วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

นกยูง

ข้อมูลทั่วไปของนกยูง
พฤติกรรมทั่วไป
พฤติกรรมในฤดูผสมพันธุ์
นกยูงไทย

พฤติกรรมในฤดูผสมพันธุ์

ช่วงฤดูผสมพันธุ์ ของนกยูงสีเขียว มีความผันแปร แตกต่างกันไปในประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทย ยังไม่ทราบ ช่วงเวลาที่แน่นอน แต่เมื่อเทียบกับพม่า ที่ตั้งอยู่ใน ตำแหน่งใกล้เคียงกันแล้ว Smythies คาดว่า ฤดูผสมพันธุ์ จะตกอยู่ในช่วงเดือน ธันวาคม ถึง พฤษภาคม แต่สำหรับ นกยูง ในป่าห้วยขาแข้ง พบว่า ฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน อยู่ระหว่าง เดือน พฤศจิกายน ถึง มีนาคม

ในช่วงระยะผสมพันธุ์ ความเป็นอยู่ของ นกยูง จะเปลี่ยนไปจากช่วงเวลาปกติ คือ ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป นกยูงตัวผู้ จะมีแพนขนปิดหาง ( train ) ซึ่งมีลักษณะเป็น ดอกดวง สวยงาม งอก ยาวออกมาเรื่อยๆ และจะยาวสุดประมาณ ต้นเดือนมกราคม บางตัวอาจยาวถึง 150 ซม. เมื่อหางยาวมากขึ้น การร้อง ประกาศ อาณาเขต ก็จะถี่เกือบตลอดทั้งวัน โดยเสียงร้องจะลากยาวขึ้นกว่าเดิม และ เสียงลงท้ายดังคล้ายเสียงแมวร้อง คือ "โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง เมี้ยว " ขณะเดียวกัน ในระยะนี้ นกยูงตัวผู้ ก็ เริ่มจับจองพื้นที่อยู่อาศัย และ หากินค่อนข้างคงที่ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นบริเวณป่าที่โล่ง และ หาดทรายริมฝั่งน้ำ พื้นที่ดังกล่าว อาจทับ ซ้อน กับนกยูงตัวผู้อื่น ก็ได้ แต่ภายในบริเวณนั้น นกตัวผู้แต่ละตัว จะกำหมดจุดพื้นที่ หวงห้ามของตนไว้ เพื่อ การเกี้ยวพาราสี และ ผสมพันธุ์ ( mating territory ) โดยจะป้องกันไม่ให้นกตัวผู้ อื่น เข้ามาล้ำแดน โดยเด็ดขาด ซึ่งได้แก่ บริเวณหาดทรายริมน้ำนั่นเอง ความเข้มงวด เกี่ยวกับการป้องกันดินแดน จะสูงมากในช่วง 2 - 3 เดือนแรก ของ ฤดูผสมพันธุ์ และ จะค่อยๆลดน้อยลงเรื่อยๆ ไปจนถึงปลายฤดู ผสมพันธุ์ ก็จะหมดไป

ในการต่อสู้ป้องกันดินแดนของ นกยูงตัวผู้ นั้น พงษ์ศักดิ์ พลเสนา เคยพบว่า เมื่อนกยูงตัวผู้ตัวหนึ่ง ล้ำเข้าไปใน ดินแดนของอีกตัวหนึ่ง นกยูงเจ้าของ ถิ่น จะส่งเสียงร้องเตือน บางครั้งก็รำแพน ขนหาง ขู่ หากยังไม่ยอมถอยออกไป ก็จะเข้าต่อสู้ โดยนกยูงเจ้าของถิ่น จะเดินเข้าไปหาผู้บุกรุก แล้วเดินสวนไปมา บางครั้งก็จะหยุด ยืนนิ่งเคียงกัน แล้ว เดินต่ออีก จากนั้นก็กระโดด เตะกัน สูงราว 2 - 3 เมตร แล้วค่อยร่อน ลงมา พร้อมกับ เดินสวนกัน และ ตามกันอยู่เกือบ 10 นาที จึงกระโดดเตะกันอีกครั้ง การต่อสู้ ทำอยู่เช่นนี้ จนกว่าจะมีฝ่ายใดยอมแพ้ ถอยออกไปจากพื้นที่ ซึ่งเท่าที่เคยพบ ผู้บุกกรุกจะเป็นฝ่ายแพ้ และ หนีจากไป , ลักษณะ การต่อสู้ของ นกยูง เช่นนี้ ดูไปก็คล้ายๆกับลีลาการแสดง โขน หรือ ลิเก ในฉากการต่อสู้ ที่ต้องมีชั้นเชิง จดจ้อง แล้วต่อย เข้า ปะทะกัน จากนั้น ก็ จะแยก ห่างไป จดจ้อง แล้วเข้าปะทะกัน อีก

การเกี้ยวพาราสี และ การผสมพันธุ์ เมื่อฝูงนกยูงตัวเมีย หากินผ่านเข้าไปในดินแดนของตัวผู้ ตัวผู้นั้น ก็จะเข้าไป ร่วม หากินด้วย จากนั้น จะแสดง การรำแพนหาง เพื่อ โอ้อวดตัวเมีย ด้วยการเกร็ง ขนคลุมหาง หรือ แพนหาง ให้ขนานกับพื้น แล้วค่อยๆ ยกขึ้นตั้งฉากกับพื้น พร้อมกับคลี่แพนหาง ออก เป็นรูปพัด ขนาดใหญ่ สีเขียว ที่แต่งแต้มด้วยแววมยุรา สีน้ำเงินเขียวเหลือบฟ้าอมส้ม กระจาย ทั่วทั้งแผ่น , กางปีกทั้งสอง ข้าง ออก พยุงลำตัว ชูคอขึ้นสูงเล็กน้อย แล้วจึงย่างก้าว เดิน หมุนตัวไปรอบๆ ตัวเมีย พลางส่งเสียงร้อง บางครั้งก็สั่นขนหาง ให้เกิดเสียงดังเป็นช่วงๆ แล้วเอี้ยวไปมาเล็กน้อย ทำให้แพนหางเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็หมุน ตัวกลับ หันแพนหางด้านหลังให้กับพวก นกตัวเมีย การหันส่วนต่างๆ และ สั่นขนหาง นี้ จะทำสลับไปมา อยู่ตลอดเวลา เพื่อเรียกความสนใจ จากตัวเมียมากยิ่งขึ้น การรำแพนหาง ของนกยูงตัวผู้ จะนาน 5 -10 นาที ไปจนถึงครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสนใจของตัวเมีย หากตัวเมียพร้อมจะ ผสมพันธุ์ ก็จะเดินเข้าใกล้ตัวผู้ และ จิกขนของตัวผู้ ตามที่ต่างๆ จากนั้นจะเดินไปทางด้านหน้าตัวผู้ พร้อมกับ ย่อตัวลงเพื่อให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ ซึ่ง นกตัวผู้ ก็จะขึ้นขี่ ตัวเมียทันที โดยมันจะใช้จะงอยปาก จิกที่หัวของตัวเมีย เพื่อ กันพลัดตก และ ขณะขึ้นผสม แพนหางของนกตัวผู้จะพับลงกับพื้น โดยแพนหาง ยังคงคลี่คลุมพื้น อยู่เล็กน้อย การผสมพันธุ์ใช้เวลาสั้นมากประมาณ 6 -10 วินาที ซึ่งจะได้ยินเสียงหวีดร้อง ขึ้นครั้งหนึ่ง คาดว่าเป็นเสียงร้องของ นกตัวผู้ ที่ทำการผสม หลังจากเสร็จ ภารกิจ นกตัวผู้จะกระโดดลงจากหลังตัวเมีย แล้วรำแพนหางต่อ โดย หันหลังให้กับนกตัวเมียตลอดเวลา รำแพนอยู่สัก 2 - 3 นาที ก็จะพับแพนขนหางปีกลง ในขณะที่ นกตัวเมีย จะลุกขึ้น สะบัดเนื้อตัว ออกเดินหากินในบริเวณนั้นต่อไป

นอกจากนี้ยังพบว่า ในบางครั้ง นกตัวผู้ สามารถผสมพันธุ์ได้ติดต่อกันถึง 2 ครั้ง โดยเมื่อผสมกับตัวเมียตัวแรก เสร็จ หากตัวเมียอื่นเข้ามาในดินแดน ของตนอีก ตัวผู้จะเริ่มรำแพนหางใหม่ และ ดำเนินกิจกรรมเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การเกี้ยวพาราสีของตัวผู้ บางครั้ง ก็ไม่ประสพผล หากตัวเมียไม่ให้ความสนใจ และไม่ยอมให้ผสมพันธุ์ ทั้งนี้อาจเพราะนกตัวเมีย ยังไม่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ หรือ เพราะลีลารัก ของตัวผู้ยังไม่ถึงระดับ ที่จะกระตุ้นความรู้สึกของตัวเมียได้ หลังจาก ผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะเริ่มหาพื้นที่วางไข่ ในบริเวณพื้นป่า โดยมีใบไม้ใบหญ้าเป็นวัสดุรองรัง รังที่สร้างไม่ค่อยมิดชิดนัก ดูคล้ายกับรังของไก่ป่า แต่กว้างกว่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 ซม. แม่นก จะออกไข่ครั้งละ 4 - 8 ฟอง และ ใช้เวลาฟักประมาณ 27 - 30 วัน ซึ่งการวางไข่และกกไข่นี้ จะอยู่ในระยะตั้งแต่เดือน ธันวาคม ถึง มีนาคม และในช่วงเวลานี้ มักพบเห็นนกตัวเมียใหญ่แยกออกจากฝูง มาหากินตามลำพัง แล้วจะรีบกลับเข้าไปกกไข่ต่อ ในราวเดือนมกราคม เป็นต้นไป ก็จะเริ่มพบเห็นลูกนกยูงเล็กๆ ออกมาหากินกับแม่ บางครั้งอาจพบเห็น นกตัวเมีย พาลูก ออกหากิน ร่วมกันตามหาดทราย และ ที่ราบริมน้ำ แต่ก็ไม่บ่อยครั้งนัก เพราะการหากินตามที่โล่ง จะเป็นอันตรายต่อลูกนก ที่จะถูกศัตรู พวกเหยี่ยวรุ้ง หรือ เหี้ย ตะกวด จับกิน

สำหรับนกยูงตัวผู้ เมื่อสิ้นฤดูผสมพันธุ์ ในราวเดือน มีนาคม แพนขนปิดหาง ที่ยาวและสวยงาม จะเริ่มหลุดร่วงลงตามพื้นป่า และ หาดทรายที่มันเดินหากิน แต่จะพบมากที่สุด ตามใต้ต้นไม้ที่นกยูงจับคอน นอน แพนขนปิดหางนี้ จะหลุดร่วงลงเรื่อยๆ จนหมด ราวต้นเดือนเมษายน ซึ่งระยะนี้ ลักษณะความแตกต่าง ระหว่าง ตัวผู้และตัวเมีย แทบจะมองแยกกันไม่ออกเลย

การเลือกแหล่งทำรัง นกยูงตัวเมีย เป็นผู้สร้างรัง โดย ปูพื้นด้วยเส้นหญ้ายาว ใบไม้ กิ่งไม้เล็กๆ ในทุ่งหญ้า หรือ ใต้พุ่มไม้หนาม รังอาจสร้าง ทั้งใต้พุ่มไม้ซึ่งเป็นร่มเงา หรือ ในทุ่งโล่ง แต่ต้องเป็นทุ่งหญ้าชนิดต้นยาว หรือ ในพุ่มไม้หนาม ซึ่งต้องหมอบคลานเข้าไป จึงจะเข้าถึงรังได้

การฟักไข่ นกยูงตัวเมียเท่านั้นที่ฟักไข่ ใช้เวลาฟักราว 26 - 28 วัน หรือไม่เกิน 30 วัน นกยูงวางไข่ครอกละ 3 - 8 ฟอง เคยพบมากถึง 12 ฟอง แต่ส่วนใหญ่จะพบครอกละ 3 - 4 ฟอง ในแต่ละครอก จะมีไข่อยู่ 1 - 2 ฟอง ที่ไม่ฟักออกเป็นตัว ลูกนกจะบินได้ในปีแรก ที่เกิด แต่จะยังคงหากินร่วมกับพ่อแม่ จนถึง ฤดูผสมพันธุ์ในปีถัดไป มีรายงานว่า ในปีที่สอง ลูกนกที่เป็นตัวผู้ มักถูกขับไล่ ออกจากฝูงนกตัวเมีย เพื่อให้ออกไปหากินนอกฝูงตามลำพัง การอพยพย้ายถิ่น นกยูงเป็นนกประจำถิ่น แต่เชื่อว่า มีการอพยพย้ายถิ่นตามแหล่งหากินในประเทศด้วย

การแพร่กระจายพันธุ์ นกยูงไทย ทั้งสามสายพันธุ์ มีกระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของ แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียตนาม กัมพูชา มณฑลยูนนานของจีน จนถึงคาบสมุทรมาลายู และ เกาะชวา ( ไม่ปรากฏว่าพบในสุมาตรา และ บอร์เนียว )

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 การแพทย์แผนโบราณ
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ค้นพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับราษฏร มีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและ นอกกำแพงเมือง

🍁 หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม
พระพุทธศาสนาได้สอนไว้ว่านักปกครองที่ดีนั้นควรมีคุณธรรม 10 ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม

🍁 สมถะวิปัสสนา
ตามแนวพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ (เถรวาท) ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

🍁 พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน
ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ลำพังตนเองโดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น เพราะการดำรงชีวิตอยู่ของคนเราจำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน

🍁 พระสูตรของท่านเว่ยหลาง
สูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย

🍁 โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
แบบฉบับในการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อหยุดยั้งกระแสแห่งวัฒนธรรมตะวันตกและอนุรักษ์ความเป็นคนจีนดั้งเดิม

🍁 สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น

🍁 แนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ของธรรมชาติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้

🍁 จักรวาล
“จักรวาล” และ “เอกภพ” เป็นคำๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Universe” ซึ่งหมายถึง ทุกสรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวง

🍁 ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา

🍁 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
มิติทางวิชาการหลายมิติที่ซ้อนทับ เคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในทุกบริบทที่เกี่ยวข้อง

🍁 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
สังคมทุกสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ตราบใดที่สังคมนั้นยังต้องมีการติดต่อและสัมพันธ์กับสังคมอื่น การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง

🍁 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์

🍁 กำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
ทำไมโลกซึ่งแต่เดิมเป็นลูกไฟดวงหนึ่ง ไม่ได้ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น จึงเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้มากมายเช่นนี้

🍁 โรคสัตว์สู่คน

🍁 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

🍁 โรคอารมณ์สองขั้ว

🍁 คู่มือ อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

🍁 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

🍁 ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ

🍁 การจูงใจ

🍁 การแกว่งแขน รักษาโรค

🍁 ประวัติขนมไทย

🍁 กัญชา

🐍 โปรดระวังงูฉก

มนุษย์ก็เหมือนสสารชนิดหนึ่ง
ที่รอวันร่วงโรยแตกดับ

อยู่ไปนานวันเข้าก็เริ่มสูญเสียความสมดุล
ระบบการทำงานของร่ายกายก็ช้าลงไปเรื่อยๆ

หลีกหนีไม่พ้นความตายในที่สุด

ร่างกายเน่าเปื่อยผุผัง
ไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ไม่มั่นคงยั่งยืน
กลับคืนสภาพเดิมได้ยาก

จากธรรมชาติสู่ธรรมชาติ
ทั้งในสถานะของแข็งของเหลวและก๊าซ

มันเป็นอนิจจัง

รู้แล้วเหยียบไว้
อย่าได้ทำเป็นตื่นตูม.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ความทรงจำที่เศร้าหมอง
จอมยุทธ : กรีดสาย
กับความอาดูรที่สูญสิ้น บางสิ่งบางอย่างไม่อาจหวนคืน ใครคนหนึ่งเก็บตัวเงียบเหมือนสัตว์ป่าหายาก

🌿 ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
ขอร่วมแสดงยินดีแด่มวลมนุษย์ชาติ ที่ได้ส่งตัวแทนในนามของหุ่นยนต์ ไปเหยียบดาวอังคารได้เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งที่กิเลสมนุษย์ได้แสดงพลังอำนาจให้ประจักษ์แต่สายตาประดาสัตว์ๆ

🌿 ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
ภาษาที่ไม่คุ้นเคย ผู้คนแปลกหน้า ข้าวกล่อง ดินเนอร์ใต้แสงจันทร์ ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ชีวิตใหม่ เชียงใหม่ๆ อีกหนึ่งยอดเขาที่ต้องป่ายปีน แม้สิ่งที่เรียกว่าความตายจะรออยู่ก่อนแล้วก็ตาม

🌿 ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน
เพ้อพร่ำ รำพัน โดย : จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆