สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานและดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อม
1. มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมหมายถึง
ค่าหรือปริมาณของสารมลพิษหรือสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ซึ่งสามารถให้มีอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมโดยไม่ก่อให้ให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งที่ค่ามาตรฐานนั้นคุ้มครองในอันที่จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
และค่ามาตรฐานดังกล่าวจะต้องกำหนดโดยหน่วยงานหรือสถาบัน
มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ มาตรฐานมลพิษจากแหล่งกำเนิด
มาตรฐานมลพิษในสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ
2. การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมจะพิจารณาโดยการใช้ค่า "เกณฑ์"
เป็นหลัก ซึ่งที่มีการพัฒนาในปัจจุบันและได้ค่าที่แน่นอน
คือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ
3. การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมนี้อาจจำแนกตามวัตถุประสงค์ ได้ 3
ประการคือ มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด
มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อค่าใช้จ่ายต่ำสุด
และมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อสุนทรียภาพ
4.
มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นที่อาจแตกต่างกันมากทั้งชนิดของตัวแปร
หรือที่เรียกว่าสารมลพิษ ปริมาณ และวิธีตรวจวัด
ซึ่งจะเห็นได้จากมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่กำหนดไว้ในประเทศไทย
ต่างประเทศและโดยองค์การระหว่างประเทศ
และค่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพทางภูมิประเทศ
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นต้น
5. ดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมไม่ใช่มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
แต่เป็นตัวชี้สถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ถูกวัดเป็นปริมาณซึ่งไม่มีหน่วย
โดยการบูรณาการตัวแปรที่สำคัญไว้
ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยยังไม่มีกำหนดดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใช้
ความหมายและประเภทของมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่สำคัญมี 3 ประเภท คือมาตรฐานมลพิษในสิ่งแวดล้อม
Ambient standards มาตรฐานมลพิษที่แหล่งกำเนิด Emission or effluent standards
มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน Occupational health and safety standards
สิ่งสำคัญที่จะจำแนกความแตกต่างของค่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้ง 3
ประเภท พิจารณาได้จาก (1) สถานที่ที่ค่ามาตรฐานจะคุ้มครอง กล่าวคือ
ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อมจะคุ้มครองสภาพแวดล้อมภายนอก (2)
ค่ามาตรฐานจากแหล่งกำเนิดจะกำหนดปริมาณที่ยอมให้ระบายออกจากแหล่งกำเนิด และ (3)
ค่ามาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานจะคุ้มครองคนงานในสถานที่ทำงาน
แนวคิดพื้นฐานในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
1.
การดำเนินการกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมนั้นต้องศึกษาค่าเกณฑ์ที่ได้มีการทดลองหรือศึกษาไว้
และจำแนกตัวแปรที่กำหนดมาตรฐาน แล้วเริ่มติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านนั้นๆ
ศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
รวมทั้งความปลอดภัยชีวิติมนุษย์
และในที่สุดเป็นขั้นตอนการพิจจารณาเพื่อตัดสินใจเลิกค่าและกำหนดเป็นมาตรฐานใช้บังคับต่อไป
และการปรับปรุงเมื่อมีการประเมินผลเป็นระยะๆ
2. การกำหนดค่ามาตรฐานเพื่อความอยู่รอด (Survival standards)
เพราะเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของมนุษย์ซึ่งนับเป็นสิ่งจำเป็นต่อสังคมและการพัฒนาในทุกเรื่อง
มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและที่อื่น
ประเภทมาตรฐานสิ่งแวดล้อม มี 3 ประเภท คือ (1) มาตรฐานมลพิษในสิ่งแวดล้อม
(2) มาตรฐานมลพิษจากแหล่งกำเนิด (3) มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน
ดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ค่าดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นค่าที่ได้จากการบูรณาการตัวแปรที่สำคัญเพื่อเป็นตัวชี้สถานการณ์ของคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ดัชนีที่มีค่าสูงกว่าจะมีคุณภาพสูงกว่า
มาตรฐานและดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การจัดการและการบริหารสิ่งแวดล้อม
ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย