ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
อาณาจักรโบราณในประเทศไทย
อาณาจักรสุโขทัย
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การปกครองในสมัยปัจจุบัน (รัตนโกสินทร์ตอนปลาย-ปัจจุบัน)
การพัฒนาเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
โครงสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย
สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
กรุงรัตนโกสินทร์มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
โดยกษัตริย์มีอำนาจสูงสุดเพียงผู้เดียวในแผ่นดิน
แต่พระองค์ก็มิได้ทรงใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม เพราะทรงไว้ ซึ่งทศพิธราชธรรม
ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เริ่มแนวคิดระบบประชาธิปไตยขึ้นแล้ว คือ
พระองค์ไม่ตั้งรัชทายาท แต่ให้ขุนนางข้าราชการเลือกผู้สมควรสืบราชสมบัติกันเอง
ในรัชกาลที่ 4 ได้ริเริ่มยอมรับอารยธรรมตะวันตก มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมืองในอนาคต ส
สมัยการปฏิรูปการปกครอง
ในสมัย รัชกาลที่ 5 ได้ปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองหลายด้าน เช่น
การให้ความเสมอภาค ด้านการศึกษา การเลิกทาส เลิกระบบไพร่
ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษาในพระองค์
ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารบ้านเมืองทั้งส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น
ในสมัย รัชกาลที่ 6 ได้สานต่อพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 5 ในการที่จะให้
ประเทศไทย ได้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยการจัดตั้ง "ดุสิตธานี" ขึ้น
เพื่อทดลองจัดการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
สมัยประชาธิปไตย
ในสมัย รัชกาลที่ 7
ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร และความยินยอมพร้อมใจของพระมหากษัตริย์
และได้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรก ใช้บังคับ เมื่อ 10 ธันยาคม พ.ศ. 2475
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็น
ประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจ
ระบอบประชาธิปไตยมากนัก จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย
ให้เป็นไปอย่างเชื่องช้า
สิทธิ และเสรีภาพ
สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคล ซึ่งกฎหมายรับรอง และ
คุ้มครองให้ ผู้ใดจะมาขัดขวางมิได้
เสรีภาพ หมายถึง ความเป็นอิสระที่จะทำอะไรก็ได้ตามสิทธิที่มีอยู่
แต่การกระทำนั้น จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- เสรีภาพในร่างกาย บุคคลย่อมมีเสรีภาพในร่างกายของเราจะกระทำอย่างไร กับร่างกาย ของเราก็ได้
- เสรีภาพในการนับถือศาสนา บุคคลย่อยมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา
- เสรีภาพในเคหสถาน บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถานเราสามารถจะทำอะไรก็ได้ตาม ความพอใจของเรา
- สิทธิในทรัพย์สิน รัฐธรรมนูญได้กำหนดคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลได้ว่า บุคคลจะมีสิทธิในทรัพย์สินของเขา โดยจะมีกฎหมายกำหนดขอบเขตของสิทธิในทรัพย์สินเอาไว้ตั้งแต่เรื่องการได้มา ซึ่งสิทธิ
- เสรีภาพในการศึกษาอบรม คนไทยทุกคนมีเสรีภาพในการที่จะเลือกรับ หรือให้ การศึกษาอบรมได้ตามที่ต้องการ
- เสรีภาพในการสื่อสาร พลเมืองไทยมีเสรีภาพที่จะติดต่อสื่อสารถึงกันได้
- เสรีภาพในการเดินทาง ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหน เมื่อไรก็ได้
- เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร นอกจากจะมีเสรีภาพในการเดินทางแล้ว พลเมืองไทยยังมีเสรีภาพที่จะเลือก เอาจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านใดเป็นที่อยู่อาศัยก็ได้
- สิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ ส่วนตัวทุกคนจะได้รับการ คุ้มครองโดยกฎหมาย
- สิทธิของบุคคลในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพ และการแข่งขัน โดยเสรี อย่างเป็นธรรม
- สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองในทางอาญา สิทธินี้เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับคดีอาญา
- เสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา การสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
- เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ หรือหมู่คณะอื่น
- สิทธิเสรีภาพในทางการเมือง มีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการที่จะมีส่วนร่วมในทาง การเมือง
- เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธพลเมืองไทยทุกหมู่เหล่าย่อมมีสิทธิ ที่จะมาร่วมชุมนุมกันโดยสงบ
- สิทธิในการร้องทุกข์บุคคลใดก็ตามที่ได้รับความไม่เป็นธรรม
- สิทธิฟ้องหน่วยราชการ หมายถึงการฟ้องร้องหน่วยราชการ ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ
การใช้สิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
1. ต้องเคารพต่อกฎหมาย และหลักแห่งความสงบเรียบร้อย
2. ต้องใช้สิทธิในทางที่จะไม่ก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น
3. ต้องใช้สิทธิโดยสุจริต
หน้าที่ของพลเมืองในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข
1. หน้าที่รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2. หน้าที่จะใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยสุจริต
3. หน้าที่ในการป้องกันประเทศ
4. หน้าที่ในการรับราชการทหาร
5. หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
6. หน้าที่เสียภาษีอากร
7. หน้าที่ช่วยเหลือราชการ
8. หน้าที่ในการรับการศึกษาอบรม
9. หน้าที่รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
สังคมประชาธิปไตย
ความเป็นมาของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ในการปกครองประเทศ
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้พระราชอำนาจตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
หลักสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
1. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
2. ยึดหลักเสรีภาพ
3. ยึดความเสมอภาค
4. ยึดหลักกฎหมาย
5. ผู้ปกครองประเทศหรือรัฐบาลต้องมาจากการเลือกตั้ง
ลักษณะของสังคมประชาธิปไตย
1. เคารพในสิทธิเสรีภาพ
2. เคารพในศักดิ์ศรี และความเท่าเทียมกันของมนุษย์
3. รักความยุติธรรมในสังคม
4. การใช้หลักเหตุผลตัดสินปัญหาข้อขัดแย้ง
5. การยึดมั่นในหลักการมากกว่าตัวบุคคล
คุณสมบัติที่สำคัญของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตย
1. การยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย
2. การรู้จักใช้เหตุผล และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3. การกล้าแสดงความคิดเห็น
4. การเคารพในสิทธิของผู้อื่น
5. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม