ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ประวัติของพระพุทธเจ้า
พระพุทธศาสนา
องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา
สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
ปรัชญา
ความแตกต่างระหว่างศาสนากับปรัชญา
ความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญา
ลักษณะเชิงปรัชญาของพระพุทธศาสนา
ปรัชญา
คำ ว่า “ปรัชญา” มาจากคำ ในภาษาสันสกฤต คือ “ปฺร” แปลว่า รอบ, ประเสริฐ กับคำว่า
“ชญา” แปลว่า รู้, เข้าใจ ความหมายโดยรวมของคำว่า ปรัชญา จึงหมายถึง
ความรู้รอบโดยทั่ว,ความรู้อย่างแท้จริง, ความรู้อันประเสริฐ,
ความรอบรู้อันเกิดจากการเรียนและการคิด หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักความรู้และความจริง
คำว่า “ปรัชญา” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Philosophy” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก
2 คำ คือคำว่า Philos ซึ่งแปลว่า ความรัก, ความเลื่อมใส, ความสนใจ รวมกับคำว่า
Sophia ซึ่งแปลว่า ปัญญา, ความรู้, วิชาการ รวมเนื้อความทั้ง 2 คำแล้ว หมายความว่า
ความรักในปัญญา ความรักในความรู้ หรือความรักในวิชาการปรัชญานั้นมีความหมายกว้างมาก
ยากที่จะจำกัดความลงไปได้
เพราะวิชาปรัชญานั้นเป็นวิชาที่ศึกษาหาความจริงตามหลักเหตุและผลอย่างกว้างๆ
กับธรรมชาติของจักรวาล จะเห็นว่า คำว่า “ปรัชญา” กับคำว่า “Philosophy”
มีความหมายไม่ตรงกันเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า “ปรัชญา”
นั้นยังมีความหมายเท่ากันกับคำว่า“Philosophy” นั่นเอง
ปรัชญา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาหาความรู้ ความจริงของมนุษย์ โลก ธรรมชาติ
และชีวิตอย่างลึกซึ้งเพื่ออธิบายเหตุการณ์ และสิ่งต่างๆ
โดยใช้หลักการของเหตุผลในวิชาตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความจริงหรือความรู้ที่แน่นอน
ปรัชญาเป็นความพยายามที่จะสืบค้นหา
ความจริงสูงสุด (Ultimate Reality) หรือความจริงสุดท้ายซึ่งไม่มีอะไรจะจริงแท้ไปยิ่งกว่า สืบค้นถึงธรรมชาติของเอกภพ ธรรมชาติของมนุษย์ธรรมชาติของสิ่งสัมบูรณ์ (The Absolute)
ธรรมชาติของสสารและจิต ตลอดถึงความสัมพันธ์กันของสิ่งเหล่านั้น โดยอาศัยหลักการทางตรรกศาสตร์หรือการคิดหาเหตุผล ดังนั้น ปรัชญาจึงเป็นความพยายามที่จะสืบค้นธรรมชาติของโลกชีวิต จิต และพระเจ้าปรัชญานั้นเริ่มต้นขึ้นจากความสงสัยต่อโลกต่อตัวเราเอง ต่อสิ่งที่อยู่รอบข้างตัวเรา ... เราเกิดมาทำไม ? ทำไมเราต้องตายด้วย มีชีวิตอยู่ตลอดไป หรือเป็นอมตะหรือไม่? คำถามว่า ทำไมสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น ทำไมสิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ ทำไม อย่างไรเพราะอะไร เหล่านี้มีตัวเหตุผลเป็นคำตอบ แต่เมื่อเราตั้งคำถามเหล่านี้ขึ้นมาแล้ว คนส่วนมากมักไม่สนใจค้นหาคำตอบอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมา นั่นคือ นักคิด นักปรัชญา พวกเขาตั้งใจค้นคว้าคิดหาคำตอบ หาเหตุผลต่างๆ มาทำให้ความจริงปรากฏ เมื่อเหตุผลสอดคล้องกับคำถาม นั่นคือ เราได้คำตอบที่เป็นความรู้ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาจึงกลายมาเป็นศาสตร์ที่มีผู้สนใจมากที่สุดในโลก
วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เรารู้คืออะไร และเรารู้สิ่งนั้นได้อย่างไร แต่ปรัชญากลับเสนอความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราไม่รู้คืออะไร ตรงนี้เองที่ทำให้วิทยาศาสตร์กับปรัชญานั้นแตกต่างกันต่อมาเมื่องานของวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าออกไปจนปรัชญาตามไม่ทัน เมื่อนั้น ศาสตร์ 2 ศาสตร์นี้จึงแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ไม่เพียงแต่วิทยาศาสตร์เท่านั้นที่แยกตัวออกมาจากปรัชญาวิทยาการด้านต่างๆ หลายด้านเมื่อมีวิธีการที่พัฒนาเฉพาะด้านมากขึ้น มีเนื้อหาที่ศึกษาเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น จึงได้แยกตัวออกมาจากปรัชญาได้ศาสตร์
แรกที่แยกตัวออกจากปรัชญา ก็คือ ศาสนา เพราะเมื่อศาสนามีหลักการต่างๆ คำสอน และเนื้อหาที่แน่นอนและมากขึ้น ศาสนาจึงไม่ต้องพึ่งปรัชญาอีกต่อไป ต่อมาก็เป็นคณิตศาสตร์ที่แยกตัวออกมาต่อจากนั้นก็เป็นสังคมศาสตร์และจิตวิทยา จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่ปรัชญาจะเคยเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์ต่างๆเท่านั้น แต่ปรัชญายังเป็นศาสตร์ต้น
กำเนิดของวิทยาการต่างๆ ด้วย
สาขาของปรัชญา
สาขาของปรัชญาในปัจจุบันนั้นมี 3 สาขาดังนี้ คือ
- อภิปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยความจริงสูงสุด ศึกษา 3 เรื่องหลักคือ ธรรมชาติ เอกภพ,เรื่องจิตหรือวิญญาณ ว่าด้วยลักษณะ กำเนิดจุดหมายปลายทางของวิญญาณ ความเกี่ยวข้องกันระหว่างกายและจิต และเรื่องพระเจ้า ว่าด้วย เรื่องพระเจ้าหรือสิ่งสัมบูรณ์ ศึกษาธรรมชาติและลักษณะทั่วไปของพระเจ้า
- ญาณวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วยวิธีการหาความรู้ หรือทฤษฎีความจริง การกำเนิดขึ้นของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ ขอบเขตของความรู้และความสมเหตุสมผลของความรู้
- คุณวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของคุณค่าหรืออุดมคติ มีสาขาย่อย 3 สาขา
คือ
- ตรรกวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักเหตุผล การใช้เหตุผล เป็นเครื่องมือของวิชาปรัชญา
- จริยศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยมาตรฐาน หรือหลักเกณฑ์ในการตัดสินค่าทางจริยธรรม เช่น ความดีความชั่ว ความถูก ความผิดและเป้าหมายสูงสุดของชีวิต
- สุนทรียศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ในการตัดสินคุณค่าความงาม ความประณีต