ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

พม่า (Myanmar)

พม่า : เพื่อนบ้านที่เราไม่คุ้นเคย

พ.ต.เกรียงไกร แข็งแรง

ปัญหาภายในพม่าในปัจจุบัน

รัฐบาลพม่าได้ประกาศว่าชนกลุ่มน้อยหรือกองกำลังติดอาวุธซึ่งเคยต่อต้านพม่าได้หันมาร่วมพัฒนาชาติโดยการวางอาวุธแล้วเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาล อย่างไรก็ดีการรณรงค์ดังกล่าวในสายตาขององค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) ระบุว่าเป็นการปราบปรามซึ่งใช้กำลัง ส่งผลให้ผู้ต่อต้านกลายเป็นนักโทษการเมือง 200 คน ซึ่งจน ถึงปัจจุบัน (ค.ศ.2000) มีนักโทษการเมือง 1,200 คนแล้ว การปราบปรามชนกลุ่มน้อยนั้นก่อให้เกิดผลกระทบเรื่องการย้ายถิ่นฐาน, การฆาตกรรม, การเกณฑ์แรงงานโดยเฉพาะในรัฐคะหยิ่น (Kayin State) เกิดปัญหาไร้ที่อยู่ของประชาชนและการเกณฑ์แรงงานติดตามมา รวมถึงปัญหาในการบีบบังคับให้สมาชิกของพรรค NLD (ฝ่ายค้าน) ลาออกในปี 1999 จำนวนถึง 34,000 คน ในปี 1996 มีการออกกฎอัยการศึกห้ามผู้มีคอมพิวเตอร์ใช้อินเตอร์เนตโดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเสียก่อนผู้ฝ่าฝืนอาจต้องโทษสูงสุด 7-15 ปี

การเกณฑ์แรงงานนั้นพม่าถูกระบุว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนสูงโดยเฉพาะการเกณฑ์ชนกลุ่มน้อยเพื่อใช้แรงงานในการก่อสร้างสาธารณูปโภคในพื้นที่ ฉาน, คะหยิ่น และ คะยา รวมถึงเป็นแรงงานในการเคลื่อนย้ายสิ่งอุปกรณ์ทางทหารในเขตรัฐมอญและคะฉิ่น

ปัญหาของพม่าในปัจจุบันจึงถือได้ว่าปัญหาการบูรณาการชาติเป็นปัญหาหลัก นอกเหนือจากปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ งานศึกษาทางรัฐศาสตร์ในเชิงกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (political socialization) พบว่าสังคมของพม่ามีลักษณะ ของการกล่อมเกลาให้คนในครอบครัวเกิดความไม่ไว้วางใจในมนุษยสัมพันธ์ (distrust of human relations) ขาดความมั่นใจในตนเองและนิยมใช้การขู่ให้เด็กกลัวจนเกิดความเคว้งคว้างขณะที่วิถีการเลี้ยงดูเป็นไปอย่างไม่เข้มงวด จึงมีลักษณะมองโลกในแง่ดี ซึ่งมีลักษณะ ขัดแย้งกับลักษณะความไม่ไว้วางใจ คนพม่านิยมเก็บความลับไว้กับตน ผลของการกล่อมเกลาทางสังคมของพม่าในระดับครอบครัวมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองของพม่าในระดับมหภาค

- ภูมิหลัง : ประวัติศาสตร์พม่าจากมุมมองพม่า
- พม่าในปัจจุบัน
- ปัญหาภายในพม่าในปัจจุบัน
- ไทยกับพม่า : เพื่อนบ้านที่ไม่คุ้นเคย

อ้างอิง

  • กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์,พระราชพงศาวดารพม่า เล่ม 1, กรุงเทพฯ:ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์,2505.

  • พรพิมล ตรีโชติ,มิติชาติพันธุ์ในความสัมพันธ์ไทย-พม่า,มติชนสุดสัปดาห์,ฉบับอังคาร 21 พ.ย.38;น.29-30. ,ฉบับอังคาร 28 พ.ย.38;น.32-33.

  • ภาณุวัตร วรรณถาวร,เยือนแผ่นดินโลกมืดสัมผัสชีวิตและการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อย ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่า,สยามรัฐรายวัน,ฉบับพฤหัสบดี 7 ธ.ค.38;น.22. ,

  • สัจจะไม่มีในหมู่โจรสงครามจึงเกิดขึ้นเพื่อทวงถามคำสัญญา, สยามรัฐรายวัน,ฉบับศุกร์ 8 ธ.ค.38;น.22.

  • ลิขิต ธีรเวคิน,ขอบข่ายและวิธีการศึกษารัฐศาสตร์,กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สามศาสตร์,2529.

  • สุเนตร ชุตินธรานนท์,พม่ารบไทย:ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า,กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน,2539.

  • หม่องทิน อ่อง (แต่ง) เพ็ชรี สุมิตร (แปล),ประวัติศาสตร์พม่า,กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,2519.

  • อัศวิน พินิจวงษ์,ปัญหาการปิดพรมแดนชายแดนไทย-พม่า และการระงับการก่อสร้าง สะพานมิตรภาพไทย-พม่า,สยามรัฐรายวัน,ฉบับศุกร์ 8 ธ.ค.38.

  • http://www.britanica.com;Myanmar. http://www.lonelyplanet.com;Burma.

  • http://www.travel-burma.com. http://www.web.amnesty.org;Amnesty International Report 2000-Countryreports; Myanmar.

ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
การเมืองพม่า
ข้อมูลประเทศพม่า
เปียงมนา เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่
พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
พม่า : เพื่อนบ้านที่เราไม่คุ้นเคย
การแต่งกายพม่า

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย