สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม

การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

การจัดการและการบริหารสิ่งแวดล้อม

1. มาตรฐานมลพิษจากแหล่งกำเนิด และมาตรฐานสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการเป็นประโยชน์มากในการบังคับใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามกฏหมาย
2. มาตรฐานมลพิษในสิ่งแวดล้อม เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเป็นเป้าหมายที่ต้องการและเป็นแนวทางในการปรับปรุงค่ามาตรฐานมลพิษจากแหล่งกำเนิด
3. ดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นตัวชี้สถานกรณ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อการประชาสัมพันธ์และการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายและแผนด้านสิ่งแวดล้อม
4. แนวทางการดำเนินงานควบคุมมลพิษหรือสาเหตุของมลพิษที่สำคัญ ศึกษาหาค่าเกณฑ์หรือผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากสารเหล่านนี้แล้วจัดกลุ่มตามลักษณะความรุนแรงของผลกระทบสิ่งแวดล้อม จัดตั้งเป้าหมายและแผนการดำเนินงาน กำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ ปรับปรุงมาตรการด้าน กฎหมาย และดำเนินการปฏิบัติตามแผนสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
5. มาตรการที่สามารถใช้ประกอบแผนการดำเนินงานจัดการปัญหามลพิษได้แก่การควบคุมสิ่งที่ใส่เข้าไปในการผลิต การควบคุมขั้นตอนการดำเนินงาน การควบคุมผลผลิต การคัดเลือกและการเปลี่ยนกระบวนการการผลิต การลดอุปสงค์และมาตรการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

การใช้ค่ามาตรฐาน และดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อม

1. ค่าดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมใช้บังคับในทางปฏิบัติไม่ได้ เพราะต้องมีการเปรียบเทียบกับค่าดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมของสถานที่หรือเวลาอื่น เพื่อศึกษาแนวโน้มและใช้เป็นตัวชี้ทิศทางการวางแผนการดำเนินงานควบคุมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป

2. ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ลักษณะทางภูมิประเทศหรือสมรรถภาพของสิ่งแวดล้อมในการรองรับของเสีย ระดับความรุนแรงของปัญหาในปัจจุบันและสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นที่ค่ามาตรฐานนั้นจะใช้บังคับ

หลักการควบคุม และการจัดการปัญหามลพิษ

ตามหลักการ แนวคิดในการดำเนินงานควบคุมปัญหามลพิษ และแนวคิดในการกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งสองแนวคิดคล้ายคลึงกันกล่าวคือ การดำเนินงานควบคุมปัญหามลพิษนั้น ประกอบด้วยขั้นตอนการกำหนดและบังคับใช้ค่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการติดตามตรวจสอบเพื่อปรับปรุงค่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติ ลักษณะการเปลี่ยนแปลง และปฏิกริยาร่วมต่างๆ ของสารมลพิษ หรือขบวนการขับถ่ายกำจัดของเสียจากร่างการนั้น ก็คือการศึกษาหาค่าเกณฑ์นั่นเอง การจำแนกตัวแปรหรือการจัดกลุ่มสารมลพิษก็นับเป็นขั้นตอนการดำเนินงานประเภทเดียวกัน การเปรียบเทียบผลกระทบของมลพิษและการจัดตั้งเป้าหมายระดับชาติของการดำเนินงาน ก็คือขั้นตอนการพิจารณาเพื่อตัดสินใจกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเมื่อได้ค่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมแล้วก็จะต้องมีการติดตามตรวจสอบ เพื่อดำเนินการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงค่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อมตามความจำเป็นต่อไป

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานและดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การจัดการและการบริหารสิ่งแวดล้อม
ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย