ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
จิตวิทยากับผู้นำ
จิตวิทยา
ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทุกชนิดของมนุษย์เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสาเหตุต่าง ๆ
ที่ส่งผลให้แต่ละบุคคลมีลักษณะเฉพาะตัว
กลุ่มแนวความคิดทางจิตวิทยา
แนวทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Approach)
เชื่อว่าพฤติกรรมเกิดจากแรงขับทางสัญชาติญาณ (Instinctual Drive)
ภายใต้จิตใต้สำนัก (Unconcious Mind)
โดยมีกลไกป้องกันตนเองเป็นกลไกช่วยปรับปรุงพฤติกรรมให้เหมาะสม
ศึกษาสภาพจิตใจโดย
- Free Association การฟังอย่างตั้งใจและช่วยกันวิเคราะห์ โดยใช้การปล่อยใจให้ สบาย ๆ ซึ่งจะทำให้สิ่งที่กดดันภายในใจได้ระบายออกมา
- Hypnosisการสะกดจิต เป็นการสะกดเพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ลืมไปแล้วให้ นึกย้อนกลับมาได้ ซึ่งในอดีตอาจจะมีปมอะไรซักอย่างหนึ่ง เพื่อคลายปมเหล่านั้นให้คนไข้หายจากอาการทางจิต
- Dream Interpretationการแปลความฝัน ทำนายฝัน ซึ่งในขณะที่หลับ สิ่งที่อยู่ใต้จิต สำนึกจะแสดงออกมา
แนวทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Approach)
เชื่อว่าพฤติกรรมเกิดจากสิ่งเร้า (Stimulus) โดยมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
(Response) ซึ่งแนวความคิดนี้ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม
การสร้างแรงเสริมเพื่อให้เกิดพฤติกรรม
ทฤษฎีโครงสร้างของจิตใจ (Structural Theory)
- ID (Instinctual Drive) สันดานดิบ หรือ สัญชาติญาณ (หลักของฟรอยด์)
--Aggressive (ก้าวร้าว)
--Sex (เพศ) ใช้หลักของความพึงพอใจ (Pleasure Principle) ในการแก้ - EGO คือ ความเป็นตัวของเรา ใช้ควบคุม ID โดยใช้หลักการ Defense Mechanism
- SUPEREGO คือ มโนธรรม จริยธรรม ความซื่อตรง เป็นตัวช่วยสนับสนุน EGO ซึ่งเกิดจากการอบรมสั่งสอน แต่ ถ้าหากมีมากเกินไป จะเป็นคนไม่รู้จักยืดหนุ่น ยึดในระเบียบมากเกินไป ยอมหักไม่ยอมงอ ดังนั้นคนเราจึงต้องมีทั้ง 3 ข้อ ในอัตราส่วนที่พอดี ซึ่ง ID และ SUPEREGO เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกันจะต้องมีการปรับให้ทั้งสองอย่างมีความสมดุลต่อกัน
ทฤษฎีแบ่งจิตใจตามระดับของจิตสำนึก
- จิตใต้สำนึก (Unconscious Mind) ความไม่รู้สึกตัว ใช้หลัก Pleasure Principle
- จิตกึ่งสำนึก (Preconscious Mind) พบเจอในช่วงของการเคลิบเคลิ้ม หลับ ๆ ตื่น ๆ
- จิตสำนึก (Conscious Mind) ความรู้สึกตัว อยู่โลกแหน่งความจริง ใช้หลัก Reality Principle
กลไกทางจิตที่บรรลุภาวะ
- Altrismการกระทำที่เห็นเป็นประโยชน์ ความผาสุข ของผู้อื่นเป็นหลัก
- Anticipationการวางแผนล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล
- Asceticismการถือสันโดษ
- Humorตลกขบขัน
NARCISSISTI DEFENSES
Denialปฏิเสธ การไม่ยอมรับความจริง
Distortionบิดเบี้ยว บิดเบือนความจริง
Projectionโทษคนอื่น
ผู้นำ (Leader)
คือ บุคคบที่มีบทบาท หรือมีอิทธิพลต่อผู้อื่นในองค์กร หรือหน่วยงาน
ไม่ว่าจะเป็นในด้านความคิดหรือพฤติการณ์
บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะนิสัย พฤติกรรม ที่แสดงออกซ้ำ ๆ
เพื่อตอบสนองและปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม สังเกตได้จากความสามารถ ลักษณะเด่น ค่านิยม
ทัศนคติ ภาพพจน์ ความประพฤติ ซึ่งแต่ละคนจะแตกต่างกันจาก กรรมพันธุ์ การเลี้ยงดู
สิ่งแวดล้อม และความต่างกันในพัฒนาการด้านต่าง ๆ
ซึ่งบุคลิกภาพนั้นสามารถสร้างขึ้นมาได้โดย กรรมพันธุ์ การพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม
การเลี้ยงดู
ผู้นำที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร
- มองปัญหาที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ การกระทำในวันนี้จะส่งผลอะไรต่ออนาคต
- พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน
- กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้สูง โดยชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนและเข้าใจตรงกัน
- พยายามสร้างความเชื่อมั่น ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องในการทำงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
- กล้าตัดสินใจด้วยความเชื่อมั่นว่าถูกต้อง และมีเหตุผลเพียงพอ
- สุขุม ใจเย็น รอเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตัดสินใจ
- สร้างบรรยากาศให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ
- ให้ความสนใจต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้ใต้บังคับบัญชา
- จัดให้มีการสื่อสารระบบเปิดทั่วถึงทุกระดับ
- กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน ส่งเสริม พัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้สูงขึ้น
- วิเคราะห์ สนใจ หาแรงจูงใจ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานตามเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
- กำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ โดยมอบหมายให้ชัดเจน เพื่อผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
ถ้อยคำที่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหมดกำลังใจ
- อย่าหาเหาใส่หัว
- คุณทำไปก็เท่านั้นแหละ
- คุณกินข้าวอิ่มแล้วไม่มีอะไรจะทำหรือไง
- เรื่องนี้ผมไม่รู้ คุณทำไปเถอะ
- คุณจะรู้ดีกว่าผมได้ยังไง
- ความรู้อย่างคุณทำไม่ได้หรอก
ฯ ล ฯ
การกระทำที่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหมดกำลังใจ
- ไม่สนใจสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาพูด
- เสนอแล้วเก็บเข้าลิ้นชัก
- โยนแฟ้มใส่หน้า
- ชมคนหนึ่ง แล้วตำหนิอีกคนหนึ่งในเวลาเดียวกัน
- ตำหนิต่อหน้าคนมาก ๆ
- รับฟังด้วยท่าทีเฉยเมย
ฯ ล ฯ
การสั่งงาน (Directing)
หัวหน้างานจะต้องกระทำ
เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนไว้ จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับักษะการสื่อสาร
และศิลปในการพูดของผู้บริหารที่จะจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเต็มใจและพอในใจการปฏิบัติตามคำสั่ง
ซึ่งสามารถกระทำได้ 4 แบบคือ
- การสั่งแบบบังคับให้ปฏิบัติ ต้องการความเด็ดขาด ผู้กระทำตามคำสั่งอาจจะไม่มีความรู้ ความสามารถในการคิด เช่น การสั่งพลทหาร หรือ สั่งเพราะมีเวลาน้อย ต้องการความเร่งรีบ แต่ข้อเสียคือจะไม่มีความอ่อนตัว
- การสั่งแบบขอร้องให้ปฏิบัติ เป็นการสั่งที่ใช้คำพูดที่นุ่มนวล มักใช้คำพูดว่า ช่วย.... ในการสั่งให้ปฏิบัติ
- การสั่งขออาสาสมัครในการปฏิบัติ การสั่งแบบนี้ผู้สั่งต้องมีความมั่นใจว่าจะต้องมีผู้อาสาทำงานให้ หรือรู้อยู่แล้วว่ามีผู้ที่สามารถทำงานนั้นได้ แต่ต้องการให้เกียรติเขา ให้เขารู้สึกภาคภูมิใจที่จะทำงานให้
การสั่งงานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
- เป็นกระบวนการสองทาง ถามซักซ้อมความเข้าใจ คือสามารถให้สอบถามได้
- ต้องมีความชัดเจน
- ใช้ภาษาที่เหมาะสม
- ผู้สั่งงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องสั่งเป็นอย่างดี
- ไม่สั่งงานโดยมีอคติ หรือใช้อารมณ์
- อย่าเปลี่ยนแปลงคำสั่งบ่อย
- ควรมีการวิเคราะห์สถานการณ์ เวลา และผู้ที่จะรับคำสั่ง ก่อนตัดสินใจสั่งงาน
ข้อพึงระวังในการสั่งงาน
ในการสั่งงานที่ดี
พึงระวังและพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการสั่งงานต่อไปนี้
- สั่งงานขณะโกรธ
- โทษลูกน้อง ผู้สั่งมักคิดว่าตนเองสั่งได้ดีแล้ว ลูกน้องผิดเองที่ไม่เข้าใจคำสั่ง
- สนองอารมณ์ผู้บริหารมักคิดว่าตนเองมีอำนาจสั่ง และถูกต้องชอบธรรมแล้ว เข้าทำนอง กูสั่งซะอย่างใครจะทำไม
- ชื่นชมบางคนชอบสั่งเฉพาะคนที่เห็นว่าใช้ง่าย มีความคล่องตัวสูง หรือมีอคติกับผู้ใต้บังคับ บัญชาบางคน (จึงเกิดบัวใต้น้ำ ไม่มีวันได้ผุดได้เกิด)
- ปนเปหลายเรื่องเป็นการสั่งงานหลายเรื่องในขณะเดียวกัน
- สติเฟื่องลืมคิดขาดการวิเคราะห์ให้รอบคอบ คิดอะไรได้ก็สั่งไปเลย การสั่งแบบนี้จะมีการ เปลี่ยนแปลงคำสั่งบ่อย
- ผิด ๆ ถูก ๆบางครั้งผู้สั่งงานเองยังไม่เข้าใจในเรื่องที่จะสั่งงานดีพอ ทำให้การสั่งผิดบ้าง ถูกบ้าง หรือต้องเปลี่ยนคำสั่งบ่อย
ความขัดแย้ง (Conflict)
คือ สภาพการณ์ที่คน หรือกลุ่มคน
เกิดความไม่เข้าใจกัน มีความรู้สึกไม่พึงพอใจ หรือคับข้องใจที่จะปฏิบัติงาน
เป็นสิ่งทีจะต้องเกิดขึ้นเสมอ และจะเป็นผลดี
ถ้าความขัดแย้งนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม
ผลทางลบ
- การสื่อสารถูกบิดเบือนไม่ทั่วถึง
- ไม่ได้รับความร่วมมือ
- ไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน
- ขาดความริเริ่มใหม่ ๆ
- คุณภาพการตัดสินใจต่ำ
- อาจทำให้ผู้บริหารใช้อำนาจเป็นเผด็จการมากขึ้น
- ผลทางบวกเกิดความริเริ่มใหม่ ๆ
- การควบคุมการปฏิบัติงานจะดีขึ้น
- ความรอบคอบ ความมีเหตุผล ในการแก้ปัญหา
- เกิดการพัฒนาวิธีการทำงานใหม่ ๆ
ประเภทของความขัดแย้ง
- ความขัดแย้งตามแนวตั้ง (Vertical Conflict)
--เป็นความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับสายการบังคับบัญชา นับตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง จนถึงผู้ปฏิบัติ - ความขัดแย้งตามแนวนอน (Horizontal Conflict)
--เป็นความขัดแย้งที่เกิดในระดับเดียวกัน ที่ต่างฝ่ายต่างมีอำนาจตามตำแหน่ง - ความขัดแย้งตามแนวทะแยงมุม (Diagonal Conflict)
--เป็นความขัดแย้งที่เกิดต่างระดับ ต่างสายการบังคับบัญชา
การบริหารความขัดแย้งตามแนวคิดของ Mary Parker Follett
- การชนะ-แพ้ (Domination) คือ การใช้อำนาจให้อีกฝ่าย แพ้-ชนะ เป็นวิธีที่ ง่าย เร็ว แต่อาจเกิดปัญหาขึ้นได้อีกในอนาคต
- การประนีประนอม (Compromise) วิธีนี้จะไม่มีฝ่ายใดได้ทั้งหมด ต่างฝ่ายต่างได้เพียงบางส่วน ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากที่สุด
- การประสานประโยชน์ (Intergrated Solution) วิธีการนี้จะเน้นความพอใจของทั้งสองฝ่าย ไม่มีการแพ้-ชนะ ไม่ต้องเสียบางส่วน แต่จะได้ตามความต้องการของทั้งสองฝ่าย
การบริหารความขัดแย้ง 5 แบบ ของ Johnson and Johnson, 1982
- Forcing (ฉลาม ชอบใช้กำลัง) เน้น Authority คำนึงถึงเป้าหมายงานมากกว่าความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน
- Withdrawing (เต่า หดหัว) หลีกเลี่ยง ไม่เผชิญกับคู่กรณี เป้าหมายของงาน ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานอยู่ในระดับต่ำ
- Smoothing (หมี น่ารัก) เน้นความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานมากกว่าเป้าหมาย อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
- Confronting (นกฮูก สุขุม) เผชิญกับปัญหา สุขุม รอบคอบ สนองความต้องการของผู้ร่วมงานและได้ตามเป้าหมายของงานมากที่สุด
- Compromising (สุนัขจิ้งจอก แก้ปัญหาเฉพาะหน้า) เน้นทางสายกลาง มักใช้กับกรณีพิพาทด้านแรงงาน
จิตวิทยา
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยากับผู้นำ
จิตวิทยาการเรียนรู้