ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

การศึกษาเพื่อสันติภาพ

โดย บิช็อบคาร์ลอส ฟิลิเป ซีเมเนส เบโล

วัฒนธรรม
สันติภาพคืออะไร
การศึกษาเพื่อสันติภาพ
ขอบเขตของการศึกษาเพื่อสันติภาพ

การศึกษาเพื่อสันติภาพ

การศึกษาเพื่อสันติภาพหมายถึงการศึกษาที่แสดงวิสัยทัศน์ในทางต่อต้านสงคราม, พยายามที่จะ หลีกเลี่ยงความคิดที่ว่าสงครามเป็นเรื่องปกติธรรมดาและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งยังพยายามสร้างความเชื่อ ว่ายังมีวิธีที่ไม่รุนแรงในการยุติความขัดแย้ง

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาตราที่ 26 ระบุว่า “ประการแรกคนทุกคนมีสิทธิ ที่จะได้รับ การศึกษาอย่างน้อยก็ในระดับประถมศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ การสอนในระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับในขณะที่ ในระดับเทคนิคและระดับวิชาชีพควรสอดคล้องกันในวงกว้าง ส่วนการศึกษาในระดับ ที่สูงกว่านั้นควรจะเปิดกว้างให้ทุกคนมีโอกาสทัดเทียมกัน ประการที่สองการศึกษาควร แสดงออกถึงบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่และควรส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ขั้นพื้นฐานด้วย นอกจากนี้ยังควรเอื้อให้เกิดความเข้าใจ, เห็นอกเห็นใจ และมิตรภาพ ระหว่างชาติ เชื้อชาติและศาสนา อีกประการหนึ่งการศึกษาควรก่อให้เกิดการพัฒนา ในกิจกรรมขององค์การสหประชาชาติเพื่อดำรงไว้ซึ่งสันติภาพ อย่างไรก็ตามการศึกษา เพื่อสันติภาพและเพื่อสิทธิมนุษยชนนั้นก็ต้องการการสนับสนุนจากคนทุกคนด้วย เป้าหมายของการศึกษานั้นไม่เพียงแต่ เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ในด้านวรรณกรรมหรือ วิทยาศาสตร์เท่านั้น หากเพื่อสร้างคนที่มีคุณค่า ในด้านจริยธรรมและการเป็นพลเมืองที่ดี การศึกษาควรจะมีเป้าหมายพื้นฐานเพื่อนำสังคมไปสู่ความสมบูรณ์แบบ เราเชื่อว่าเป้าหมายของ ระบบการศึกษาที่เน้นคุณค่าทางจริยธรรมควรมุ่งเน้น สังคมในอุดมคติซึ่งเป็นสังคมที่เป็นปัจเจก เป็นประชาธิปไตย ให้คนมีส่วนร่วม มีการช่วยเหลือสนับสนุน และกระจายอำนาจจาก ส่วนกลาง

การศึกษาเพื่อสันติภาพเป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดแนวทางใหม่ ๆ ที่ตรงกัน ในมุมมอง, ในการ ทำความเข้าใจและการดำรงอยู่ในโลก ซึ่งเริ่มจากตัวเราแล้วกระจายไปยัง ผู้อื่น ก่อให้เกิดเครือข่ายของความไว้วางใจ ความปลอดภัยและการให้อำนาจแก่ผู้คนและสังคม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน, การเอาชนะเหนือความไม่ไว้วางใจซึ่งนำไปสู่การเอาชนะเหนือ ความแตกต่างระหว่างกันได้

คำแนะนำจากองค์การยูเนสโก (UNESCO)
ที่ประชุมขององค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ได้เสนอแนะเกี่ยวกับ การศึกษาเพื่อความเข้าใจในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานไว้ จากคำแนะนำข้อที่ 33 ได้อ้างถึงความสำคัญของรัฐในการเตรียมความพร้อมแก่ นักการศึกษา ไว้ดังนี้

  • รัฐควรพัฒนานักการศึกษาให้มีแรงจูงใจที่เชื่อมโยงกับจริยธรรมด้านสิทธิมนุษยชน และกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงสังคม
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาของโลกและปัญหาด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น

การประชุมครั้งนั้นได้กำหนดความคิดรวบยอดที่เกี่ยวข้องกับศัพท์เฉพาะทางให้ชัดเจน ขึ้น ทั้งยังได้ให้ความหมายของการเมืองเบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษา และให้นิยามของศัพท์ เฉพาะทางอันได้แก่คำว่า “การศึกษา” “ความเข้าใจ” “ความร่วมมือ” “สันติภาพ” “สิทธิของมนุษย์” และ “เสรีภาพขั้นพื้นฐาน” ดังต่อไปนี้

“การศึกษา” หมายถึง กระบวนการโดยรวมของสังคมซึ่งบุคคลและกลุ่มสังคมเรียนรู้ โดยเจตนาทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการพัฒนา บุคลิกภาพ ศักยภาพ ทัศนคติและความรู้

สำหรับคำว่า “ความเข้าใจ” “ความร่วมมือ” และ “สันติภาพ” นั้นควรนำมา พิจารณาร่วมกัน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพระหว่างบุคคลและรัฐซึ่งมีระบบการเมือง และสังคมที่แตกต่างกัน และในแง่ของสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐาน จากคำแนะนำ ในฉบับปัจจุบัน ความหมายของคำทั้งสามอย่างย่อ ๆ ก็คือ “การศึกษาของ vocation ระหว่างชาติ”

ประการสุดท้าย วัตถุประสงค์ที่น่าจะถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเมืองทางการศึกษา ในทุกรัฐก็คือ

  • แนวคิดระหว่างชาติและมุมมองด้านการศึกษาของโลกจากทุกระดับและทุกรูปแบบ
  • ความเข้าใจและความเคารพในตัวคน ในอารยธรรม ค่านิยม ขนบธรรมเนียม รวมทั้งวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยและของแต่ละชาติ
  • การรับรู้ถึงการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • ศักยภาพในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นและการตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ของสังคมและของชาติที่มีต่อผู้อื่น กลุ่มอื่น และชาติอื่น
  • ความเข้าใจถึงความต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความร่วมมือ ระหว่างประเทศ
  • ความมุ่งมั่นของบุคคลในอันที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชน ของประเทศและของโลก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย