สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
แนวคิดยุคก่อนเศรษฐศาสตร์
แนวคิดยุคหลัง ยุคก่อนเศรษฐศาสตร์
เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
ข้อควรระวังในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
เศรษฐกิจทุกระบบย่อมที่จะมีเป้าหมายเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศ ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้วนั้นเป้าหมายทางเศรษฐกิจ (Economic Goals) นั้นเราสามารถกำหนดโดยทั่วๆ ไปได้ 5 ข้อ ดังนี้
การจ้างงานเต็มที่ (Full Employment)
เป้าหมายในเรื่องของการจ้างงานเต็มที่เป็นเป้าหมายที่สำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือการใช้ประโยชน์จากปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่เป็นแรงงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งระบบเศรษฐกิจใดถ้าหากมีเรื่องของการว่างงานมาก ย่อมที่จะส่งผลในทางลบต่อเสถียรภาพของประเทศ เพราะว่าการจ้างงานนั้นมีความข้องเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยของรัฐบาลชุดใดก็ตาม เป้าหมายในเรื่องของการทำให้เกิดการจ้างงานนั้นก็ต้องพยายามที่จะทำให้เกิดมากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีการเร่งการในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นความพยายามของทางภาครัฐที่จะทำให้ประเทศไทยนั้นเป็นครัวของโลก ซึ่งผลที่ได้จากการเร่งสร้างอุตสาหกรรมอาหารนี้ย่อมที่จะก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ความเจริญเติบโตในทางเศรษฐกิจ (Economic Growth)
ความเจริญเติบโตในระบบเศรษฐกิจนั้นก็คือการทำให้เกิดการขยายตัวในกิจกรรมด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของภาคการผลิต
ซึ่งการที่ระบบเศรษฐกิจนั้นมีการขยายตัวย่อมส่งผลที่จะทำให้ประชาชนนั้นมีความอยู่ดีกินดีมากขึ้น
ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเกิดการเพิ่มขึ้นของปริมาณผลผลิต
และรายได้ที่ได้รับจากการผลิตสินค้า และบริการที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นความเจริญเติบโตในทางเศรษฐกิจย่อมที่จะเป็นเป้าหมายของระบบเศรษฐกิจในทุกๆ
ประเทศเช่นเดียวกัน
ระดับราคาที่มีเสถียรภาพ (Price Stability)
ในเรื่องของการรักษาระดับราคาให้มีเสถียรภาพนั้นเป็นนโยบายทางภาครัฐที่ป้องกันมิให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาที่สูงขึ้น
หรือลดต่ำลงมากเกินไปจนเกิดเป็นภาวะเงินเฟ้อ หรือเงินฝืด
ซึ่งสภาวะทั้งสองนี้ย่อมที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพต่อระบบเศรษฐกิจ
ถ้าหากเราจะพิจารณาในส่วนของภาวะเงินเฟ้อแล้วนั้นภาวะเงินเฟ้อนั้นจะส่งผลทำให้ระดับราคานั้นเพิ่มสูงขึ้นซึ่งทำให้ผู้บริโภคที่มีรายได้คงที่
หรือน้อยนั้นประสบความเดือดร้อน เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น
อีกทั้งทางฝั่งของผู้ผลิตก็ต้องประสบปัญหาในเรื่องของราคาปัจจัยที่เพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งอาจจะถูกสินค้าจากต่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าเข้ามาแย่งตลาดได้
ส่วนในด้านของเงินฝืดนั้นภาวะการณ์รูปนี้จะส่งผลทำให้ระบบเศรษฐเศรษฐกิจนั้นเกิดการชะลอตัว
ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเกิดภาวะใดก็ตามก็ย่อมที่จะมีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน
ดุลยภาพในการชำระเงินระหว่างประเทศ (Equilibrium in the balance of
payment)
ในเรื่องของดุลยภาพในการชำระเงินระหว่างประเทศนั้นเป็นเรื่องของการรักษาอำนาจในการซื้อของเงิน
หรือค่าของเงิน เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น หรือค่าของทองคำ ซึ่งเราเรียกกันง่ายๆ
ว่าอัตราแลกเปลี่ยน
ซึ่งการรักษาดุลยภาพในการชำระเงินระหว่างประเทศนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
เพราะถ้าหากประเทศใดไม่มีดุลยภาพในการชำระเงินระหว่างประเทศ เช่น
การขาดดุลติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งทางภาครัฐก็ต้องนำเงินส่วนอื่นๆ
เข้ามาสมทบเพื่อรักษาดุลยภาพนี้เอาไว้
ซึ่งแทนที่จะนำเงินที่มาสมทบไปใช้ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในส่วนอื่นๆ
สิ่งเหล่านี้ย่อมที่จะไม่เกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศได้
การกระจายรายได้ (Income Distribution)
การกระจายรายได้ในระบบเศรษฐกิจ ก็คือการที่ทำให้รายได้ไม่กระจุกตัวเฉพาะบุคคล
หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยจะต้องมีการกระจายไปสู่มือของประชาชนทั่วทุกครัวเรือน
และจะต้องเท่าเทียมกัน หรือใกล้เคียงกัน
ซึ่งการวัดความเท่าเทียมนี้สามารถทำได้โดยเส้นลอเรนซ์ (Lorenz Curve)
มาใช้ในการหาค่าสัมประสิทธิ์ของจินนี่ (Gini Coefficient)
โดยการเปรียบเทียบจำนวนรายได้กับจำนวนครัวเรือนที่มีรายได้เป็นร้อยละ หากค่า Gini
มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ก็หมายถึงว่าการกระจายรายได้นั้นมีความเท่าเทียมกัน
หากเข้าใกล้หนึ่งก็แสดงว่าเกิดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้เกิดขึ้น
จากเป้าหมายทั้ง 5 อย่างนี้ ได้มีการกำหนดลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติทุกฉบับ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นการที่จะทำให้เป้าทั้ง 5
อย่างบรรลุเป้าหมายพร้อมๆ กันหมดนั้นเป็นไปได้ยากมาก ดังนั้นในการปฏิบัติ
หรือการวางมาตรการทางเศรษฐกิจก็จะต้องมีความระมัด ระวังมากเป็นพิเศษ
เพราะจะต้องคอยทำให้เป้าหมายทั้ง 5 นั้นเกิดความสอดคล้องกับนโยบาย
หรือมาตรการที่วางเอาไว้ มิฉะนั้นเป้าหมายที่ตั้งขึ้นมาก็มิอาจที่จะบรรลุผลได้