ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

การตั้งประเทศไทย

อาณาจักรโบราณในประเทศไทย
อาณาจักรสุโขทัย
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การปกครองในสมัยปัจจุบัน (รัตนโกสินทร์ตอนปลาย-ปัจจุบัน)
การพัฒนาเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
โครงสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย

การพัฒนาเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน

เศรษฐกิจไทยในช่วงระยะ พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2484 ภายหลังจากการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 การเมืองการปกครองของไทยได้เปลี่ยนแปลงมาสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้นำรุ่นใหม่ทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือน ส่วนใหญ่มาจากชนชั้นกลาง และได้รับการศึกษาแบบตะวันตก มีความคิดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนั้นตกอยู่ในกำมือของต่างชาติ ซึ่งเป็นทั้งชาวจีน และชาวตะวันตก

ทางด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลส่งเสริมใช้ชาวไทยรู้จักทำอุตสาหกรรม ประกาศคำขวัญว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" รัฐบาลเริ่มดำเนินนโยบายลงทุนด้านอุตสหากรรม และธุรกิจทางด้านการบริหาร ซึ่งเราเรียกว่า "รัฐวิสาหกิจ"

เศรษฐกิจไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจของไทย การค้าขายกับต่างประเทศ เริ่มประสบความยากลำบาก สินค้าออกของไทยเริ่มลดลง สินค้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลไทยเริ่มทำสงครามกับฝรั่งเศลด้วยเรื่องปัญหาอินโดจีน

เศรษฐกิจไทยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยยังใช้นโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแบบเดิม คือ ส่งเสริมให้ชาวไร่ชาวนาไทยผลิตสินค้าเกษตรเพื่อนำส่งไปขายต่างประเทศ สินค้าหลักของไทยที่ส่งไปขายนำรายได้เข้าประเทศมาก

เศรษฐกิจไทยภายใต้ระบบการลงทุนแบบเสรี (ในช่วง พ.ศ. 2501 ถึงปัจจุบัน) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศนโยบายส่งเสริมการลงทุนของเอกชน มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจมีการวางแผนพัฒนาประเทศ ในระยะยาวการใช้งบประมาณอยู่ในช่วงระยะเวลา 5 ปี เรียกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติในปี พ.ศ. 2504 เป็นแผนแรก จากนั้นรัฐบาลต่อ ๆ มาก็ได้ประกาศแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2545



หลังจากไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติแล้วสภาวะทางเศรษฐกิจได้ เปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

- มูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น 15 เท่าตัว
- สิ่งทด เป็นสินค้าใหม่ทำรายได้สูงเป็นอันดับ 2 รองจากข้าว และมันสำปะหลัง นอกจากนั้น ได้แก่ อัญมณี แผงวงจรไฟฟ้า
- ธุรกิจการทองเที่ยว เจริญรุดหน้าจนมีรายได้สูงเป็นอันดับ 1 ในปีพ.ศ. 2532

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยในช่วงที่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติที่สำคัญ ได้แก่

  • โครงการพัฒนาชายฝั่งตะวันออก (Eastern Seaboard) กำหนดขอบเขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นเมืองอุตสาหกรรมทันสมัย และเขตแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นที่ตั้งท่าเรือพาณิชย์ และอุตสาหกรรมขนาดกลางขนาดย่อม เพื่อส่งออก
  • โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) กำหนดให้เป็นแหล่ง อุตสาหกรรมประเภทซ่อมเรือ ต่อเรือ อุตสาหกรรม ประมง พาณิชย์นาวี

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • ชนชั้นในสังคมแบ่งได้เป็น 3 ชนชั้น คือ ข้าราชการ ปัญญาชน และกรรมกร
  • การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ที่ผู้คนมีการแข่งขันกันมากขึ้นต้องปรับตัวมากขึ้น ซึ่งให้ คุณธรรมที่ดีในสังคมไทยแต่เดิมมาลดลง
  • ค่านิยมในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงก็ต้องออกทำงานนอกบ้านมากขึ้น เพื่อให้มี รายได้เพียงพอเลี้ยงดูครองครัว สถานภาพของผู้หญิงในปัจจุบันจึงเท่าเทียมกับผู้ชายทั้งสิทธิ และโอกาสในการทำงาน

การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การศึกษาของไทยมีความก้าวหน้ามากขึ้น ในปัจจุบันเรามีการศึกษาภาคบังคับ 6 ปี และปัจจุบันขยายโอกาสทางการศึกษาเป็น 9 ปี ซึ่งทำให้เยาวชนได้มีโอกาสหาความรู้ใส่ตัวมากขึ้น ก่อนจะออกไปทำงานเลี้ยงชีพสำหรับผู้ไม่เรียนต่อ

การเปลี่ยนแปลงทางศิลปวัฒนธรรม

  • การเปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2482
  • การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นวันที่ 1 มกราคม ตามสากลนิยม แทนวันที่ 1 เมษายน เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2484
  • มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2483 ให้คนไทยแต่งกายให้เหมาะสม คือ นุ่งกางเกงแทนผ้าม่วงหรือโจงกระเบน สำหรับชาย ส่วนสตรีให้สวมกระโปรง และยังต้องสวมเสื้อ รองเท้าหมวก

ด้านศิลปกรรม

1. สถาปัตยกรรม รับอิทธิพลของชาติตะวันตก เช่น การสร้างอนุสาวรีย์ อาคารต่าง ๆ
2. วรรณกรรมตะวันตกที่เคยมีการแปล ก็ถูกดัดแปลงหรือแต่งขึ้นมาโดยคนไทยมากขึ้น
3. นาฏกรรม เช่น โขน ละคร เสื่อมความนิยมลง เนื่องจากมีความบันเทิงหลายหลากมากขึ้นทั้งภาพยนตร์ โทรทัศน์

โครงสร้างทางการปกครอง และกระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ประชาธิปไตย(democracy) หมายถึง ระบอบการเมือง ซึ่งประชาชนมีอำนาจสูงสุด หรือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย