สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์มหภาค

แนวคิดยุคก่อนเศรษฐศาสตร์
แนวคิดยุคหลัง ยุคก่อนเศรษฐศาสตร์
เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
ข้อควรระวังในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์

แนวคิดยุคหลัง ยุคก่อนเศรษฐศาสตร์

แนวคิดยุคสำนักคลาสสิค (Classical School : 1776)

แนวคิดนี้ได้ถือกำเนิดระหว่างแนวคิดพาณิชย์นิยม และแนวคิดฟิซิโอแครต โดย อดัม สมิธ (Adam Smith) ผู้ที่ถูกกล่าวว่าเป็นบิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งอดัม สมิธได้เขียนหนังสือเรื่อง The Wealth of Nations (1776) ได้เสนอแนวคิด 2 ประการ คือ การแข่งขัน และกลไกราคา โดยการแข่งขันเกิดจากปัจเจกบุคคล เพราะคนเราต้องการที่จะทำให้ตนเองมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในสังคม และสำหรับกลไกราคานั้นเกิดจากเรื่องของมือที่มองไม่เห็น (Invisible Hand) ซึ่งเป็นเรื่อง ของความต้องการของคนในสังคม โดยที่ไม่ทำให้สังคมนั้นเสียไป หรือกล่าวได้ว่าเกิดสวัสดิการสังคมเกิดขึ้น (well fair) เช่น ส่งลำไยไปขายที่ภาคใต้ ก็ไม่ได้ทำให้สังคมของภาคใต้เสียไป

จากสิ่งที่กล่าวข้างต้นว่าลัทธินี้เกิดขึ้นมาระหว่างแนวคิดของพาณิชย์นิยม และแนวคิดของฟิซิโอแครต แต่อิทธิพลที่ได้รับจริงๆ นั้นก็เป็นแนวคิดของฟิซิโอแครต คือ การปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยกล่าวว่ารัฐไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว ควรให้ระบบเศรษฐกิจนั้นมีการปรับสู่ดุลยภาพด้วยตัวของมันเอง อีกทั้งแนวคิดนี้ยังมีลักษณะต่อต้านแนวคิดของพาณิชย์นิยมที่ว่าการให้เอกชนมีสิทธิผู้ขาด ทางการค้าต่างประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความเดือนร้อนเกิดขึ้น อีกทั้งลัทธินี้ยังไม่เห็นด้วยกับการช่วยเหลือคนยากจน เพราะว่าจะทำให้คนนั้นไม่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพราะมัวแต่คอยรับความช่วยเหลืออย่างเดียวเท่านั้น

จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้หมายความว่าแนวคิดจะปล่อยให้เอกชนดำเนินธุรกิจไปอย่างอิสระ แต่สิ่งที่ได้จากแนวคิดนี้คือบางอย่างที่อาจจะผ่อนปรน หรืออลุ่มอร่วยได้ ก็ควรที่จะทำซึ่งจะเห็นได้จากว่าแนวคิดนี้ไม่ได้คัดค้านการตั้งกฎหมายโรงงาน และยังเห็นชอบในเรื่องของการที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือโรงงานที่อ่อนแอในด้านทุนในการจัดตั้ง อีกทั้งยังมีเรื่องของการให้การช่วยเหลือจากภาครัฐในด้านการศึกษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

แนวคิดสังคมนิยม (Socialism School : 1818 - 1883)

ผู้ก่อตั้งแนวคิดนี้คือ นายคาร์ล มาร์ก (Karl Marx) แนวคิดนี้คาร์ มาร์ก ได้มองถึงเรื่องราวของประวัติศาสตร์ในอดีต ซึ่งมีลักษณะการต่อสู้ระหว่างชนชั้น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นฝ่ายปกครอง กับชนชั้นที่ถูกปกครอง ซึ่งชนชั้นที่เป็นฝ่ายปกครองมักจะเป็นฝ่ายเอาเปรียบชนชั้นที่ถูกปกครองซึ่งเป็นพวกกรรมกร จึงทำให้เกิดการเรียกร้องในสิทธิที่ควรจะเป็นอยู่ ซึ่งแนวคิดของคาร์ มาร์กนี้ได้แสดงถึงแนวคิดในทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน(Surplus Value) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่าจ้าง และกำไร ทางระบบเศรษฐกิจเรียกระบบทุนนิยม โดยเกิดจากความพยายามสะสมทุนของนายทุนโดยแสวงหากำไรจากชนชั้นกรรมกร โดยกดค่าจ้างแรงงาน หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเกิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ จนในที่สุดวิกฤติการณ์นี้ก็จะเกิดจากการพัฒนาการของระบบทุนนิยม โดยจะทำให้สังคมนั้นเหลือเพียงแค่ชนชั้นเพียงแค่ 2 ชนชั้น คือ นายทุน ซึ่งจะมีการสะสมทุน และเพิ่มขนาดของธุรกิจขึ้นเรื่อย และในขณะเดียวกันก็จะมีการลดจำนวนลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสะสมทุนของแต่ละธุรกิจ ในขณะเดียวกันนั้นชนชั้นกรรมกรก็จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่สภาพทางเศรษฐกิจก็จะตกต่ำลงตามลำดับ จนในที่สุดระบบทุนนิยมก็จะทำลายตัวของมันเอง แต่อย่างไรก็ดีลักษณะเด่นของระบบนี้คือ การที่รัฐบาลเข้ามามีอำนาจในการควบคุมกิจกรรมในทางเศรษฐกิจทั้งหมด โดยเป็นผู้กำหนดว่าผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร โดยที่ภาคเอกชนไม่ได้รับสิทธิในการถือครองทรัพย์สิน การดำเนินการผลิตทุกอย่างต้องเป็นไปตามคำสั่งของคณะกรรมการวางแผนส่วนกลาง ซึ่งระบบนี้จะไม่มีการแข่งขันกันในภาคเอกชน และไม่มีการแสวงหากำไร แต่ว่าปัจจุบันนี้ระบบนี้ได้เกิดการล่มสลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศรัสเซีย แต่ก็ยังคงมีบางประเทศใช้อยู่ เช่น จีน หรือทางยุโรปตะวันออกบางประเทศ เป็นต้น

แนวคิดของสำนักเคนส์ (Keanesian School)

ผู้ที่ก่อตั้งแนวคิดนี้คือ จอห์น เมอร์นาร์ด เคนส์ ( John Maynard Keynes : 1883-1934)
ผู้ซึ่งมีมุมมองที่แตกต่างกับสำนักคลาสสิค ซึ่งในปี 1936 เคนส์ได้เขียนหนังสือเรื่อง The General Theory Of Employment, Interest and Money โดยมีข้อสมมุติฐานที่ว่า ราคา และค่าจ้างที่เป็นตัวเงินนั้นสามารถเพิ่มขึ้นได้ แต่ลดลงไม่ได้ ตลาดเงิน และตลาดผลผลิตนั้นไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินก็จะมีผลทำให้ปริมาณการจ้างงาน และผลผลิตนั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นเดียวกัน (อ้างใน รศ.รำพึง เวชยันต์วุฒิ หน้า 8) จากที่คาร์ล มาร์ก มองว่าระบบทุนนิยมไม่น่าจะมีทางรอดแต่ เคนส์ กลับมีมุมองที่แตกต่าง โดยได้เสนอแนวคิดในการ

พัฒนาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบทุนนิยม เรียกเศรษฐกิจแบบผสม ถือการแทรกแทรงของรัฐเป็นสิ่งจำเป็น มิใช่ปล่อยตามกลไกราคา จากแนวคิดจากหนังสือ Theory Of Employment, Interest and Money (ทฤษฎีทั่วไปของการจ้างงาน ดอกเบี้ย และเงิน) ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ (1930) หรือที่เรียกกันว่าวิกฤติการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) โดยแนวคิดของหนังสือเล่มนี้ซึ่งเป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มหาภาคในยุคปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความขาดประสิทธิภาพในกลไกตลาดที่ทำให้เกิดการจ้างงานได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นจึงเกิดการว่างงานในระบบเศรษฐกิจ โดยเคนส์เห็นด้วยที่ว่าภาครัฐบาลจะต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อแก้ปัญหาในระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมิใช่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของสำนักคลาสสิคที่เป็นอยู่

 

แนวคิดของสำนักนีโอ คลาสสิค (Neo Classical Economics)

โดยนักเศรษฐศาสตร์ในสำนักนี้ได้รับอิทธิพลมาจากสำนักคลาสสิคเสียเป็นส่วนใหญ่ และมีความพยายามที่จะอธิบายถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดวัฎจักรในระบบเศรษฐกิจ (Cycle) ซึ่งจะมีทั้งรุ่งเรือง และซบเซา โดยมีรูปแบบจำลอง หรือการคาดคะเนในระดับราคาสินค้า (Price Expectation) เป็นต้นราคาน้ำมัน ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวจึงทำให้เกิดเป็น ทฤษฎีภายในตลาดแรงงาน (Internal Labor Market) และการเพิ่มราคาสินค้าไว้ล่วงหน้า (Mark Up Pricing) ซึ่งจากสิ่งนี้จะส่งผลให้เส้นอุปทานมวลรวมนั้นมีลักษณะหักงอ (Kink Supply Curve) ณ ระดับการจ้างงานเต็มที่

แนวคิดของสำนักนีโอ เคนส์นีเสียน (Neo Keynesian Economics)

ในช่วงปี 1970 ได้เกิดปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจคือภาวะเงินเฟ้อ และการว่างงานที่เกิดขึ้นมากมายในประเทศสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา อันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์

แนวคิดของสำนักคลาสสิคใหม่ (New Classical Economics)

แนวคิดนี้ได้นำแนวความคิดที่เกี่ยวกับการคาดคะเนอย่างมีเหตุมีผล (Rational Epectation) เข้ามาช่วยในการอธิบาย โดยมีข้อสรุปที่ว่า หากทุกหน่วยเศรษฐกิจมีการปฏิบัติการอย่างมีเหตุมีผลแล้วนั้นการใช้นโยบายของภาครัฐจะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับการจ้างงาน และปริมาณผลผลิต ซึ่งจะส่งผลทำให้เส้นอุปทานมวลรวมนั้นมีลักษณะที่ตั้งฉากกับแกนนอน

แนวคิดของสำนักเคนส์นีเสียนใหม่ (New Keynesian Economics)

แนวคิดนี้เป็นผลสืบมากจากการใช้นโยบายของภาครัฐที่จะพยายามรักษาเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจ ในรูปแบบของการใช้นโยบายทางการเงิน และการคลัง โดยนโยบายดังกล่าวจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจหากมีการทำสัญญาว่าจ้างไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นจุดเกิดของทฤษฎีการทำสัญญาว่าจ้างแรงงาน (Labor Contract Theory) ซึ่งลักษณะของเส้นอุปทานมวลรวมจะมีลักษณะลาดนอนขนาดไปกับแกนผลผลิตก่อนถึงระดับการจ้างงานเต็มที่

แนวคิดของสำนักอุปทานนิยม (Supply Side Economics)

แนวคิดนี้ได้ถือกำเนิดขึ้นมานานตั้งแต่ก่อนสมัยคลาสสิค และสมัยคลาสสิค จนกระทั้งถึงปี 1980 เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประสบกับปัญหาเงินเฟ้อ และเกิดความชะงักในเรื่องของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Stagflation) ซึ่งช่วงนั้นนโยบายในการแก้ไขปัญหาของเคนส์นั้นกลับใช้ไม่ได้ผล ณ ขณะนั้นประธานาธิบดีเรแกน จึงได้เสนอแนวคิดในรูปแบบเศรษฐกิจของตนทีเรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบเรแกน (Reaganomics) มาใช้ในการแก้ไขปัญหา จากแนวคิดอุปทานนิยมนี้ได้มีการนำหลักการของ J.B Says หรือที่เรียกว่า กฎของเซย์ (Says 's Law) มาพัฒนา โดยมีความเชื่อว่าการพัฒนาด้านอุปทานจะก่อใให้เกิดอุปสงค์สงค์ในตัวของมันเอง (Supply creates Demand) ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับแนวคิดของคลาสสิคที่ว่ารัฐจะต้องเข้ามาแทรกแซง หรือมีบทบาทให้น้อยที่สุด และควรที่จะมีบทบาทเน้นหนักไปในด้านการสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวทางอุปทาน โดยมีความเชื่อในเรื่องของกลไกลราคาเช่นเดียวกับความเชื่อของคลาสสิค

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย