ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

ประเทศลาว (Laos)

ภาษากฎหมายโบราณลาว

ความมุ่งหมาย

การวิจัย“ภาษากฎหมายโบราณลาว”มีความมุ่งหมายดังต่อไปนี้

  1. เพื่อศึกษาพัฒนาการของกฎหมายโบราณลาว

  2. เพื่อศึกษาการใช้ภาษาในกฎหมายโบราณลาว

วิธีการศึกษา

การวิจัยครั้งนี้ใช้แนวคิดทางภาษาศาสตร์เรื่องหลักการใช้คำสำนวนโวหารและแนวคิดในการศึกษาภาษากฎหมายไทยของธานินทร์กรัยวิเชียร (2550) ซึ่งกล่าวถึงลักษณะของภาษากฎหมายตามแนวคิดของมองเตสกิเออปรัชญาเมธีชาวฝรั่งเศสที่ปรากฏในหนังสือDeL’EspritdesLoisซึ่งเรียบเรียงขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1748และแนวคิดการใช้โวหารที่ดีของเปลื้อง ณ นคร (2507)มาปรับประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาพัฒนาการกฎหมายโบราณลาวและภาษากฎหมายโบราณลาวใช้วิธีการศึกษา ทางประวัติศาสตร์โดยศึกษาจากเอกสารเป็นหลัก คือกฎหมายโบราณลาวที่ปริวรรตจากอักษรธรรมในหนังสือผูกใบลานเป็นภาษาลาวปัจจุบัน โดยสำลิดบัวสีสะหวัดในโครงการปริวรรตกฎหมายโบราณลาว( ThetransliterationofLao CustomarylawProject ) ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิ โตโยต้า (TheToyotaFoundation )ประกอบไปด้วยกฎหมายโบราณลาว8ฉบับคือคัมภีร์พระธรรมศาสตร์หลวงคัมภีร์มูลตันไตคัมภีร์สร้อยสายคำคัมภีร์สุวรรณมุกขาคัมภีร์ราชศาสตร์คัมภีร์สังคหปกรณ์คัมภีร์ โพสะราชคัมภีร์อาณาจักรและธรรมจักรแห่งธรรมศาสตร์และกฎหมายธรรมศาสตร์ขุนบรมของกรมวรรณคดีลาวนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

ประวัติศาสตร์ประเทศลาว
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลาว
การแบ่งเขตการปกครอง
ภาษากฎหมายโบราณลาว
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
การแต่งกายลาว
สะพายเป้ แบกกล้อง ท่องลาว

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย