนเดิม ซึ่งต้องการแนวความคิดและทฤษฎีใหม่ๆมารองรับ

บรรดานักทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นโพสท์โมเดิร์น (Baudrillard, Lyotard, Harvey, ฯลฯ) ให้เหตุผลว่า เทคโนโลยีต่างๆอย่างเช่น คอมพิวเตอร์และสื่อ, รูปแบบใหม่ของความรู้, และการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคมเศรษฐกิจต่างๆกำลังสร้างรูปแบบทางสังคมหลังสมัยใหม่อันหนึ่งขึ้นมา. Baudrillard และ lyotard ได้ตีความพัฒนาการต่างๆเหล่านี้ในเทอมของแบบฉบับที่แปลกใหม่ของข้อมูล, ความรู้, และเทคโนโลยี, ขณะที่บรรดานักทฤษฎีนีโอ-มาร์กซิสท์ทั้งหลาย อย่าง Jameson และ Harvey ได้ตีความ โพสท์โมเดิร์น ในเทอมต่างๆของพัฒนาการเกี่ยวกับขั้นตอนที่สูงกว่าของลัทธิทุนนิยม(higher stage of capitalism) ซึ่งมันได้รับการทำเครื่องหมายขึ้นมาโดยการแทรกซึมของทุนในระดับที่สูงขึ้น และการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันข้ามโลก

กระบวนการต่างๆเหล่านี้กำลังสร้างการแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นด้วย รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในประสบการณ์เกี่ยวกับพื้นที่ว่างและเวลา, และลักษณะใหม่ๆของประสบการณ์, ความเป็นตัวตน, และวัฒนธรรม. เงื่อนไขต่างๆเหล่านี้ได้ให้พื้นฐานสังคมเศรษฐกิจและรากฐานทางวัฒนธรรมสำหรับทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น และการวิเคราะห์ของมันได้ให้มุมมองและทัศนียภาพต่างๆจากสิ่งซึ่งทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น สามารถอ้างได้ว่าอยู่บนแถวหน้าสุดของพัฒนาการร่วมสมัย

นอกจากความแตกต่างกันระหว่าง"ความเป็นสมัยใหม่"และ"ความเป็นหลังสมัยใหม่"ในปริมณฑลของทฤษฎีทางสังคมแล้ว, วาทกรรมเกี่ยวกับหลังสมัยใหม่หรือโพสท์โมเดิร์น ยังแสดงบทบาทสำคัญในอาณาเขตของสุนทรียศาสตร์และทฤษฎีทางวัฒนธรรมด้วย. ในที่นี้ ข้อถกเถียงได้ไปเกี่ยวพันรายรอบความแตกต่างระหว่างลัทธิสมัยใหม่และลัทธิหลังสมัยใหม่ในศิลปกรรมต่างๆ

ภายใต้วาทกรรมนี้ "ลัทธิสมัยใหม่" อาจถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายถึงขบวนการทางศิลปะของยุคโมเดิร์น (ลัทธิ impressionism, l'art our l'art, expression, surrealism, และขบวนการแนวหน้าอื่นๆ หรือ avant-garde movements), ขณะที่"ลัทธิหลังสมัยใหม่"สามารถอธิบายถึงรูปแบบและปฏิบัติการต่างๆทางสุนทรีย์ที่หลากหลายซึ่งตามมาทีหลัง และแตกหักกับลัทธิสมัยใหม่. รูปแบบเหล่านี้รวมเอาสถาปัตยกรรมของ Robert Venturi และ Philip Johnson, การทดลองทางด้านดนตรีของ John Cage, ผลงานศิลปะของ Warhol และ Rauschenberg, นวนิยายต่างๆของ Pynchon และ Ballard, และงานภาพยนตร์อย่างเช่นเรื่อง Blade Runner หรือ Blue Velvet. ข้อถกเถียงกันเหล่านี้มีศูนย์กลางอยู่ที่ว่ามันใช่หรือไม่ใช่ข้อแตกต่างทางแนวคิดอันแหลมคมระหว่างลัทธิสมัยใหม่และลัทธิหลังสมัยใหม่ และลักษณะที่ดีและข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับขบวนการต่างๆเหล่านี้



วาทกรรมต่างๆเกี่ยวกับหลังสมัยใหม่ ยังปรากฎตัวในขอบเขตของทฤษฎีและการโฟกัสลงบนการวิจารณ์เกี่ยวกับทฤษฎีสมัยใหม่ และข้อถกเถียงกันต่างๆสำหรับความแตกร้าวของทฤษฎีหลังสมัยใหม่. ทฤษฎีสมัยใหม่ - ไล่ลำดับจากโครงการปรัชญาของ Descartes, ไปจนถึง the Enlightenment, จนกระทั่งถึงทฤษฎีทางสังคมของ Comte, Marx, Weber และคนอื่นๆ - ได้ถูกวิจารณ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาของมันเพื่อวางรากฐานอันหนึ่งเกี่ยวกับความรู้, การทำให้เป็นสากล และข้ออ้างแบบรวมทั้งหมด, ความหยิ่งผยองของมันต่อการค้นหาความจริงที่อยู่เหนือคำโต้แย้ง และลัทธิเหตุผลอันหลอกลวงและน่าสงสัยของมัน. โดยในทางที่แย้งกัน บรรดาผู้ปกป้องเกี่ยวกับทฤษฎีสมัยใหม่ ได้โจมตีลัทธิสัมพัทธนิยมหลังสมัยใหม่(postmodern relativism), ลัทธิความไร้เหตุผล(irrationalism), และสุญนิยม(nihilism)

ยิ่งไปกว่านั้น ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ยังวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนความจริง และความเชื่อสมัยใหม่ที่ว่าทฤษฎีเป็นกระจกเงาสะท้อนความจริง โดยแทนที่ฐานะสภาพทางทัศนียวิทยาและลักษณะสัมพัทธ์ที่ว่า ทฤษฎีต่างๆ อย่างเก่งที่สุด ก็เพียงให้ทัศนียภาพเพียงบางส่วนของวัตถุต่างๆ และการเป็นตัวแทนของการรับรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับโลกนั้นเป็นเพียงสื่อกลางทางประวัติศาสตร์และทางภาษาเท่านั้น

ทฤษฎีหลังสมัยใหม่หรือโพสท์โมเดิร์นบางทฤษฎี ปฏิเสธอย่างสอดคล้องต้องกันเกี่ยวกับทัศนียภาพขนาดใหญ่(macroperspective)ทั้งหมดในเรื่องของสังคมและประวัติศาสตร์ ซึ่งได้รับการชื่นชอบโดยทฤษฎีสมัยใหม่หรือโมเดิร์น ทฤษฎีหลังสมัยใหม่เห็นด้วยและให้การสนับสนุนเกี่ยวกับทฤษฎีเล็กๆและการเมืองขนาดเล็ก(microthery and micropolitics)(Lyotard 1984a)

ทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นยังปฏิเสธข้อสันนิษฐานต่างๆของทฤษฎีโมเดิร์นเกี่ยวกับความสอดคล้องกันทางสังคม และความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเหตุเป็นผล. ทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นสนับสนุนความหลากหลาย, ลักษณะพหุวิสัย, การแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, และลักษณะที่ไม่แน่นอนคลุมเครือ

นอกจากนี้ ทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นยังละทิ้งเรื่องของเหตุผลและอัตบุคคลที่เป็นหน่วยเดียว(unified subject)ซึ่งได้รับการยืนยันโดยทฤษฎีโมเดิร์นเป็นจำนวนมาก ด้วยการสนับสนุนการกระจายออกจากศูนย์กลางทางสังคมและทางภาษา และอัตบุคคลที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย(fragmented subject)

ด้วยเหตุนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเกี่ยวกับแนวคิด ในที่นี้จึงอยากจะใช้ศัพท์คำว่า"ความเป็นหลังสมัยใหม่"( postmodernity)เพื่ออธิบายถึงยุคสมัยที่ตามมาหลังจาก"ความเป็นสมัยใหม่"(modernity), และใช้คำว่า"ลัทธิหลังสมัยใหม่"(postmodernism)เพื่ออรรถาธิบายถึงขบวนการต่างๆและสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นในขอบเขตทางวัฒนธรรม ที่สามารถได้รับการจำแนกแยกแยะจากขบวนการต่างๆของสมัยใหม่(modernist), รวมไปถึงตำรับตำราทั้งหลาย และปฏิบัติการต่างๆ

เรายังแยกความแตกต่างระหว่าง"ทฤษฎีสมัยใหม่"(modern theory) กับ "ทฤษฎีหลังสมัยใหม่"(postmodern theory)ด้วย, เช่นเดียวกับระหว่าง"การเมืองสมัยใหม่"(modern politics)ซึ่งได้ถูกสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาโดยพรรคการเมือง, รัฐสภา, หรือการเมืองแบบสหภาพแรงงาน(trade union politics - รูปแบบองค์กรทางการเมืองที่รวมตัวกันโดยคนงานเพื่อต่อรองกับนายจ้าง) ในทางที่ตรงข้ามกันกับ"การเมืองหลังสมัยใหม่"(postmodern politics)ที่เชื่อมสัมพันธ์กับการเมืองขนาดเล็กที่มีฐานของท้องถิ่น(locally base micropolitics) ซึ่งท้าทายต่อขบวนการอันกว้างขวางของวาทกรรมต่างๆ และรูปแบบที่ถูกทำให้เป็นสถาบันต่างๆขึ้นมาของอำนาจ

เพื่อให้ความกระจ่างและความสว่างต่อความสับสนและวาทกรรมหลากรูปแตกต่างกันของโพสท์โมเดิร์น อันดับแรก เราจะนำเสนอวิธีการทางโบราณคดีหรือการขุดค้นเกี่ยวกับคำศัพท์ อธิบายอย่างละเอียดถึงประวัติศาสตร์ของมัน การนำมาใช้ในช่วงแรกๆ และความหมายที่ขัดแย้งกันต่างๆ. ต่อจากนั้น เราจะไปดูกันถึงพัฒนาการเกี่ยวกับทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นร่วมสมัยในบริบทของช่วงหลังทศวรรษที่ 1960s ในประเทศฝรั่งเศส ที่ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับเงื่อนไขของโพสท์โมเดิร์นใหม่อันหนึ่งกลายมาเป็นแนวทางหรือแก่นแกนสำคัญในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970s. และในหัวข้อ 1.3 เราจะเสก็ตภาพให้เห็นถึงข้อสงสัยและการซักไซ้ไล่เรียงของเราเกี่ยวกับทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น และทัศนียภาพที่จะช่วยนำทางข้อซักถามของเราไปจนตลอดของหนังสือเล่มนี้

Foucault and the Critique of Modernity
ฟูโกและการวิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่

Deleuze and Guattari: Schizos, Nomads, Rhizomes

Baudrillard en route to Postmodernity
Baudrillard ในเส้นทางสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่

Lyotard and Postmodern Gaming
Lyotard และการเล่นเกมโพสท์โมเดิร์น

  • อ้างอิง : สมเกียรติ ตั้งนโม.2544. ตามรอยแนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่ : ทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

🍁 ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

🍁 สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

🍁 ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

🍁 พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

🍁 สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

🍁 กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

🍁 ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้

🍁 ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก

🍁 มัทนะพาธา
บทละครเรื่องมัทนะพาธาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรประกาศยกย่องให้เป็นหนังสือที่แต่งดีใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูด ที่มีตัวละครและฉากสอดคล้องกับวัฒนธรรมภารตะโบราณ

🍁 คู่มือพระสังฆาธิการ
ส่วนหนึ่งของหลักสูตรถวายความรู้ แด่พระสังฆาธิการ หมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ซึ่งพระสังฆาธิการจำเป็นจะต้องรับทราบ และถือปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทาง ในการบริหารการปกครองวัด

🍁 หุ่นยนต์
หุ่นยนต์มีความแตกต่างจากเครื่องจักรกลแบบอื่น ๆ ตรงที่มันสามารถเคลื่อนไหวโครงสร้างได้ หุ่นยนต์แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ตรงที่มันสามารถนำผลที่ได้จากการประมวลมา ปฏิบัติให้เกิดงานในทางกายภาพได้ขณะที่คอมพิวเตอร์ไม่มี

🍁 ข้อคิดจากนิทานไทย
นิทานเป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดมาแต่โบราณ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพาเด็กและเยาวชนไปสู่โลกกว้างของการเรียนรู้ชีวิตจริง

🐍 โปรดระวังงูฉก

ความดีงามในความเป็นมนุษย์เริ่มถดถอย
เมื่อเราใช้ความคิดมากขึ้นแต่ใช้ความรู้สึกน้อยลง

ความรักและมนุษยธรรมกลายเป็นเรื่องไร้สาระ
เมื่อความรู้มีไว้ใช้คุยข่ม
ความฉลาดปราดเปรื่องคือความได้เปรียบ

จากสังคมแห่งการแบ่งปัน
สู่สังคมความแห่งการแย่งชิง

ระบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ
ขยายอิทธิพลมาถึงหัวบันไดบ้าน

ความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำ
กินพื้นที่ชีวิตทุกภาคส่วน

ไม่มีช่องว่างให้โอดโอย.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 สะพายเป้ แบกกล้อง ท่องลาว
นอบน้อมที่จะเป็นผู้รับ ด้วยความรู้สึกดีๆ ในแง่ที่ว่าไทยกับลาวน่าจะเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันโดยสายเลือด ทั้งหลายทั้งปวงอาจเพียงเพื่อค้นหาแรงบรรดาลใจบางอย่าง อันจะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่จะมีชีวิตในแบบฉบับของเรา วิถีชีวิตที่เราโหยหา เพื่อที่จะได้ไม่ต้องคร่ำครวญถึงมันอีก ชั่วนิรันดร์ โดยไร้ซึ่งความหวัง และรอแค่ตายไป

🌿 พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ริมถนนสุขุมวิท ตรงจุดตัดเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่งกำลังจะเปิดให้บริการในระยะเวลาอันใกล้นี้ กับทางยกระดับถนนวงแหวนรอบนอกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรี การเผชิญหน้าครั้งสำคัญทางภูมิสถาปัตย์ ระหว่างศิลปกรรมศาสตร์กับสิ่งที่เรียกว่าความเจริญอย่างประนีประนอม

🌿 เมืองโบราณ
ถ้าจะต้องสร้างอนุสาวรีย์ยกย่องเชิดชูเกียรติใครสักคนก็คงเป็นท่านผู้สร้างเมืองโบราณแห่งนี้ ด้วยข้อมูลและเหตุผลทางความรู้สึกที่มาจากภายในแท้จริงล้วนๆ ของปัจเจกบุคคลธรรมดาสามัญยิ่งอันเป็นการส่วนตัว

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆