ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ลักษณะของจิตมนุษย์
การเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์
ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
สิ่งแวดล้อม (Environment)
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic human Needs)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์
หลักการให้ข้อมูลย้อนกลับ
สาเหตุทำให้บุคคลไม่กล้าแสดงออก
หลักพื้นฐานของการฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม
ลักษณะของจิตมนุษย์
จิตใจ เป็นคำที่มีความหมายหลายๆด้านตามแนวคิดของกลุ่มนักจิตวิทยาต่าง ๆ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงจิตใจตามวิเคราะห์ ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่าจิตของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ระดับ (Three Leveis of Consciousness) เปรียบเทียบเสมือนก้อนน้ำแข็งลอยอยู่ในทะเล คือ
- จิตสำนึก (Conscious) คือสภาวะที่มีสติ รู้ตัว
รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่หรือกำลังจะทำอะไรรู้จักตัวเองว่าเป็นใคร ต้องการอะไร
ทำอะไรอยู่ที่ไหน กำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด
การแสดงอะไรออกไปที่แสดงไปตามหลักเหตุผลเปรียบได้กับส่วนของก้อนน้ำแข็งที่โผล่ผิวน้ำขึ้นมามีจำนวนน้อยมาก
- จิตใต้สำนึก (Subconscious ) หรือ จิตก่อนสำนึก (Preconscious)
คือสภาพที่ไม่รู้ตัวในบางขณะ เช่น กระดิกเท้า ผิวปาก ฮัมเพลงโดยไม่รู้ตัว
ยิ้มคนเดียวโดยไม่รู้ตัว พูดอะไรออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ
และประสบการณ์ต่างๆที่เก็บไว้ในรูปของความทรงจำ เช่น ความประทับใจในอดีต
ถ้าไม่นึกถึงก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าทบทวนเหตุการณ์ทีไรก็ทำให้เกิดปลื้มใจทุกที
เปรียบได้กับส่วนของก้อนน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ
- จิตไร้สำนึก (unconscious) เป็นส่วนของจิตที่ใหญ่ที่สุด และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ และเป็นส่วนที่ไม่รู้สึกตัวเลย อาจมาจากเจ้าตัวพยายามเก็บกดเอาไว้ เช่น เกลียดครู หรือพยายามที่จะลืม แล้วในที่สุดก็ลืมๆไป ดูเหมือนไปจริงๆ แต่ที่จริงไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่ในตัวลักษณะจิตไร้สำนึก และจะแสดงออกมาในรูปความฝัน การละเมอ เปรียบได้ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ
นอกจากนี้ ฟรอยด์ ได้ศึกษาองค์ประกอบของจิต พบว่า โครงสร้างของจิตประกอบด้วย(The Components of Mind) ไว้ 3 ส่วนคือ
- อิด (ID) หมายถึง ตัณหา หรือ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ยังไม่ขัดเกลา ซึ่งทำให้มนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อความพึงพอใจ หรือทำงานตามความพึงพอใจ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด เปรียบเสมือนสันดานดิบของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็นสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (LIEF INSTINCT) เป็นความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย และสัญชาตญาณแห่งการตาย (DEATH INSTINCT) เช่น ความต้องการก้าวร้าว หรือการทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น
- อีโก้ (EGO) หมายถึง ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ ID โดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางสังคม และหลักแห่งความเจริญมาช่วยในการตัดสินใจ ไม่ใช่แสดงออกมาความพึงพอใจของตนเองเพียงอย่างเดียวแต่ต้องคิดและแสดงออกอย่างมีเหตุผล
- ซุปเปอร์อีโก้ (SUPEREGO) หมายถึง มโนธรรมหรือจิต ส่วนที่ได้รับการพัฒนามาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน หรือ กระบวนการทางสังคมประกิต โดยอาศัยหลักของศีลธรรม จรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่างๆในสังคมนั้น SUPEREGO จะเป็นตัวบังคับและควบคุมความคิดให้แสดงออกในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
โครงสร้างจิตนี้ จะมีความสัมพันธ์กัน ถ้าทำงานสัมพันธ์กันดีการแสดงออกหรือบุคลิกภาพก็เหมาะสมกับตน แต่ถ้าโครงสร้างทั้ง 3 ระบบ ทำหน้าที่ขัดแย้งกัน บุคคลก็จะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้
จิตวิทยา
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยากับผู้นำ
จิตวิทยาการเรียนรู้