วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
วิทยา ผิวงาม
ฉันทลักษณ์
โคลง
ฉันท์
กาพย์
กลอนสุภาพ
ร่าย
ประวัติการประพันธ์
การพัฒนาร้อยกรองไทยในปัจจุบัน
การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
บทอาขยาน
การพัฒนาร้อยกรองไทยในปัจจุบัน
1. ยุคแห่งการเริ่มต้น(พ.ศ.2470 2490)
ในช่วงนี้กวีได้รับอิทธิพลทางด้านแนวคิด และรูปแบบของร้อยกรองตะวันตก
ลงานร้อยกรองสั้นๆเริ่มปรากฏมากขึ้น
กวีที่สมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เริ่มสร้าง ผลงานแนวใหม่คือ
ครูเทพ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ในด้านรูปแบบมีทั้งฉัน โคลง กาพย์
กลอนที่น่าสนใจ ครูเทพ ได้ริเริ่มเอารูปแบบเพลงพื้นบ้านมาเขียร้อยกรองอย่างงดงาม
ในด้านเนื้อหาเป็นการวิพากษ์วิจารณ์สังคม เศรษฐกิจการเมือง ฯลฯ
วิสัยเด็กเปรียบได้กับไม้อ่อน ที่ดัดร้อนรนไฟนั้นไม้คร่ำ
ดัดเย็นได้ไฉนจักไม่ทำ ดัดด้วยน้ำรักกระด้างอ่อนดังใจ
เก็บไม้เรียวห่อไว้ตู้เหล็ก สำหรับเด็กเกกมะเหรกและเหลือขอ
ทารกอ่อนเยาว์วัยใช้ลูกยอ แล้วหุ้มห่อด้วยรักจักมีชัย
ในยุคสมัยเดียวกันนี้ นอกจากมี ครูเทพ แล้วยังมีกวีที่น่าสนใจอีก เช่น
.ม.ส. และ นายชิต บุรทัต ซึ่งกวีทั้งสองท่านนี้ยังเคร่งครัดฉันทลักษณ์
ามแบบโบราณอยู่
2. ยุคศิลปะเพื่อศิลปะเข้าสู่ศิลปะเพื่อชีวิต(พ.ศ.2490 2500)
หลังยุคสงครามมหาบูรพาบรรยากาศร้อยกรองไทยมีชีวิตชีวาขึ้นแนวคิดศิลปะเพื่อศิลปะ
เป็นแนวคิดเชิงเสรีนิยมจัดเป็นงานร้อยกรองเพื่อชีวิต โดยเฉพาะชีวิต
ของประชาชนผู้ทุกข์ยากขมขื่น กวีกลุ่มนี้ได้แก่ นายผี(อัศนี พลจันทร์)
เป็นผู้ปูเส้นทางและบุกเบิกทางด้วยผลงานที่มีคุณภาพ และมีอิทธิพลต่อกวียุคหลัง
นอกจาก นายผี งมีเปลื้อง วรรณศรี ทวีปวร , จิตร ภูมิศักดิ์ ฯลฯ เช่น
เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน
จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นพราว
ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
3. ยุคแห่งความเพ้อฝัน(พ.ศ. 2501 2506)
หลังจากการปฏิวัติของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อปี พ.ศ. 2501
นักเขียนส่วนใหญ่ถูกจับกุม
มีผลทำให้วรรณศิลป์เปลี่ยนแปลงไปสู่แนวเฟ้อฝันและสะท้อน สังคมด้วยวิธีนุ่มนวล
ไม่ก้าวร้าว งานร้อยกรองส่วนใหญ่มุ่งแสดงอารมณ์
ส่วนตัวเป็นกลอนรักตักพ้อต่อว่าระหว่างหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่
นักกลอนส่วนใหญ่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย เช่น
ประยอม ซองทอง , เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์,นภาลัย สุวรรณธาดา ฯลฯ เช่น
อย่านะอย่าหวั่นไหวใจห้ามขาด ใจตวาดแล้วใจไยผวา
ตาร้องไห้ใจก็ตามไปห้ามตา สมน้ำหน้าหัวใจร้องไห้เอง
4. ยุคแห่งการแสวงหา(พ.ศ. 2506 2510)
เมื่อพ้นสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ไปแล้ว การแสวงหารูปแบบ และความคิดใหม่ๆ
กิดขึ้นลักษณะร้อยกรองในช่วงนี้ แบ่งออกเป็นหลายแนวดังนี้
- กลุ่มสืบทอดแนวเพ้อฝันหรือแสดงอารมณ์ส่วนตัว เป็นเนื้อหาแนวรักๆใคร่ๆมีนักกลอนใหม่ๆเกิดขึ้น เช่น วาณิช จรุงกิจอนันท์ เนาวรัตน์ วงศ์ไพบูลย์ ฯลฯ
- กลุ่มสะท้อนชีวิตสังคมรุ่นใหม่ กลุ้มนี้ได้พัฒนาเนื้อหาสะท้อนสังคม
และแสดงความรู้สึกที่อึดอัด ต่อบรรยากาศทางการเมือง ได้แก่ สุรศักดิ์
ศรีประพันธ์ ธารี(อดุล จันทรศักดิ์) ฯลฯ เช่น
ฆาตกรนิรนามสงครามเถื่อน เพื่อนกับเพื่อนก็ยังฆ่ากันได้
ชนะละทิ้งคุณธรรมประจำใจ เพียงเพื่อใช้นามว่า วีรชน
กลุ่มปลดแอกฉันทลักษณ์
นักกลอนกลุ่มนี้จักได้ว่าเป็นผู้แหวกแนวฉันทลักษณ์ อังคาร กัลยาณพงศ์
จัดเป็นกวีที่ไม่ใส่ใจในรูปแบบ การเรียงร้อยถ้อยคำนั้นเป็นเลิศด้านความคิดล้ำลึก
คำที่สรรใช้ คม ขลัง ให้ความรู้สึกที่ศักดิ์สิทธิ์ สง่างามมีลีลาแปลกไปจากอื่นๆ
เช่น
วักทะเลเทใส่จาน รับประทานกับข้าวขาว
เอื้อมเก็บบางดวงดาว
ไว้คลุกเคล้าซาวเกลือกิน
ดูปูหอยเริงระบำ เต้นรำทำเพลงวังเวงสิ้น
กิ้งก่ากิ้งกือบิน ไปกินตะวันและจันทร์
5. ยุคศิลปะเพื่อมวลชน(14 ตุลาคม 2516 6 ตุลาคม 2519)
จากเหตุการณ์นองเลือด เมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ทำให้บรรยากาศทางการเมืองเปลี่ยนไป
นับจากเหตุการณ์มหาวิปโยคมักนักเขียนหลายคนได้บันทึกถึงเรื่องราวและสดุดีวีรชนที่เสียชีวิตอย่างมากมาย
ด้วยอารมณ์ที่สะเทือนใจ เช่น
ใบไม้มีรอยพรุนกระสุนศึก
ในน้ำลึกมีร่องโลหิตฉาน
เสียงลึกลับขับร้องฟ้องร้องพยาน
และเนิ่นนานนับแต่นั้นฉันสุดทน
6. ยุคพฤษภาทมิฬ(หลัง 4 20 พฤษภาคม 2535 - ปัจจุบัน)
บรรยากาศร้อยกรองไทย ในช่วงพฤษภาเลือดเกิดเหตุวิกฤตทางการเมือง เมื่อผู้นำรัฐบาล
พลเอกสุจิดา คราประยูร โดยขับไล่ ทหารลุยฆ่าประชาชน
พลังผู้ต่อต้านและเรียกร้องประชาธิปไตย บทร้อยกรองในช่วงนี้สะท้อนความเจ็บ
ปวดร้าวลึกผนึกด้วยหยาดเลือด และหยาดน้ำตาแผ่นดิน ดั่งตัวอย่าง เช่น
ออกจากบ้านตั้งนานไม่ถึงบ้าน มาล้มร่างกลางลานข้างถนน
แค่ยืนดูเขาก็สาดกราดปืนกล ต้องจำนนไปอย่างนี้อีกไม่นาน
เหลือวิญญาณออกจากบ้านไม่ถึงเหย้า เหลือแต่คำบอกเล่าถึงลูกหลาน
ว่าหลังเพ็ญวิสาข์ฆ่ากันบาน เจ้าของบ้านออกจากบ้านแล้วถูกยิง
คำสัมผัสคล้องจอง
หมายถึง พยางค์ที่คล้องจองด้วยเสียงของสระหรือเสียงของพยัญชนะ
หากคล้องจองด้วยเสียงสระเรียกว่า
สัมผัสสระ
หากคล้องจองด้วยเสียงพยัญชนะเรียกว่า สัมผัสอักษร
คำสัมผัสคล้องจอง
หมายถึง พยางค์ที่คล้องจองด้วยเสียงของสระหรือเสียงของพยัญชนะ
หากคล้องจองด้วยเสียงสระเรียกว่า
สัมผัสสระ
หากคล้องจองด้วยเสียงพยัญชนะเรียกว่า สัมผัสอักษร