วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
หลักการเบื้องต้นของการเรียงลำดับชั้นหิน
การเกิดซากดึกดำบรรพ์
ตารางธรณีกาล (Geologic time scale)
ยุคแคมเบรียน
ยุคออร์โดวิเชียน
ยุคไซลูเรียน
ยุคดีโวเนียน
ยุคคาร์บอนิเฟอรัส
ยุคเพอร์เมียน
ยุคไทรแอสสิก
ยุคจูแรสซิก
ยุคครีเทเซียส
ยุคเทอเธียรี
ยุคนีโอจีน
ยุคควอเทอร์นารี
ยุคดีโวเนียน
ชื่อยุคมาจากชื่อเมืองดีวอนเชียร์ มีช่วงเวลายาว 48 ล้านปี (จาก 408 ถึง 360 ล้านปีมาแล้ว) หินส่วนใหญ่ที่พบในยุคดีโวเนียนเป็นหินดินดาน หินปูน และหินทรายแดง ตอนใกล้สิ้นยุคไซลูเรียนมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการประทุของภูเขาไฟ ทำให้ท้องทะเลเดิมบางส่วนยกตัวขึ้นเป็นผืนแผ่นดิน และปกคลุมด้วยพืชบก นอกจากนี้บนบกเริ่มพบสัตว์ที่หายใจทางอากาศได้ โดยมีการปรับตัวให้เข้ากับการดำรงชีพบนผืนแผ่นดิน เช่น กิ้งกือ แมลงมุม และแมลงไร้ปีก ในจำพวกสัตว์มีกระดูก
ไครนอยด์ Eurypterus
สันหลัง พบปลาน้ำจืดหลายชนิด (จนทำให้ได้ชื่อว่าเป็นยุคของปลา) เช่น ปลาไร้ขากรรไกร ปลาออสทราโคเดิร์ม ปลาครอสส์ออฟเทอริเกียน และปลาดิฟนอย (ปลามีปอด) และในปลายยุคนี้พบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นครั้งแรก
ในจำพวกสัตว์ไร้กระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ในทะเล หอยตะเกียง ปะการัง และสโทรมาโทพอรอยด์ ยังพบอยู่โดยทั่วไป แกรฟโทไลท์คงพบแต่พวกรูปร่างแห นอกนั้นสูญพันธุ์ไปหมด ไครนอยด์และปลาดาวก็พบมากในยุคนี้
ปะการังชนิด Pleurodictyum