ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ความเป็นมาของจิตวิทยา
กลุ่มต่าง ๆ ของจิตวิทยา (School of Psychology)
การเรียนรู้
ความเป็นมาของจิตวิทยา
คำว่า จิตวิทยา แปลมาจาก psychology ในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำนี้มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ psyche หมายถึงวิญญาณ ส่วน logos หมายถึง การศึกษาเล่าเรียน จากคำนิยามนี้แสดงให้เห็นว่า เดิมที่เดียวจิตวิทยา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณหรือเรื่องลึกลับ ต่อมานักปราชญ์ให้ความหมายของ psyche ว่า หมายถึง จิต ดังนั้น วิชาจิตวิทยาจึงเป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องจิต
- เพลโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีก เชื่อว่า
ร่างกายและจิตใจเป็น 2 สิ่ง ที่แยกขาดจากกันและจิตใจจะคงอยู่แม้จะตายไปแล้ว
เพลโตมองเชิงบวกว่า การศึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมชาติพื้นฐานของจิตใจได้
ส่วนอริสโตเติลกลับมองบทบาทของการศึกษาต่อการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ไปในเชิงลบ
- เดส์กาตส์ (Rene Descartes) นักปรัชญาและคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เชื่อในความเป็น
2 ส่วนของร่างกายและจิตใจ
และยอมรับว่ามีสัมพันธภาพระหว่างร่างกายและจิตใจที่ปราศจากสิ่งรบกวน
- คริสต์ศตวรรษที่ 18 นักปรัชญาชาวอังกฤษชื่อ ล็อค (John Locke)
นำเสนอว่าความรู้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์จากอวัยวะรับสัมผัส และความคิด
ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาโดยกำเนิด
- คริสต์ศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เวเบอร์ (E.H. weber) ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาจิตใจ จนพบความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างความเข้มข้นของสิ่งเร้า และผลที่เป็นประสบการณ์จากการสัมผัส
- เวลาใกล้กัน เฟชเนอร์ (G.T. Fechner) บิดาแห่งจิตวิทยาเชิงปริมาณ
นำเสนอจิตฟิสิกส์เป็นการศึกษาเชิงปริมาณเกี่ยวกับโครงสร้างภายนอก
และประสบการณ์จากประสาทสัมผัส
- ต่อมาดาร์วิน (Darwin) เสนอวิวัฒนาการ
กำเนิดสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาและความคิดมนุษย์
- ปี คศ. 1879 วุนท์ (Wilhelm Wundt) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
ก่อตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาแห่งแรกของโลก เพื่อพิสูจน์ว่า กิจกรรมทางสมองทุก ๆ
กิจกรรมที่เกิดขึ้น ย่อมมีกิจกรรมทางกายภาพเกิดขึ้นด้วย
- นักจิตวิทยาชาวรัสเซียชื่อ พัฟลอฟ (Ivan P. Pavlov) ได้ค้นพบปฏิกิริยาสะท้อนที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned reflex)
จิตวิทยา
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยากับผู้นำ
จิตวิทยาการเรียนรู้