วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
ใบพายเขาใหญ่
ลักษณะทั่วไปของใบพายเขาใหญ่
การศึกษาสภาพนิเวศวิทยาของแหล่งเจริญเติบโต
ลักษณะทั่วไปของใบพายเขาใหญ่
ใบพายเขาใหญ่ Cryptocoryne balansae Gagnepain,
1941 พบในบริเวณที่เป็นลำธาร
ที่พื้นเป็นทรายหรือบริเวณรอยแยกของหินที่มีทรายปกคลุมอยู่
ใบพายเขาใหญ่จะมีรากแก้วหยั่งลึกตั้งตรงและมีรากฝอยแตกแขนงจำนวนมาก
ลำต้นมีลักษณะเป็นเหง้าหรือไหลสั้น ๆ ใบเป็นใบเดี่ยวแยกออกจากลำต้นเป็นกอ
ในช่วงฤดูฝน ระดับความลึกของน้ำในลำธารมากประมาณ 1.0-1.5 เมตร
ใบของใบพายเขาใหญ่จะมีสีเขียวอมน้ำตาลหยักเป็นลอนพริ้วไปตามกระแสน้ำ
ความยาวของใบประมาณ 50-70 เซนติเมตร ในช่วงปลายฤดูหนาวจนถึงฤดูร้อน ระดับน้ำจะลดลง
ใบที่อยู่ใต้น้ำมีสีเขียวมะกอกหรือน้ำตาล ก้านใบมีสีแดงเรื่อๆ ความยาวของใบประมาณ
10-20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 10-30 มิลลิเมตร ต้นที่เจริญเติบโตอยู่บนบก
ใบมีสีเขียวลักษณะเป็นรูปไข่ยาว 5-10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 10 มิลลิเมตร
และเกิดดอกมีช่อดอกยาว 10-25 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบ Spadix
มีกาบดอกหุ้มช่อดอกไว้ทั้งหมด ปลายบิดเป็นเกลียวมีสีน้ำตาลแดง
มีจุดสีม่วงจำนวนมากภายในกาบดอก
ผลผลิตมวลชีวภาพของใบพายเขาใหญ่
(Cryptocoryne balansae)
จากการศึกษาผลผลิตมวลชีวภาพโดยน้ำหนักสดของใบพายเขาใหญ่
โดยใช้แปลงตัวอย่างขนาดเนื้อที่ 1 ตารางฟุต สุ่มเก็บตัวอย่างใบพายเขาใหญ่
ตัดตัวอย่างต้นใบพายเขาใหญ่เฉพาะส่วนที่เหนือโคนต้นขึ้นมา พบว่า
มีผลผลิตมวลชีวภาพสูงสุดในเดือนกันยายน (น้ำหนักสดเฉลี่ย 304 กรัมต่อตารางฟุต)
ต่ำสุดในเดือนมีนาคม (น้ำหนักสดเฉลี่ย 46 กรัมต่อตารางฟุต) โดยมีค่าเฉลี่ยต่อปี
165.50 กรัมต่อตารางฟุต
สำหรับความยาวเฉลี่ยของใบพบว่ามีความยาวตั้งแต่ 21.22 41.74 ซม.
ซึ่งในช่วงเดือนมีนาคม เป็นช่วงหน้าแล้ง มักจะพบต้นที่อยู่บนบก
จึงมีความยาวเฉลี่ยของใบน้อย (21.22 ซม.) ในขณะที่เดือนกันยายน
ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำมีความลึก ส่วนใหญ่จะพบต้นใต้น้ำ
จึงมีความยาวเฉลี่ยของใบมากกว่าช่วงอื่น ๆ ของการเก็บตัวอย่าง (41.74 ซม.)