วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
วิทยา ผิวงาม
ฉันทลักษณ์
โคลง
ฉันท์
กาพย์
กลอนสุภาพ
ร่าย
ประวัติการประพันธ์
การพัฒนาร้อยกรองไทยในปัจจุบัน
การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
บทอาขยาน
กลอนสุภาพ
กลอน คือลักษณะคำประพันธ์ ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ มีสัมผัสกัน
ตามลักษณะบัญญัติ เป็นชนิดๆ แต่ไม่มีบังคับ เอกโท และครุลหุ
กลอนแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ กลอนสุภาพ กลอนลำนำ และกลอนตลาด
กลอนสุภาพ คือกลอนที่ใช้ถ้อยคำ และทำนองเรียบๆ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
คือ
1. กลอน 6
2. กลอน 7
3. กลอน 8
4. กลอน 9
กลอนสุภาพ นับว่าเป็นกลอนหลัก เพราะเป็นหลัก ของบรรดากลอนทุกชนิด
ถ้าเข้าใจกลอนสุภาพ เป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้โดยง่าย
กลอนอื่นๆ ที่มีชื่อเรียกไปต่างๆ นั้น ล้วนแต่ยักเยื้อง แบบวิธี ไปจากกลอนสุภาพ
ซึ่งเป็นกลอนหลัก ทั้งสิ้น
กลอนลำนำ คือกลอนที่ใช้ขับร้อง หรือสวด ให้มีทำนองต่างๆ แบ่งออกเป็น
5 ชนิด คือ
1. กลอนบทละคร
2. กลอนสักวา
3. กลอนเสภา
4. กลอนดอกสร้อย
5. กลอนขับร้อง
กลอนตลาด คือกลอนผสม หรือกลอนคละ ไม่กำหนดคำตายตัว เหมือนกลอนสุภาพ
ในกลอนบทหนึ่ง อาจมีวรรคละ 7 คำบ้าง 8 คำบ้าง 9 คำบ้าง คือเอากลอนสุภาพ หลายชนิด
มาผสมกัน นั่นเอง เป็นกลอนที่ นิยมใช้ ในการขับร้องแก้กัน ทั่วๆ ไป จึงเรียกว่า
กลอนตลาด แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
1. กลอนเพลงยาว
2. กลอนนิราศ
3. กลอนนิยาย
4. กลอนเพลงปฏิพากย์
กลอนเพลงปฏิพากย์ ยังแบ่งออกไปอีกหลายชนิด คือ
เพลงฉ่อย
เพลงโคราช หรือเพลงตะวันออก
เพลงเรือ
เพลงชาวไร่
เพลงชาวนา
เพลงแห่นาค
เพลงพิษฐาน (อธิษฐาน)
เพลงเกี่ยวข้าว
เพลงปรบไก่
เพลงพวงมาลัย
เพลงรำอีแซว หรือเพลงอีแซว
เพลงลิเก
เพลงลำตัด
ฯลฯ
บทของกลอน
คำกลอนวรรคหนึ่ง เรียกว่า กลอนหนึ่ง สองวรรค หรือสองกลอน เรียกว่า
บาทหนึ่ง หรือคำหนึ่ง สองคำ หรือสองบาท หรือสี่วรรค หรือสี่กลอน เรียกว่า บทหนี่ง
วรรคทั้งสี่ของกลอน ยังมีชื่อเรียกต่างๆ กัน และนิยมใช้เสียงต่างๆ กันอีก คือ
1. กลอนสลับ ได้แก่ กลอนวรรคต้น คำสุดท้าย ใช้คำเต้น คือนอกจากเสียงสามัญ
แต่ถ้าจะใช้ ก็ไม่ห้าม
2. กลอนรับ ได้แก่ กลอนวรรคที่สอง คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงจัตวา
ห้ามใช้เสียงโท, สามัญ, ตรี, และวรรณยุกต์เอกมีรูป วรรณยุกต์เอกไม่มีรูป ไม่ห้าม
แต่ต้องให้คำสุดท้าย ของกลอนรอง เป็นเสียงตรี
3. กลอนรอง ได้แก่ กลอนวรรคที่สาม คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ
ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
4. กลอนส่ง ได้แก่ กลอนวรรคที่สี่ คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ
ห้ามใช้คำตาย และคำที่มีรูปวรรณยุกต์ จะใช้คำตายเสียงตรี บ้างก็ได้
บาทของกลอน
คำกลอนนั้น นับ 2 วรรคเป็น 1 บาท ตามธรรมดา กลอนบทหนึ่ง
จะต้องมีอย่างน้อย 2 บาท (เว้นไว้แต่กลอนเพลงยาว หรือกลอนนิราศ ซึ่งนิยมใช้บทแรก
ที่ขึ้นต้นเรื่อง เพียง 3 วรรค) บาทแรก เรียกว่า บาทเอก บาทที่ 2 เรียกว่า บาทโท
คำกลอนจะยาวเท่าไรก็ตาม คงเรียกชื่อว่า บาทเอก บาทโท สลับกันไปจนจบ และต้องจบลง
ด้วยบาทโทเสมอ เช่น
นิราศเรื่องหัวหินก็สิ้นสุด เพราะจากบุตรภรรยามากำสรวล (บาทเอก)
เมื่ออยู่เดียวเปลี่ยวกายใจคร่ำครวญ ก็ชักชวนให้คิดประดิษฐ์กลอน (บาทโท)
ใช้ชำนาญการกวีเช่นศรีปราชญ์ เขียนนิราศก็เพราะรักเชิงอักษร (บาทเอก)
บันทึกเรื่องที่เห็นเป็นตอนตอน ให้สมรมิตรอ่านเป็นขวัญตา (บาทโท)
มิใช่สารคดีมีประโยชน์ จึงมีโอดมีครวญรัญจวนหา (บาทเอก)
ตามแบบแผนบรรพกาลโบราณมา เป็นสาราเรื่องพรากจากอนงค์ (บาทโท)
-จากนิราศหัวหิน-
หลักนิยมทั่วไปของกลอน
1. คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 และวรรคที่ 2 ก็ดี คำสุดท้ายของวรรคที่ 3
และวรรคที่ 4 ก็ดี ไม่ควรใช้คำ ที่มีเสียงเหมือนกัน หรือคำที่ใช้สระ และตัวสะกด
ในมาตราเดียวกัน เช่น
ก. ในไพรสณฑ์พรั่งพรึบด้วยพฤกษา แนววนาน่ารักด้วยปักษา
ข.
เขาเดินทุ่งมุ่งลัดตัดมรรคา มั่นหมายมาเพื่อยับยั้งเคหา
ค.
เห็นนกน้อยแนบคู่คิดถึงน้อง มันจับจ้องมองตรงส่งเสียงร้อง
2. คำที่รับสัมผัส ในวรรคที่ 2 และที่ 4 ควรให้ตำแหน่งสัมผัส
ตกอยู่ที่พยางค์สุดท้าย ของคำ ไม่ควรให้สัมผัสลงที่ต้นคำ หรือกลางคำ
ยิ่งเป็นกลอนขับร้อง ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะจะทำให้เสียความ ในเวลาขับร้อง
เช่น
สดับถ้อยสุนทรนอนดำริ จนสุริยาแจ้งแจ่มเวหา
3. คำสุดท้ายของวรรค ควรใช้คำเต็ม ไม่ควรใช้ครึ่งคำ หรือยัติภังค์
เว้นไว้แต่ แต่งเป็น กลบทยัติภังค์ หรือเป็น โคลง, ฉันท์ และกาพย์ เช่น
อันถ้อยคำของท่านนั้นเป็นสา มานย์วาจาฟังไปไม่เกิดหรร
ษารมณ์เลยสักนิดเพราะผิดจรร ยาทั้งนั้นไร้ศีลฉันสิ้นอา(วรณ์)
การแยกคำออกใช้คนละครึ่ง ในระหว่างวรรค เช่นนี้ไม่ควรใช้
4. ไม่ควรใช้ภาษาอื่น ที่ยังมิได้รับรอง มาใช้เป็นส่วนหนึ่ง แห่งภาษาไทย
เช่น
โอไมเดียร ดาริ่งมิ่งสมร บิวตี้ฟูลสุนทรหฤหรรษ์
แม่ชื่นจิตสวิตฮารตจะคลาดกัน ใจป่วนปั่นหันเหเซกู๊ดบาย
ส่วนคำบาลี และสันสกฤตใช้ได้ เพราะเรารับมาใช้ เป็นส่วนหนึ่ง แห่งภาษาไทย
แต่ถึงกระนั้น ก็ต้องแปลงรูปคำเสียก่อน จะนำมาใช้ทั้งดุ้นไม่ได้
5. ไม่ควรใช้ "ภาษาแสลงโสต" คือถ้อยคำที่พูดด้วยความตลกคะนอง หยาบโลน
หรือเปรียบเทียบ กับของหยาบ ซึ่งใช้กันอยู่ ในกลุ่มคนส่วนน้อย และรู้กัน
แต่เฉพาะในวงแคบๆ เช่น คำว่า ม่องเท่ง, จำหนับ, จ้ำบ๊ะ, ตั้กฉึ้ก, ถังแตก, ยกล้อ
ฯลฯ
กลอน 6
ตัวอย่าง:
กลอน 7
ตัวอย่าง:
กลอน 8
ตัวอย่าง:
กลอน 9
ตัวอย่าง:
กลอนลำนำ
กลอนบทละคร
ตัวอย่าง:
กลอนสักวา
แผน:
เหมือนกลอนบทละคร
ตัวอย่าง:
กลอนเสภา
ตัวอย่าง:
กลอนดอกสร้อย
ตัวอย่าง:
กลอนขับร้อง
กลอนขับร้อง ก็คือ กลอนสุภาพนั่นเอง แต่แต่งขึ้น สำหรับใช้ ขับรัอง
หรือร้องส่ง เข้ากับ เครื่องดนตรี ปี่พาทย์ มีชื่อ และทำนองต่างๆ เช่น สมิงทอง,
สามไม้, ปีนตลิ่ง, ชมตลาด, ลีลากระทุ่ม, เชิตนอก, นาคเกี้ยว, เทพทอง, พม่าเห่,
เขมรไทรโยค เป็นต้น เหตุที่มีชื่อแตกต่างออกไป ก็เพราะมีทำนองร้องแตกต่างกัน
แผนและกฎต่างๆ จงดูในตอน ที่ว่าด้วย กลอนสุภาพนั้นเถิด ส่วนทำนอง ต้องฝึกหัด
กับผู้รู้ เป็นพิเศษ