สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์มหภาค

แนวคิดยุคก่อนเศรษฐศาสตร์
แนวคิดยุคหลัง ยุคก่อนเศรษฐศาสตร์
เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
ข้อควรระวังในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์

แนวคิดยุคก่อนเศรษฐศาสตร์

แนวคิดพาณิชย์นิยม (Mercantilists)  

      แนวความคิดนี้เกิดขึ้นจากการได้รับอิทธิพลในเรื่องของความมั่งคั่งที่ต้องแสวงหา ซึ่งเป็นแนวคิดของ อริสโตเติล (Aristotle 384-322) ที่กล่าวว่า ความมั่งคั่งที่ต้องแสวงหานั้นไม่มีอยู่ในธรรมชาติ และมีอย่างไม่จำกัด อันได้แก่ การแลกเปลี่ยนสินค้า การซื้อการขาย ซึ่งถือได้ว่ากระทำได้ในวงกว้าง และไม่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งต่อมาจนถึงศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศทางยุโรปเริ่มรวมอำนาจการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลางมีการขยายตัวสู่ระบบอุตสาหกรรม จึงมีแนวคิดที่มุ่งอธิบายถึงลักษณะการค้า และการตลาด โดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศ โดยมีความเชื่อที่ว่าระบบการค้าระหว่างประเทศเป็นการสร้างความร่ำรวยมั่งคั่งให้กับชาติในรูปของโลหะเงิน และโลหะทอง โดยมีพื้นฐานความเชื่อ คือ ลัทธิดุลการค้าได้เปรียบ และกลไกการไหลของทองคำกฎสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีผู้ที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือ โทมัสมุน (Thomas Mun 1571-1641) ซึ่งโทมัสมุนนั้นได้เสนอแผนที่จะทำให้ประเทศอังกฤษนั้นสามารถเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ประเทศได้ โดยเห็นว่าพ่อค้าเป็นบุคคลที่สำคัญ เพราะเป็นผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องของความมั่งคั่งต่างๆ ตลอดจนหารายได้ให้แก่กษัตริย์ และรักษาทรัพย์สมบัติของกษัตริย์ ซึ่งพ่อค้านั้นจะต้องมีความเชี่ยวชาญในการเจรจา และมีความสามารถในการเดินเรือด้วย ซึ่งแนวคิดที่โทมัสมุนได้เสนอเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งแก่ประเทศอังกฤษนั้นคือ

  1. แผ่นดินทุกๆ ตารางนิ้ว จะต้องถูกใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม เหมืองแร่ อุตสห กรรม
  2. ทรัพยากรในประเทศต้องใช้ในอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพราะสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิต ได้จะมีมูลค่าสูงกว่าวัตถุดิบ
  3. สนับสนุนให้มีกำลังแรงงานมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถผลิตสินค้า และบริการได้มากขึ้น
  4. การส่งออกทองคำ และเงินเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะจะทำให้ความมั่งคั่งของประเทศลดลง
  5. ควรกีดกันการนำเข้าสินค้าเท่าที่ทำได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการไหลออกของโลหะเงิน และ โลหะทองคำ
  6. การนำเข้าสินค้าบางอย่างที่เลี่ยงไม่ได้ควรใช้ระบบแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ผลิตได้ใน ประเทศ
  7. สินค้านำเข้าควรอยู่ในรูปของวัตถุดิบ เพราะว่ามีราคาถูก
  8. พยายามหาโอกาสให้เกิดความได้เปรียบในการส่งสินค้าออก
  9. ห้ามมิให้นำเข้า ในตัวของสินค้าที่ผลิตได้อย่างเพียงพอในประเทศ ซึ่งแนวคิดนี้ต่อมาได้ขยายตัวไปยังประเทศต่างๆ เช่น ฝรั่งเศส ตลอดจน เยอรมันนี และออสเตรีย

 

แนวคิดฟิซิโอแครต (Physiocracy)

     อันที่จริงแล้วแนวคิดนี้กับแนวคิดของพาณิชย์นิยมนั้นก็เกิดมาบนรากฐานของความเชื่อในเรื่องของความมั่งคั่งที่ต้องแสวงหาเช่นเดียวกันซึ่งผู้ที่ให้กำเนิดแนวคิดนี้คือ นายแพทย์ Francois Quesney ถึงแม้ว่าแนวคิดนี้จะมีต้นกำเนิดเดียวกับแนวคิดของพาณิชย์นิยม แต่แนวคิดนี้มีลักษณะที่แตกต่างกับแนวคิดของพาณิชย์นิยมในเรื่องของความเชื่อที่ว่าความมั่งคั่งนั้นไม่ได้เกิดจากโลหะเงิน หรือโลหะทองคำ แต่เกิดจากผลผลิตโดยธรรมชาติก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสินค้านั้นๆ แนวคิดนี้ได้ถูกเสนอให้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยการทำให้อยู่ในระเบียบตามธรรมชาติมากที่สุด และจะต้องไม่มีการแทรกแทรงใดๆ ในระบบเศรษฐกิจจากรัฐ กล่าวคือทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะถูกปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติเอง โดยที่ไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด หรืออาจจะกล่าวง่ายๆ ว่าแนวคิดนี้เป็นลักษณะที่ปล่อยให้เป็นไปเอง (Laissez Faire)

ซึ่งนายแพทย์ Francois Quesney ได้เขียนหนังสือเรื่อง Tableau economique (1758) ซึ่งเป็นเรื่องของผังเศรษฐกิจ ซึ่งเปรียบเสมือนการไหลวนของเส้นโลหิต โดยทำการสมมุติว่าในสังคมนั้นมีบุคคลอยู่ 3 ชั้น คือ

1.เกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ผลิตปัจจัย 4 ไว้เลี้ยงประชากรในประเทศ
2.ช่างฝีมือ หรือพ่อค้า นักวิชาชีพต่างๆ เช่นหมอ ทนายความ ฯลฯ กลุ่มนี้เป็นผู้ที่ทำให้ผลผลิตที่ผลิตออกมาได้นั้นไม่เป็นหมัน หรือไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์
3.เจ้าของสินทรัพย์ เป็นผู้ปรับปรุงที่ดินสำหรับเกษตรกรทำการเพาะปลูก ซึ่งรายได้ของประเทศนั้นจะมีการไหลวนในลักษณะดังแผนภาพดังต่อไปนี้


แผนภาพที่ 1 แสดงการไหลวนของรายได้ในแนวคิดของ นายแพทย์ Francois Quesney

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย