ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
พม่า (Myanmar)
พม่า : เพื่อนบ้านที่เราไม่คุ้นเคย
พ.ต.เกรียงไกร แข็งแรง
ภูมิหลัง : ประวัติศาสตร์พม่าจากมุมมองพม่า
ชนเผ่าที่เข้าครอบครองพม่าดั้งเดิมมีอยู่ 3 ชนเผ่า คือ มอญซึ่งอพยพจากทาง ตะวันออกเข้ามายังพม่าภาคใต้ มอญรับเอาอารยธรรมเขมรมาใช้ ชนเผ่าพม่า (Barmar/Burmans/Mramma) ซึ่งบ้างก็เรียกว่าพวกปยุหรือพยู (Pyu) อพยพจากจีน (ทิเบต) มาทางด้านเหนือ และชนเผ่าไท (Shan/Tai) ซึ่งอพยพมาจากภาคเหนือของไทย ประวัติศาสตร์ของพม่าจึงเป็นประวัติศาสตร์ของการรบพุ่งและความขัดแย้ง ชนชาวพม่าเริ่มปรากฏตัวและมีบทบาทในภูมิภาคของตนในห้วงศตวรรษที่ 9 โดยการก่อตั้งอาณาจักรพุกาม (Bagan) ควบคุมลุ่มน้ำอิรวดี (Ayeyarwady) รวมถึงเส้นทางการค้าระหว่าง จีน-อินเดีย ค.ศ.1056 พระเจ้าอนุรุทกษัตริย์พุกามตีเมืองสะเทิม (Thaton) เมืองหลวงของมอญ พม่าเริ่มรับเอาพุทธศาสนานิกายเถรวาทเข้ามา
-
ค.ศ.1277 กุปไลข่านแห่งมองโกลเริ่มรุกราน
-
ค.ศ.1287 พุกามแตก มอญเป็นอิสระเริ่มเกิดความขัดแย้งกับมอญและฉาน
-
ค.ศ.1312 เมืองปินยา แยกตัวตั้งราชวงศ์ของตน
-
ค.ศ.1315 เมืองสะแคง แยกตัวและตั้งราชวงศ์ของตน
-
ค.ศ.1364 ราชวงศ์ปินยาและราชวงศ์สะแคงหมดอำนาจ สร้างกรุงอังวะ (Ava)
-
ค.ศ.1385 สงครามระหว่างอังวะกับพะโค (หงสาวดี)
-
ค.ศ.1427 พระเจ้าโมยินทาโดตั้งราชวงศ์พม่าที่กรุงอังวะ
-
ค.ศ.1498 การรุกรานของโปรตุเกสโดย Phillip de Brito y Nicote เข้าควบคุม เมืองท่าด้านใต้พม่าสถาปนาตนเป็นผู้ปกครองจนถูก พระเจ้าอนอคะเปตลุนแห่งกรุงอังวะปราบได้ในปี 1613
-
ค.ศ.1531 พระเจ้าตะเบงชเวตี้เป็นกษัตริย์ตองอู เริ่มแผ่ขยายอิทธิพล
-
ค.ศ.1547 พระเจ้าตะเบงชเวตี้บังคับทำสนธิสัญญากับไทย
-
ค.ศ.1551 พระเจ้าตะเบงชเวตี้สวรรคตอาณาจักรเริ่มแตกแยกมอญก่อการกบฎ ขณะที่บุเรงนองขึ้นเป็นกษัตริย์
-
ค.ศ.1562-65 พระเจ้าบุเรงนองตีได้เมืองไทย
-
ค.ศ.1709 อังกฤษเปิดท่าเรือที่เมืองสิเรียม
-
ค.ศ.1729 ฝรั่งเศสเปิดท่าเรือที่เมืองสิเรียม
-
ค.ศ.1740 เกิดการกบฎภาคใต้โดยมอญจนสามารถตีได้พม่าภาคเหนือใน ปี 1752 แต่พระเจ้าอลองพญาปราบลงได้ในปีเดียวกัน ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายหนุนหลังด้านการเงินให้กับมอญ ซึ่งการปราบ ปรามของฝ่ายพม่านี้กระทบไปถึงเมืองท่าของประเทศตะวันตกด้วย
-
ค.ศ.1752 พระเจ้าอลองพญาทำลายเมืองนีเกรสซึ่งเป็นเมืองท่าของอังกฤษ ในดินแดนพม่า เริ่มเกิดความขัดแย้งตามแนวชายแดนกับอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษแล้ว
-
ค.ศ.1766 พม่าเข้ารุกรานไทย ยึดอยุธยาได้ในปี 1767
-
ค.ศ.1776 ไทยเป็นเอกราชจากพม่า
-
ค.ศ.1824 สงครามพม่า-อังกฤษ ครั้งที่ 1 เสร็จสิ้นในปี 1826 พม่าพ่ายแพ้ เสียดินแดนริมทะเลตามสนธิสัญญายันดาโบ
-
ค.ศ.1852 สงครามกับอังกฤษครั้งที่ 2 พม่าเสียมณฑลพะโค
-
ค.ศ.1853 พระเจ้ามินดงครองราชย์ ถือเป็นยุครุ่งเรืองยุคหนึ่งของพม่า ทรงปฏิรูปการปกครอง การศึกษา มีการจัดสังคายนาพุทธศาสนา ครั้งที่ 5 ที่เมืองมัณฑะเลย์
-
ค.ศ.1878 พระเจ้าธีบอขึ้นครองราชย์ เริ่มบาดหมางกับอังกฤษอีกครั้งกรณี บริษัทบอมเบย์เบอร์มาซึ่งเข้ามาดำเนินกิจการป่าไม้
-
ค.ศ.1885 สงครามกับอังกฤษครั้งที่ 3 พม่าพ่ายแพ้กลายเป็นอาณานิคมของ อังกฤษในปี 1886 และถูกผนวกเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ในปีเดียวกัน พม่าเริ่มทำสงครามกองโจรต่อต้านอังกฤษ
-
ค.ศ.1937 พม่าแยกออกจากอินเดีย
-
ค.ศ.1942 สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลให้ญี่ปุ่นเข้ายึดครองพม่า กองโจรพม่า ต่อต้านอังกฤษโดยญี่ปุ่นให้สัญญาว่าจะให้เอกราชกับพม่าใน ช่วงนี้ มีนายพลอองซานเป็นผู้นำ
-
ค.ศ.1948 พม่าได้เอกราชจากอังกฤษจัดให้มีการเลือกตั้งในเดือน เม.ย. ปีเดียวกัน อองซานได้รับชัยชนะแต่ถูกคู่แข่งทางการเมืองฆาตกรรม ร่วมกับรัฐมนตรีอีก 6 คน ห้วงระยะเวลานี้พม่าเริ่มแตกแยกเป็น กลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ ชาวเขา, คอมมิวนิสต์, มุสลิม และมอญ
-
ค.ศ.1948 อูนุขึ้นครองอำนาจ พม่าประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและ การแตกแยกในสังคม
-
ค.ศ.1959 เนวินกลายเป็นผู้มีอำนาจแท้จริงในรัฐบาล ทำการปฏิวัติ ในปี 1962 นำประเทศเข้าสู่ระบบสังคมนิยมมีสภาปฏิวัติแห่งชาติ (National Revolutionary Council) เป็นองค์กรบริหารประเทศ
-
ค.ศ.1974 เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า (Social Republic of the Union of Burma)
-
ค.ศ.1987-88 เกิดการต่อต้านรัฐบาลนำโดยผู้นำฝ่ายพลเรือน ดร.หม่อง หม่อง ความวุ่นวายนำสู่การปฏิวัติโดย SLORC (State Law and order Restoration Council) ความวุ่นวายนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3,000 คน ในเวลา 6 สัปดาห์ อำนาจถูกเปลี่ยนถ่ายจากนายพลเนวินสู่ นายพลซอหม่อง ซึ่งให้สัญญาประชาคมว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง ขึ้นในปี 1989
-
ค.ศ.1989 ออง ซานซูจี บุตรสาวของอองซาน ซึ่งเดินทางกลับสู่พม่าในปี 1988 จัดตั้งพรรคการเมืองซื่อ National League for Democracy (NLD) ความนิยมจากมวลชนที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผลให้รัฐบาลทหาร ของพม่าควบคุมตัวอองซานซูจีไว้ในบ้านพักของเธอ
-
ค.ศ.1990 การเลือกตั้งทั่วไปในพม่าเป็นชัยชนะของพรรค NLD ซึ่ง SLORC ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งนี้ อองซานซูจียังคงถูกควบคุมตัวและได้ รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีต่อมาโดยที่รัฐบาลพม่าเริ่มผ่อน ปรนให้เธอสามารถออกจากบ้านพักได้ในปี 1995 ค.ศ.1996 นานาชาติเริ่มใช้นโยบายบีบบังคับทางเศรษฐกิจกับรัฐบาลพม่า โดยเริ่มจากธนาคารโลกและ IMF ในกรณีการกักตัวอองซานซูจี และประเด็นสิทธิมนุษยชนมาจนถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ดีอาเซียน ในฐานะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ยึดถือนโยบายการทูตเชิงสร้างสรร (constructive engagement) ซึ่งมีความยืดหยุ่นไม่ปิดกั้นพม่า โดยเห็นว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน
- ภูมิหลัง : ประวัติศาสตร์พม่าจากมุมมองพม่า
- พม่าในปัจจุบัน
- ปัญหาภายในพม่าในปัจจุบัน
- ไทยกับพม่า : เพื่อนบ้านที่ไม่คุ้นเคย
อ้างอิง
-
กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์,พระราชพงศาวดารพม่า เล่ม 1, กรุงเทพฯ:ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์,2505.
-
พรพิมล ตรีโชติ,มิติชาติพันธุ์ในความสัมพันธ์ไทย-พม่า,มติชนสุดสัปดาห์,ฉบับอังคาร 21 พ.ย.38;น.29-30. ,ฉบับอังคาร 28 พ.ย.38;น.32-33.
-
ภาณุวัตร วรรณถาวร,เยือนแผ่นดินโลกมืดสัมผัสชีวิตและการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อย ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่า,สยามรัฐรายวัน,ฉบับพฤหัสบดี 7 ธ.ค.38;น.22. ,
-
สัจจะไม่มีในหมู่โจรสงครามจึงเกิดขึ้นเพื่อทวงถามคำสัญญา, สยามรัฐรายวัน,ฉบับศุกร์ 8 ธ.ค.38;น.22.
-
ลิขิต ธีรเวคิน,ขอบข่ายและวิธีการศึกษารัฐศาสตร์,กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สามศาสตร์,2529.
-
สุเนตร ชุตินธรานนท์,พม่ารบไทย:ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า,กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน,2539.
-
หม่องทิน อ่อง (แต่ง) เพ็ชรี สุมิตร (แปล),ประวัติศาสตร์พม่า,กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,2519.
-
อัศวิน พินิจวงษ์,ปัญหาการปิดพรมแดนชายแดนไทย-พม่า และการระงับการก่อสร้าง สะพานมิตรภาพไทย-พม่า,สยามรัฐรายวัน,ฉบับศุกร์ 8 ธ.ค.38.
-
http://www.britanica.com;Myanmar. http://www.lonelyplanet.com;Burma.
-
http://www.travel-burma.com. http://www.web.amnesty.org;Amnesty International Report 2000-Countryreports; Myanmar.
ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
การเมืองพม่า
ข้อมูลประเทศพม่า
เปียงมนา เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่
พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
พม่า : เพื่อนบ้านที่เราไม่คุ้นเคย
การแต่งกายพม่า