ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

การศึกษาเพื่อสันติภาพ

โดย บิช็อบคาร์ลอส ฟิลิเป ซีเมเนส เบโล

วัฒนธรรม
สันติภาพคืออะไร
การศึกษาเพื่อสันติภาพ
ขอบเขตของการศึกษาเพื่อสันติภาพ

ขอบเขตของการศึกษาเพื่อสันติภาพ

วัฒนธรรมเพื่อสันติภาพเป็นตัวบอกถึงการศึกษาในขอบเขตที่เป็นไปได้ต่อไปนี้ การศึกษาเพื่อการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน, การศึกษา เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและความเต็มใจในการยอมรับความแตกต่าง, การศึกษาด้าน การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการทะนุบำรุงสังคม, การศึกษาด้านสันติภาพและ ความปลอดภัยระหว่างประเทศ, การศึกษา, การติดต่อสื่อสารและการกระจายข้อมูล ความรู้อย่างเสรี, การศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าของจริยธรรมและการศึกษาเพื่อคุณค่าของคุณธรรม, ด้านความยุติธรรม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ส่วนขอบเขตอื่น ๆ ของการศึกษานั้นได้ระบุไว้ในแถลงการณ์ของผู้ที่เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 2000(พ.ศ. 2543) ว่าการศึกษานั้นควรกระทำเพื่อก่อให้เกิดการนับถือในชีวิต, เพื่อต่อต้านความรุนแรง, เพื่อแบ่งปัน, เพื่อรับฟัง, เพื่อความเข้าใจ, เพื่ออนุรักษ์โลก และเพื่อฟื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ระเบียบวิธีสำหรับการศึกษาเพื่อสันติภาพ
ระเบียบวิธีในการศึกษาเพื่อสันติภาพนั้นมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาและหลักการที่กำหนดไว้ ควรเปิดกว้างให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการถกเถียงเพื่อส่งเสริมให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความร่วมมือกัน หลักสูตรจึงควรส่งเสริมให้คนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ความเป็นจริงของสังคม การเมือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจอย่างเปิดกว้าง จริงใจ และถาวร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การรับรู้และการต่อต้านการแบ่งแยกทุกรูปแบบในโรงเรียน ในครอบครัว ในประเทศ และในโลก

การมีส่วนร่วมขององค์ประกอบทุกประการในสังคมในเรื่องการศึกษาเพื่อสันติภาพ

การศึกษาเพื่อสันติภาพและเพื่อวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพในโลกปัจจุบันควรให้ ประชาคมโลกอันได้แก่ บุคคล ครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศาสนาและรัฐได้มีส่วนร่วม ด้วย

  • ด้านตัวบุคคล – เพื่อให้การศึกษา เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเพื่อให้ เกิด การเคารพในสิทธิของมนุษย์ทั้งหญิงและชาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสันติภาพ ในครอบครัว ในสังคม รวมถึงให้เกิดสันติกับพระผู้เป็นเจ้าและกับสิ่งแวดล้อม
  • ด้านครอบครัว – บิดามารดาควรให้การศึกษาแก่บุตรในด้านจริยธรรม
  • ด้านโรงเรียน มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาอื่นๆ – สถาบันเหล่านี้เป็นที่ที่ให้การศึกษาแบบองค์รวมและสอดแทรกความรู้ในอันที่จะ เป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยแก่นักเรียนและบัณฑิต
  • ด้านศาสนาและองค์กรทางศาสนา – สถาบันเหล่านี้มีความรับผิดชอบในการให้การศึกษาแก่มนุษย์เพื่อที่จะให้เกิด ความกลัวเกรงพระผู้เป็นเจ้าและการแบ่งปันความคิด เกิดการยอมรับความแตกต่าง เกิดภราดรภาพ สันติภาพ และความกลมเกลียวกัน ศาสนาจะเป็นจริงขึ้นมาได้ ก็ต่อเมื่อเผยให้เห็นถึงความเคารพในชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษย์ รวมทั้งศักดิ์ศรีของ สิ่งต่าง ๆ ที่ถูกสร้างสรรขึ้น ในส่วนของคริสต์จักรแคทอลิกเองนั้นมีความเต็มใจ ที่จะร่วมมือกับทุก ๆ ศาสนาและมนุษย์ทุกผู้ทุกคนอย่างเต็มที่เพื่อรับใช้มนุษย์ ทั้งมวลบนพื้นฐานของการแบ่งปัน การให้ความนับถือซึ่งกันและกันอย่างเท่าเทียม และความสอดคล้องตรงกัน
  • ด้านรัฐ -- รัฐมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบในการปกป้องค่านิยมประชาธิปไตย ของตน รวมทั้งความโปร่งใสในองค์กรเอกชน รัฐยังมีหน้าที่ในการรณรงค์ให้มี ความเป็นประชาธิปไตยในการศึกษา เพื่อให้การศึกษาในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย และการศึกษาโดยวิธีอื่น ๆ สร้างโอกาสที่เท่าเทียมกัน ขจัดความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม, พัฒนาบุคลิกภาพและการยอมรับความแตกต่าง, ความเข้าใจซึ่งกันและกัน, ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรับผิดชอบ ในความก้าวหน้าของสังคม, รวมถึงการมีส่วนร่วม ในสังคมอย่างเป็นประชาธิปไตย
  • ในระดับนานาชาติ -- องค์กรระหว่างประเทศควรรับประกันการปกป้อง สิทธิมนุษยชน การปกป้องชนกลุ่มน้อย, การป้องกันความขัดแย้งทางการทหาร และการปกป้องสิ่งแวดล้อม
  • การจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศ -- เพื่อสร้างสันติภาพและเพื่อให้วัฒนธรรมแห่ง สันติภาพเป็นไปได้ในโลก ควรมีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศที่สามารถ ควบคุมความรุนแรง และร่วมมือกันเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าของคนทุกคนอย่าง ทัดเทียมกัน องค์กรที่น่ายกย่องที่ทำงานด้านสันติภาพนั้นมีอยู่แล้ว เราจึงใคร่ขอร้อง ให้มีการพัฒนาองค์การสหประชาชาติเพื่อที่จะได้รับใช้มนุษยชาติได้ดียิ่งขึ้น

การศึกษาเพื่อสันติภาพหมายถึงการศึกษาสำหรับพลเมืองโลก นั่นคือการช่วยให้เกิด ความเข้าใจในเรื่องการพึ่งพาอาศัยกันและกันทั้งโลกและความจำเป็นที่จะเชื่อมต่อความแตกต่างระหว่าง คนรวยและคนจน, ระหว่างซีกโลกทางเหนือที่พัฒนาแล้วกับซีกโลกทางใต้ที่ด้อย พัฒนา, ระหว่างตะวันตกและตะวันออก ระหว่างคริสเตียนและอิสลาม หรือระหว่างอิสลาม กับฮินดู เพื่อที่จะเอาชนะความแตกต่างและการไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันที่ยังคงมีอยู่ในโลก โปรแกรมเรื่องวัฒนธรรมแห่งสันติภาพในโลกและการศึกษาเพื่อสันติภาพและเพื่อสิทธิ มนุษยชน จะช่วยให้จริยธรรมของมนุษยชาติหวนคืนสู่โลกในกระแสโลกาภิวัตน์ได้

มาปูโต, กรกฎาคม 2547

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย