วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ซากดึกดำบรรพ์
ดร. จงพันธ์ จงลักษมณี
ยุคควอเทอร์นารี
บนพื้นผิวโลกของเรา มีหินที่เกิดเป็นชั้น ๆ คลุมพื้นที่ประมาณสามในสี่ของพื้นที่ทั้งหมด ดังนั้นหินชั้นและการจัดเรียงลำดับของมันจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากและเป็นข้อมูลพื้นฐานแก่วิชาธรณีวิทยาสาขาอื่น ๆ เนื่องจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในอดีตจะถูกบันทึกไว้ในชั้นหิน การศึกษาลำดับชั้นหินจึงสามารถทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับธรณีวิทยาประวัติในบริเวณนั้น ๆ และนำไปสู่การค้นพบแหล่งแร่เศรษฐกิจและแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติได้
เมื่อเราสามารถอ่านปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตตามลำดับการเกิดก่อน-หลังแล้ว เราก็ได้ลำดับเวลา (time sequence) ของปรากฏการณ์นั้น ๆ ซึ่งเป็นตารางเวลาเปรียบเทียบ (relative time scale) แสดงให้เห็นว่าปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ เกิดขึ้นก่อนหรือหลังปรากฏการณ์อื่น ๆ อย่างไร
ในการคำนวณหาว่าปรากฏการณ์ในอดีตได้เกิดขึ้นมาแล้วนานเท่าใดนั้น เราต้องวัดถอยหลัง
ไปจากปรากฏการณ์หนึ่งๆ ที่ทราบอายุแน่นอนก่อน เช่น เราอาจจะหาอายุปรากฏการณ์ในอดีตโดยเทียบกับยุคปัจจุบัน เราเรียกวิธีการนี้ว่าการหาเวลาหรืออายุที่วัดได้ (Measured time scale) ซึ่งเวลาที่วัดได้นี้จะบอกเราว่าปรากฏการณ์ในอดีตนั้น ๆ ได้เกิดขึ้นมานานเท่าใดแล้วจากยุคปัจจุบัน
หลักการเบื้องต้นของการเรียงลำดับชั้นหิน
การเกิดซากดึกดำบรรพ์
ตารางธรณีกาล (Geologic time scale)
ยุคแคมเบรียน
ยุคออร์โดวิเชียน
ยุคไซลูเรียน
ยุคดีโวเนียน
ยุคคาร์บอนิเฟอรัส
ยุคเพอร์เมียน
ยุคไทรแอสสิก
ยุคจูแรสซิก
ยุคครีเทเซียส
ยุคเทอเธียรี
ยุคนีโอจีน
ยุคควอเทอร์นารี