ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

แนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่
Postmodern theory

Baudrillard en route to Postmodernity
Baudrillard ในเส้นทางสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่

Jean Baudrillard ปรากฎตัวขึ้นมาในฐานะนักทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงแพร่กะจายออกไปอย่างกว้างขวาง เขาได้รับสถานคุรุหรือครูในโลกของคนที่ใช้ภาษาอังกฤษ และผลงานต่างๆของเขาได้รับการแปลออกสู่ภาษาต่างๆอย่างรวดเร็วทั้งในภาษา สแปนิช, อิตาเลี่ยน, เยอรมัน, และอื่นๆด้วย. บรรดาผู้ช่วยและผู้ติดตามของ Baudrillard ยกย่องเขาในฐานะผ้ายันต์ของโพสท์โมเดิร์นสากลผืนใหม่ ในฐานะคนที่เกรียวกราวไปทั่วผู้ซึ่งได้สร้างพลังให้กับฉากของโพสท์โมเดิร์นในเชิงทฤษฎี ในฐานะนักทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ของความเป็นหลังสมัยใหม่ที่ใหม่มากคนหนึ่ง

ยิ่งไปกว่านั้น ในทางตรงข้าม ขณะที่ Foucault และ Deleuze รวมทั้ง Guattari ไม่เคยรับเอาวาทกรรมเกี่ยวกับโพสท์โมเดิร์นมาใช้, Baudrillard กลับแสดงตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโพสท์โมเดิร์น และได้รับการสวมมงกุฎในฐานะที่เป็นพระหรือบาทหลวงของยุคใหม่ในท้ายที่สุด. นอกจากนี้ Baudrillard ได้พัฒนาทฤษฎีที่น่าประทับใจมากและค่อนข้างสุดขั้วเกี่ยวกับความเป็นหลังสมัยใหม่ และมีอิทธิพลอย่างสูงในทฤษฎีทางวัฒนธรรมและการสนทนาเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนร่วมสมัย, ศิลปะ, และสังคม.



เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้านสังคมวิทยา ณ มหาวิทยาลัย Nanterre นับจากทศวรรษ 1960s จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1987, Baudrillard ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ที่ปลุกเร้าขึ้นมาชุดหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องของวัตถุ, เครื่องหมาย, และระหัส ในสังคมบริโภคด้วยผลงานต่างๆของเขาในยุคต้นๆ. งานเขียนต่างๆเหล่านี้พยายามที่จะสังเคราะห์งานวิจารณ์แบบมาร์กเซียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมืองด้วย semiology (วิธีการทางเทคนิคซึ่งผู้คนสื่อสารโดยผ่านสัญลักษณ์และภาพต่างๆ) และเป็นส่วนหนึ่งของการพยายามอันมากมายที่จะฟื้นฟูทฤษฎีปฏิวัติขึ้นมาหลังจากช่วงเหตุการณ์ในทศวรรษที่ 1960s. นอกจากนั้นยังมีงานวิจารณ์ที่แหลมคมเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซ์ในเรื่อง The Mirror of Production (1975; orig. 1973) และได้เสนอทางเลือก, งานเกี่ยวกับโพสท์โมเดิร์นที่ถกเถียงกันได้, มุมมอง, ทัศนียภาพแบกว้างๆเกี่ยวกับสังคมร่วมสมัยในเรื่อง L'echange symbolique et la mort (1976). ในหนังสือต่างๆที่เป็นบทสนทนาอย่างกว้างขวางชุดหนึ่งและบทความต่างๆในทศวรรษที่ 1970s และ 1980s, Baudrillard ได้ยึดติดกับสมมุติฐานล่วงหน้าบางอย่างเกี่ยวกับทฤษฎีและการเมืองสมัยใหม่, ขณะเดียวกันก็ให้ทัศนียภาพและมุมมองต่างๆเกี่ยวกับโพสท์โมเดิร์น

Foucault and the Critique of Modernity
ฟูโกและการวิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่

Deleuze and Guattari: Schizos, Nomads, Rhizomes

Baudrillard en route to Postmodernity
Baudrillard ในเส้นทางสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่

Lyotard and Postmodern Gaming
Lyotard และการเล่นเกมโพสท์โมเดิร์น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย