สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(Constitutionalism and Thai Constitutions)
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การบัญญัติ การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับการปกครองของประเทศอื่นๆ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองของไทย
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย
บรรณานุกรม
รัฐธรรมนูญกับการปกครองของไทย
การยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นแนวทางในการปกครองในระบบการเมืองการปกครองไทย
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักการต่างๆ ในทางการเมืองการปกครอง อาทิเช่น ที่มาแห่งอำนาจอธิปไตย การแบ่งอำนาจอธิปไตย การกำหนดและการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจอธิปไตย องค์กรที่ทำหน้าที่ใช้อำนาจอธิปไตย และการได้มาซึ่งผู้ที่จะมาทำหน้าที่ในองค์กรเหล่านั้น
สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ก็ได้ยึดเอารัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศมาโดยตลอด กล่าวคือ องค์กรต่างๆ ที่ทำหน้าที่ในทางการเมืองการปกครอง ถูกจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เช่น รัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นสภาเดียวหรือสองสภา ก็ถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญ หรือรัฐธรรมนูญบางฉบับ กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประเทศไทยก็มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือแต่งตั้งวุฒิสภา รัฐธรรมนูญกำหนดให้จัดตั้งศาลพิเศษ เพื่อพิจารณาคดีพิเศษ เช่น ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยก็มีศาลพิเศษเหล่านี้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด บางครั้งรัฐธรรมนูญก็กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภาก็ลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีจากสภาผู้แทนราษฎร หรือถ้ารัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนด รัฐสภาก็อาจจะพิจารณาให้บุคคลที่เหมาะสมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ โดยไม่ขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้น
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ประเทศไทยยึดเอารัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีการปฏิวัติรัฐประหารในระบบการเมืองการปกครอง แต่คณะผู้ทำรัฐประหารเหล่านี้ก็ต้องตรารัฐธรรมนูญขึ้น เพื่อใช้ในการปกครองประเทศต่อไป ไม่เคยมีคณะปฏิวัติคณะไหนที่ปกครองประเทศโดยไม่ใช้รัฐธรรมนูญ
แนวความคิดการจัดการปกครองระบบรัฐธรรมนูญของไทย
ที่มาของรัฐธรรมนูญไทย
กระบวนการตรารัฐธรรมนูญของไทย
การยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นแนวทางในการปกครองในระบบการเมืองการปกครองไทย