ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ประเทศลาว (Laos)
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
หลังจากที่ลาวได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม ในปี พ.ศ. 2518 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวจะ เป็นไปในลักษณะลาวหวาดระแวงไทย เนื่องจากปัญหาหลายๆ อย่างเช่น ความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมือง ปัญหาการปักปันเขตแดน ซึ่งมีความยาวประมาณ 1,810 กิโลเมตร ทั้งทางบกและทางน้ำ และปัญหาขบวนการต่อต้าน รัฐบาลลาว (ขตล.) ซึ่งลาวเรียกว่า คนบ่ดี ซึ่งสืบเนื่องจากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2518 มี นักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนบางส่วนไม่พอใจ จึงได้รวมกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลลาว มีการสนับสนุนจากชาวลาวที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ต่างประเทศ การปฏิบัติของ ขตล. เกิดขึ้น ในชายแดนไทย เมื่อถูกทางการลาวปราบปราม จึงทำให้ลาวหวาดระแวงในท่าทีของไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการยุติการเผชิญหน้า ด้วยกำลังทหาร ในกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับเขตแดน กรณีบ้านร่มเกล้าปลายปี พ.ศ. 2530 ถึงต้นปี พ.ศ. 2531 และการ ประกาศนโยบาย เปลี่ยนอินโดจีนจากสนามรบมาเป็นสนามการค้า ของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ผู้นำ ทั้งสองฝ่ายพยายามปรับปรุงความสัมพันธ์เพื่อประโยชน์ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำในทุกระดับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยาม บรมราชกุมารี เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 8 9 เมษายน พ.ศ. 2537 ภายหลังทรง เป็นประธานร่วมกับ นายหนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศลาว ในพิธีประสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรอบ 27 ปี เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างกันทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดตั้งกลไกต่างๆ เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับ แนวทางความร่วมมือ และเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ อาทิ คณะกรรมการร่วมมือว่าด้วยความร่วมมือไทย ลาว เพื่อหารือ และแก้ไขในปัญหาอุปสรรคทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ การค้า วิชาการ และวัฒนธรรม คณะกรรมการความ ร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป ไทย ลาว คณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย ลาว เพื่อพิจารณาการ สำรวจและจัดทำหลักเขต ตลอดแนวชายแดน ซึ่งปัจจุบันสามารถสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบกแล้วเป็นระยะเส้น เขตแดนประมาณ 450.9 กิโลเมตร จาก 702 กิโลเมตร คณะกรรมการร่วมการค้าไทย-ลาว เพื่อหารือและแก้ปัญหาและ อุปสรรคทางการค้าของทั้งสองประเทศ การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัด และเจ้าแขวงชายแดนไทย-ลาว เพื่อร่วมแก้ไข ปัญหา ในระดับท้องถิ่นเพื่อมิให้ปัญหาลุกลามเป็นปัญหาระดับชาตินอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสมาคมไทย-ลาว และ สมาคมมิตรภาพลาว-ไทย เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับประชาชนต่อประชาชนในด้านต่างๆด้วย ในด้านการค้า ไทยเป็นประเทศที่ลาวนำเข้าสินค้าและส่งออกสินค้าที่สุด โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ยานพาหนะ เชื้อเพลิง เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนสินค้าเข้าที่ สำคัญจากลาว ได้แก่ ไม้ ไม้แปรรูป สัตว์น้ำและปศุสัตว์ สินแร่สินค้าเกษตร ประเทศไทยเป็นประเทศที่ลงทุนในประเทศลาวมากที่สุด สาขาที่ลงทุนมาก ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า การขนส่ง และ โทรคมนาคม ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว
|| หน้าถัดไป >>
ประวัติศาสตร์ประเทศลาว
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลาว
การแบ่งเขตการปกครอง
ภาษากฎหมายโบราณลาว
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
การแต่งกายลาว
สะพายเป้
แบกกล้อง ท่องลาว