ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

ประเทศลาว (Laos)

ภาษากฎหมายโบราณลาว

TheLanguageofTheAncientLaoLaw

ดร.โสภีอุ่นทะยา

กฎหมายโบราณลาวมีวิวัฒนาการควบคู่มากับสังคมลาวโดยตลอด มีวิธีการใช้ภาษาที่มีลักษณะเฉพาะสอดคล้องกับบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยการวิจัยเรื่อง“ภาษากฎหมายโบราณลาว”มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการของกฎหมายโบราณลาวและลักษณะการใช้ภาษาในกฎหมายโบราณลาวจำนวน9ฉบับคือกฎหมายธรรมศาสตร์ขุนบรมคัมภีร์สร้อยสายคำคัมภีร์มูลตันไตคัมภีร์พระธรรมศาสตร์หลวงคัมภีร์สุวรรณมุกขาคัมภีร์ราชศาสตร์คัมภีร์โพสะราชคัมภีร์สังคหปกรณ์คัมภีร์อาณาจักรและธรรมจักรแห่งธรรมศาสตร์ผลการวิจัย

กฎหมายโบราณลาวมีพัฒนาการมาจากคำสั่งสอนของบรรพบุรุษพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์และฮีตคองประเพณีที่กำหนดมาตั้งแต่สมัยโบราณจึงมีลักษณะเป็นกฎหมายจารีตที่มีพัฒนาการมาตามลำดับจากยุคความเชื่อดั้งเดิมยึดแนวปฏิบัติจากคำสั่งสอนของบรรพบุรุษที่บอกเล่าสืบต่อกันมาโดยมีบรรทัดฐานจากความเชื่อเรื่องผีฟ้าผีแถนบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในรัชสมัยของพระเจ้าวิชุลราชเรียบเรียงเป็นตำนานขุนบรมและกฎหมายธรรมศาสตร์ขุนบรมเมื่อศาสนาพุทธเข้ามาเผยแผ่ในอาณาจักรล้านช้างประชาชนมีความศรัทธาในหลักธรรม

ยุคที่ พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมีการเรียบเรียงคัมภีร์สร้อยสายคำซึ่งเป็นกฎหมายที่ยึดหลักธรรมเป็นแนวปฏิบัติเปรียบเทียบกับวินัยสงฆ์กฎหมายในยุคต่อมาสังคมมีความหลากหลายเป็นยุคผสมผสานความเชื่อต่างๆ เข้าด้วยกันกฎหมายมีแนวปฏิบัติที่มีบรรทัดฐานจากความเชื่อดั้งเดิมหลักธรรมทางศาสนาพุทธและความเชื่อในศาสนาพราหมณ์กฎหมายที่สำคัญคือคัมภีร์พระธรรมศาสตร์หลวงคัมภีร์สุวรรณมุกขาคัมภีร์มูลตันไตคัมภีร์ราชศาสตร์คัมภีร์โพสะราชคัมภีร์สังคหปกรณ์คัมภีร์อาณาจักรและธรรมจักรแห่งธรรมศาสตร์

การใช้ภาษาในกฎหมายโบราณลาวมีการใช้คำสั้นกะทัดรัดสามารถเข้าใจได้โดยง่ายทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตของคนลาวที่ดำรงอยู่อย่างเรียบง่ายไม่ซับซ้อนมีโครงสร้างทางสังคมที่ชัดเจนการเลือกใช้คำศัพท์ที่มีความหมายตรงเข้าใจง่ายปรากฏในกฎหมายโบราณลาวมากเพราะภาษาลาวเป็นภาษาคำโดดใช้คำสั้นมีความหมายตรงเข้าใจได้โดยง่ายการใช้คำเป็นระบบระเบียบเดียวกันตลอดมีการใช้คำเรียกชื่อกฎหมายโบราณลาวโดยใช้คำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตรวมทั้งมีการใช้คำสอดแทรกภาษาบาลี-สันสกฤตปะปนกับภาษาลาวทุกเล่มมีลักษณะการบัญญัติกฎหมายในทำนองตัวอย่างสมมุติมากเพราะการพิจารณาคดีบางคดีไม่มีสักขีพยานจึงต้องใช้วิธีการยกตัวอย่างขึ้นมาเปรียบเทียบเพื่อให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้นมีการใช้ภาษาที่สุภาพสามารถโน้มน้าวใจผู้ฟังหรือผู้อ่านให้คล้อยตามได้ภาษากฎหมายโบราณลาวมีลักษณะเฉพาะคือภาษาในบทลงโทษเรียกว่าขันโทษภาษาเรียกหมวดหมู่กฎหมายเรียกเป็นห้องตามหลักเบญจศีลภาษาเรียกโทษ ผิดศีลตามหลักศีลห้าการใช้คำซ้อนและคำประสมที่มีความหมายเชิงอุปมาอุปไมย

ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจภาษากฎหมายโบราณลาวได้เป็นอย่างดีสามารถนำไปอธิบายเพื่อตอบคำถามที่ยังเป็นปัญหาบางประการที่เกี่ยวข้องกับภาษากฎหมายโบราณลาวสังคมประวัติศาสตร์ลาวตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์เป็นแนวทางในการศึกษาภาษาวรรณกรรมสังคมวัฒนธรรมและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป

|| หน้าถัดไป >>

ประวัติศาสตร์ประเทศลาว
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลาว
การแบ่งเขตการปกครอง
ภาษากฎหมายโบราณลาว
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
การแต่งกายลาว
สะพายเป้ แบกกล้อง ท่องลาว

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย