ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

การตั้งประเทศไทย

อาณาจักรโบราณในประเทศไทย
อาณาจักรสุโขทัย
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การปกครองในสมัยปัจจุบัน (รัตนโกสินทร์ตอนปลาย-ปัจจุบัน)
การพัฒนาเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
โครงสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย

การปกครองในสมัยปัจจุบัน (รัตนโกสินทร์ตอนปลาย-ปัจจุบัน)

การเมืองการปกครองของไทยระหว่าง พ.ศ. 2475 ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระยา มโนปกรณ์นิติธาดานายกรัฐมนตรี บริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญฉบับถาวร พ.ศ. 2475 ไปได้เพียง 2-3 เดือน ก็ได้เกิดความขัดแย้ง ในหมู่คณะรัฐมนตรี และคณะราษฎรด้วยเรื่องการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ความขัดแย้งถึงขั้นรุนแรงจะนำไปสู่การประกาศพระพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร

การปลุกความคิดชาตินิยม พันเอกหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความคิดชาตินิยมอยู่แล้ว จึงดำเนินนโยบายสร้างชาติไทยให้เข้มแข็งก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลของพันเอกหลวงพิบูลสงคราม ได้ประกาศนโยบายดังนี้ คือ

- ส่งเสริมการทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ผลิตเครื่องใช้ด้วยตนเอง
- ชักจูงโฆษณาให้คนไทย ใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ รัฐบาลประกาศคำขวัญว่า ไทยทำ ไทย ใช้ ไทยเจริญ
- ส่งเสริมให้คนไทยประกอบอาชีพค้าขาย และสงวนอาชีพบางอย่างห้ามคนต่างด้าวทำ
- ตั้งกรมโฆษณาการ เพื่อทำหน้าที่ปลุกใจประชาชน โฆษณาถึงความรักชาติ ให้เชื่อฟังผู้นำ โดยใช้คำขวัญ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย"

การเมืองการปกครองของไทยช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

  1. การประกาศสถานการณ์ความเป็นกลางของไทยในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยประกาศยืนยันนโยบายเป็นกลางอย่างเคร่งครัด
  2. การประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร นายปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไม่เห็นด้วยกับการประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร จึงมิได้ลงนามในคำประกาศสงคราม
  3. บทบาทของขบวนการเสรีไทย นายปรีดี พนมยงค์ จัตั้งขบวนการเสรีไทย ใช้รหัสย่อว่า x.o Group รวบรวมคนไทย ซึ่งมีอุดมการณ์ตรงกันคือ ความมุ่งหมายในการขับไล่ญี่ปุ่นให้ออกไปจากผืนแผ่นดินไทย

 

การเมืองการปกครองของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – พ.ศ. 2500

  1. การแก้ปัญหาเนื่องจากไทยอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของไทย ประกาศสันติภาพ โดยถือว่าการประกาศสงครามของไทยต่อพันธมิตร ในระหว่างสงครามนั้นเป็นโมฆะ ม.ร.ว. เสนีย์ปราโมช เจรจากับสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เพื่อความเป็นเอกราชของชาติโชคดีที่สหรัฐอเมริกา และอังกฤษไม่ติดใจไทย รัฐบาลไทยก็ได้ประกาศคืนดินแดนให้แก่อังกฤษ และฝรั่งเศส
  2. การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 รัฐบาลไม่สามารถ อธิบายสาเหตุที่แท้จริงได้ นายปรีดี พนมยงค์ จึงแสดงความรับผิดชอบโดยการกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  3. การแย่งชิงอำนาจระหว่างนักการเมือง และระหว่างทหารบกกับทหารเรือ ความขัดแย้ง ทางการเมือง มีการแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายจอมพลแปลกพิบูลสงคราม กับฝ่ายของ นายปรีดี พนมยงค์ เกิดกบฏขึ้นหลายครั้งเพื่อต่อต้านรัฐบาลจอมพลแปลก
  4. การก้าวขึ้นสู่อำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ การรับประหารจอมพลสฤษดิ์ ก็ได้ยื่นคำขาดต่อ จอมพลแปลกนายกรัฐมนตรี ให้แก้ไขสถานการณ์ทางการเมืองโดยด่วน เมื่อไม่ได้ผลฝ่ายทหารจึงถอนตัวออกจากการสนับสนุนรัฐบาล ในไม่ช้า จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้เป็นผู้ทำการรัฐประหาร

การเมืองการปกครองของไทยช่วง พ.ศ. 2501 ถึงปัจจุบัน

1. การปกครองแบบเผด็จการ แต่มุ่งพัฒนาประเทศของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
2. การตื่นตัวในระบอบประชาธิปไตย และบทบาทของขบวนประชาธิปไตย
3. ความขัดแย้งระหว่างขบวนการเผด็จการ และขบวนการประชาธิปไตย
4. การฟื้นฟูประชาธิปไตย และการแก้ไขปัญหาคอมมิวนิสต์
5. การรัฐประหารของสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย