ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ลักษณะของจิตมนุษย์
การเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์
ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
สิ่งแวดล้อม (Environment)
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic human Needs)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์
หลักการให้ข้อมูลย้อนกลับ
สาเหตุทำให้บุคคลไม่กล้าแสดงออก
หลักพื้นฐานของการฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์
ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะในฐานะของผู้นำแล้ว
มักจะต้องเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคลหลายระดับ
และในบางโอกาสจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามแบบที่ต้องการได้
ในทางจิตวิทยาการเสริมแรง
ถือเป็นวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมอันพึงประสงค์
และปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งจะนำมาพูดถึง 2
วิธีการคือการชมเชย และการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างมีประสิทธิภาพ
การชมเชย (Admiring)
ในทางจิตวิทยานั้นการชมถือเป็นการให้รางวัลประเภทหนึ่ง
จึงสามารถใช้เป็นสิ่งเสริมแรงเมื่อต้องการปรับพฤติกรรมให้เป็นไปในแบบที่ต้องการ
หรือเป็นการดำรงไว้ซึ่งพฤติกรรมพึงประสงค์ การชมเชยแทบจะไม่มีผลเสียอะไรเลย
ในทางมนุษย์ยังถือว่าเป็นวิธีผูกใจคนได้อีกวิธีหนึ่ง
เรื่องของการชมนี้มีความละเอียดอ่อนมิใช่น้อย
การชมนั้นหากว่ากระทำด้วยความจริงใจแล้วย่อมเป็นที่ชื่นชอบของผู้ได้รับคำชมทั้งสิ้น
แต่บางครั้งแม้ชมจากใจจริงก็กลับดูเหมือนไม่จริงใจจนเกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ด้วยเหตุนี้ควรศึกษาและฝึกปฏิบัติว่าการชมอย่างไรถึงจะดี
และก่อให้เกิดกำลังใจหรือได้รับความสุขแก่ผู้ถูกชม
การชมที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
- ชมด้วยความจริงใจไม่แสแสร้ง
- คำชมนั้นต้องสัมพันธ์อันดีกับสีหน้าท่าทางของผู้ชม
- คำชมต้องไม่ยืดยาว แต่ควรสั้นกะทัดรัด
- ไม่ชมให้พร่ำเพรื่อหรือหวานมากเกินไป เลือกชมในพฤติกรรมหรืผลงานที่ผู้ถูกชมเห็นว่าเป็นความภาคภูมิใจของเขาอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเรื่องที่เขาไม่มีความมั่นใจ คำชมจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่เขาในการทำหรือพฤติกรรมนั้นๆในครั้งต่อไป
- ชมในเรื่องหรือแง่มุมที่ผู้ถูกชมคิดไม่ถึงหรือไม่คิดว่าจะได้คำชม จะให้ผลดีกว่าการชมในสิ่งที่เห็นชัดๆหรือแน่ๆอยู่แล้ว โดยเฉพาะการเลือกใช้คำพูดที่สร้างสรรค์ไม่ธรรมดา เช่น ในการชมผู้บรรยายว่าบรรยายได้แง่คิด ได้ประโยชน์มากจากการฟังการบรรยาย ย่อมจะดีกว่าชมว่าบรรยายได้ยอดเยี่ยม
- การชมต่อหน้าผู้อื่น หรือให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยจะได้ผลดีกว่าการชมตรงๆต่อหน้าผู้ถูกชมคนเดียวนั้นไม่ได้ผลดีมากเท่ากับการชมลับหลัง หรือการชมต่อหน้าในที่ประชุมจะมีคนรับรู้มากกว่าจึงสร้างความภาคภูมิใจแก่ ผู้ที่ถูกชมได้มากกว่า นอกจากนั้นการชมลับหลังหรือชมในที่ประชุมเป็นการแสดงว่าผู้กล่าวชม ๆ ด้วยความจริงใจจริงๆ เนื่องจากการชมแบบนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้กล่าวคำชมจะรับผิดชอบในคำชมทุกคำที่กล่าวมานั้น
- ความเร็วในการให้คำชม เช่น ทันทีที่พฤติกรรมสิ้นสุดจะได้ผลมากกว่าการปล่อยทิ้งไว้นาน
- การยกตัวอย่างประกอบคำชม จะทำให้การชมนั้นได้รับผลเป็นเลิศ
- การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
การให้ข้อมูลย้อนกลับถือว่าเป็นเครื่องมือที่ จะช่วยให้คนปรับพฤติกรรม หรือทำงานได้อย่างมีปะสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะทำให้เขารู้ว่าที่เขาทำไปนั้นมีผลกระทบที่ดี หรือผิดพลาดต่อผู้อื่นมากน้อยเพียงใด คนอื่นเขาจะคิดอย่างไรกับผลงานของเรา แล้วนำข้อติชมต่าง ๆ เหล่านั้นมาวิเคราะห์วิจารณ์ศึกษา และปรับปรุงให้ดีขึ้นไปอีก
จิตวิทยา
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยากับผู้นำ
จิตวิทยาการเรียนรู้