วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา  >>

อิเล็กตรอน

แบบจำลองของรัทเธอร์ฟอร์ด

 

รัทเธอร์ฟอร์ด และคณะได้ทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปที่แผ่นวัตถุบางๆ เช่น ไมกา ทองคำ เงิน ปรากฏว่า อนุภาคแอลฟาเกือบทั้งหมดทะลุผ่านวัตถุไปเป็นเส้นตรง และมีส่วนน้อยที่มีการเบนไปเล็กน้อยและมีเพียง 2-3 ครั้งจากการยิง 10,000 ครั้ง ที่อนุภาคแอลฟาเกิดการเบนมากหรือสะท้อนกลับถ้าโครงสร้างอะตอมเป็นไปตามแบบจำลองอะตอมของทอมสัน อนุภาคแอลฟาควรจะวิ่งเป็นเส้นตรง เนื่องจากแรงผลักจากเนื้ออะตอมซึ่งเป็นบวกและแรงดูดจากประจุลบของอิเล็กตรอน จะมีค่าใกล้เคียงกัน

เขาสรุปว่า

  1. อะตอมประกอบด้วยประจุไฟฟ้าบวกรวมกันอัดแน่นอยู่ที่ศูนย์กลาง และเรียกว่า “นิวเคลียส” ซึ่งจะเป็นที่รวมของมวลเกือบทั้งหมดของอะตอม
  2. อิเล็กตรอนมีประจุลบ เคลื่อนที่รอบนิวเคลียสโดยมีระยะห่างจากนิวเคลียสมาก จาก การคำนวณของรัทเธอร์ฟอร์ด พบว่า อะตอมมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 อังสตรอม แต่นิวเคลียสมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เมตร จึงต่างกันประมาณหนึ่งแสนเท่า
  3. ระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนเป็นที่ว่าง ข้อบกพร่องของโครงสร้างอะตอมตามแบบรัทเธอร์ฟอร์ด
    - อธิบายไม่ได้ว่าทำไม ที่วนรอบนิวเคลียสจึงไม่สูญเสียพลังงาน
    - อธิบายการจัดเรียงตัวของ ในอะตอมที่มี หลายตัวไม่ได้
    - อธิบายไม่ได้ว่าทำไมประจุบวกหลายประจุจึงอยู่รวมกันในนิวเคลียสได้

แบบจำลองของทอมสัน
แบบจำลองของรัทเธอร์ฟอร์ด
แบบจำลองของโบร์
การทดลองของมิลลิแกน
ทฤษฎีควอนตัม
คลื่น
ชนิดของคลื่น
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย