ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

จิตวิทยา

ความเป็นมาของจิตวิทยา
กลุ่มต่าง ๆ ของจิตวิทยา (School of Psychology)
การเรียนรู้

การเรียนรู้

การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์เป็นนิยามของครอนแบ็ค (Cronback) จากความหมายนี้ควรตระหนักในข้อสังเกต 2 ประการต่อไปนี้

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายในเพียงอย่างเดียว ก็เป็นการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายนอก มีความสำคัญต่อเมื่ออยู่ในกระบวนการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องมีการวัดผล
  • พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเนื่องจากการเรียนรู้ต้องมีลักษณะถาวร หรือค่อนข้างถาวร การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเกิดจากการบรรลุนิติภาวะของร่างกาย การเจ็บป่วย การใช้ยาหรือสารเสพย์ติด และปฏิกิริยาสะท้อน ของร่างกายไม่ใช่การเรียนรู้

แบบการเรียนรู้

มีการศึกษาจากการเรียนรู้ โดยการอ่านตำราของนักศึกษา พบว่า กลวิธีหรือแบบการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ระดับ

  • ระดับพื้นผิว ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับ และสนใจเกี่ยวกับ เนื้อหา ปริมาณ การได้คำตอบที่ถูก พยายามจำ
  • ระดับลึก ผู้เรียนเป็นฝ่ายรุก สนใจเกี่ยวกับ แกนของเรื่อง เหตุผล ภาพรวม การเชื่อมโยง ตรรกะของข้อเสนอ ความเห็น การตั้งคำถาม ข้อสรุป

    เปรียบเทียบความแตกต่าง

        ระดับผิว                       ระดับลึก
    - สนใจเนื้อหา                - สนใจความสำคัญ
    - ไม่ปรับเปลี่ยน               - ประยุกต์ใช้ได้
    - แรงจูงใจน้อย กังวล        - มีแรงจูงใจ มีความสุข พอใจในการเรียน

 

สิ่งที่ต้อการตระหนักในการเรียนรู้

ข้อสรุปของโรเจอส์จากการวิจัย พบว่า

  • การเรียนรู้ควรมีลักษณะการตอบโต้และรุก มิใช่ลักษณะยอมรับอย่างเดียว
  • การเรียนรู้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล
  • การเรียนรู้เกิดด้วยความสมัครใจมิใช่การบังคับ

การชี้บ่งการเรียนรู้

  • ระบุว่าผู้เรียนทำอะไรได้ก่อนสอน
  • บันทึกการแสดงออกของผู้เรียนต่อประสบการณ์ที่จัดให้
  • ระบุว่าผู้เรียนทำอะไรได้หลังจากสอน

การประยุกต์จิตวิทยาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียน
ครูนอกจากจะต้องรู้หลักสูตรและเนื้อหาวิชาแล้ว ควรรู้พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ ซึ่งเป็นศาสตร์ทางจิตวิทยา และทำความเข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์โดยต้องเข้าใจสิ่งต่อไปนี้

  1. รู้จักและเข้าใจผู้เรียนในวัยต่าง ๆ แง่มุมต่าง ๆ
  2. รู้และเข้าใจทฤษฎีการเรียนรู้
  3. รู้และเข้าใจปัจจัยหลักส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
  4. รู้และเข้าใจเทคนิคกระบวนการทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
  5. รู้และเข้าใจกระบวนการสืบค้นความรู้ด้วยวิธีการทางจิตวิทยา

เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อำนวยความสะดวกในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบุคคลอื่นหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีที่หลากหลายสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะตน ตลอดจนสืบค้นปัญหาอุปสรรคที่ขัดขวางการเรียนรู้ เพื่อหาทางป้องกันและแก้ไข

จิตวิทยา
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยากับผู้นำ
จิตวิทยาการเรียนรู้

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย